ประวัติศาสตร์ ของ เกษตรกรรมในประเทศไทย

เกษตรกรรมในประเทศไทยอาจสืบย้อนไปได้ผ่านแง่ประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์และสังคม ซึ่งได้ก่อให้เกิดการเข้าถึงเกษตรกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของประเทศไทยสมัยใหม่ หลังการปฏิวัติยุคหินใหม่ สังคมในพื้นที่ได้วิวัฒนาจากการล่าสัตว์และหาของป่า ผ่านระยะนครเกษตร ไปเป็นจักรวรรดิรัฐศาสนา การอพยพเข้ามาของคนไทยนำไปสู่การเข้าถึงเกษตรกรรมแบบยั่งยืนอย่างชัดเจนเมื่อเปรียบเทียบกับการประกอบกิจเกษตรกรรมอื่นส่วนมากของโลก

นับตั้งแต่ พ.ศ. 1543 วัฒนธรรมการผลิตข้าวเหนียวของชาวไทเป็นตัวกำหนดโครงสร้างการบริหารในสังคมที่เน้นการปฏิบัติซึ่งผลิตส่วนเกินที่สามารถจำหน่ายได้ จวบจนถึงปัจจุบัน ระบบดังกล่าวได้รวมเป็นหนึ่งกับความมั่นคงของชาติและความอยู่ดีกินดีทางเศรษฐกิจ อิทธิพลของชาวจีนและชาวยุโรปก่อให้เกิดธุรกิจการเกษตรและเริ่มต้นความต้องการที่ทำให้เกิดการขยายตัวของเกษตรกรรมผ่านการเพิ่มจำนวนของประชากรจนกระทั่งดินแดนที่เข้าถึงได้ขยายออก

พัฒนาการล่าสุดในทางเกษตรกรรม หมายความว่า นับแต่คริสต์ทศวรรษ 1960 การว่างงานได้ลดลงจากกว่า 60% เหลือต่ำกว่า 10% ในต้นคริสต์ทศวรรษ 2000[1] ในสมัยเดียวกัน ราคาอาหารลดลงครึ่งหนึ่ง ความหิวโหยลดลง (จาก 2.55 ล้านครัวเรือนใน พ.ศ. 2531 เหลือ 418,000 ครัวเรือนใน พ.ศ. 2550)[1] และทุพภิกขภัยเด็กลดลงอย่างมาก (จาก 17% ใน พ.ศ. 2530 เหลือ 7% ใน พ.ศ. 2549)[1] ซึ่งสามารถบรรลุได้

(ก) ผ่านการผสมระหว่างบทบาทอันเข้มแข็งและเชิงบวกของรัฐในการประกันการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การศึกษาและการเข้าถึงเครดิต และ(ข) การริเริ่มภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในภาคธุรกิจเกษตร[1]

เหล่านี้ได้สนับสนุนให้ไทยเปลี่ยนผ่านเป็นเศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรมได้สำเร็จ[1]