เกษตรอินทรีย์
เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์

เกษตรอินทรีย์ (อังกฤษ: organic farming) เป็นเกษตรกรรมแบบหนึ่งซึ่งอาศัยเทคนิคอย่างการปลูกพืชหมุนเวียน ปุ๋ยพืชสด ปุ๋ยคอก และการควบคุมสัตว์รังควานทางชีวภาพ เกษตรอินทรีย์ใช้ปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ (มีสารฆ่าวัชพืช ยาฆ่าแมลงและสารฆ่าเชื้อรา) หากถือว่ามาจากธรรมชาติ (เช่น กระดูกป่นจากสัตว์หรือไพรีทรินจากดอกไม้) แต่ไม่ใช้หรือจำกัดการใช้อย่างยิ่งซึ่งวิธีการต่าง ๆ (รวมปุ๋ยและสารฆ่าศัตรูพืชและสัตว์ปิโตรเคมีสังเคราะห์ ตัวเร่งการเติบโตของพืช เช่น ฮอร์โมน การใช้ยาปฏิชีวนะในปศุสัตว์ สิ่งมีชีวิตดัดแปรพันธุกรรม[1] กากสิ่งปฏิกูลของมนุษย์ และวัสดุนาโน[2]) โดยแสวงเป้าหมายซึ่งมีความยั่งยืน ความเปิดเผย การไม่พึ่งพา สุขภาพและความปลอดภัยวิธีการเกษตรอินทรีย์มีการกำกับระหว่างประเทศและหลายประเทศบังคับใช้กฎหมาย โดยยึดมาตรฐานที่สหพันธ์ขบวนการเกษตรอินทรีย์ระหว่างประเทศ (IFOAM) ตั้งขึ้นเป็นหลัก IFOAM เป็นองค์การครอบคลุมระหว่างประเทศขององค์การเกษตรอินทรีย์ที่ตั้งในปี 2515 นับแต่ปี 2533 ตลาดอาหารอินทรีย์และผลิตภัณฑ์อื่นเติบโตอย่างรวดเร็ว มีมูลค่า 63,000 ดอลลาร์สหรัฐทั่วโลกในปี 2555[3]:25 อุปทานนี้ขับเคลื่อนการเพิ่มขึ้นของที่ดินซึ่งมีการจัดการแบบอินทรีย์ที่เติบโตตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2554 ในอัตรา 8.9% ต่อปี[4] ในปี 2554 พื้นที่ประมาณ 37 ล้านเฮกตาร์มีการเกษตรอินทรีย์ คิดเป็น 0.9% ของพื้นที่การเกษตรทั่วโลก[3]:1