เกาะมาลาปัสกัว
เกาะมาลาปัสกัว

เกาะมาลาปัสกัว

เกาะมาลาปัสกัว (ตากาล็อก: Malapascua) เป็นเกาะขนาดเล็กในประเทศฟิลิปปินส์ อยู่ในทะเลวิซายาส ห่างจากจุดเหนือสุดของเกาะเซบูไปทางเหนือซึ่งเป็นช่องแคบน้ำตื้นเป็นระยะทาง 6.8 กิโลเมตร การบริหารราชการส่วนท้องถิ่นอยู่ในเขตตำบลโลกอน ดาอันบันตายัน เกาะเซบู ตัวเกาะมาลาปัสกัวมีพื้นที่เพียงราว 2.5×1 ตารางกิโลเมตร มีหมู่บ้านบนเกาะ 8 หมู่บ้านเกาะมาลาปัสกัวมีชื่อเสียงเมื่อต้นทศวรรษที่ 1990 ในฐานะจุดดำน้ำที่น่าสนใจ ก่อนหน้านั้น เกาะมาลาปัสกัวเป็นเกาะที่รู้จักกันทั่วไปเพราะมีหาดทรายขาวกว้างใหญ่ที่เรียกว่าเบาน์ตีบีช แต่ชื่อเสียงในปัจจุบันมาจากแนวปะการังรอบเกาะ รวมถึงหน้าผาปะการัง ที่สวยงาม รวมถึงความโดดเด่นในจุดที่ห่างเกาะเช่นที่เกาะกาโต ที่ตื้นโมนาด และที่ตื้นเกมด ที่ตื้นโมนาดเป็นที่ราบสูงซึ่งนักดำน้ำจะพบปลาฉลามหางยาวและปลากระเบนราหูได้เป็นประจำอาชีพของชาวเกาะมาลาปัสกัวส่วนใหญ่เป็นอาชีพเกี่ยวกับการบริการนักท่องเที่ยว และมีบางส่วนที่หาเลี้ยงชีพด้วยการประมงพื้นบ้านในทางศาสนา มีความเชื่อว่า เกาะมาลาปัสกัว หรือตำบลโลกอน เป็นที่ซึ่งแม่พระแห่งผู้ถูกทอดทิ้งทรงแสดงปาฏิหาริย์เมื่อราว ค.ศ. 1890 ในสมัยที่บนเกาะมีเพียง 9 ครอบครัวในตระกูลมอนเตกลาร์ เดโอกราเดส โรซาเลส กุลฟาน รูบีโอ โบโฮล และบรูเชส อาศัยอยู่ กล่าวกันว่ารูปแม่พระที่ทำด้วยไม้รูปนี้ไม่มีวันไหม้ไฟ และเมื่อ ค.ศ. 1907 บาทหลวงประจำเขต ภราดาอีโนเชนเตส มากา จึงได้ถวายพระนามแก่ไม้ศักดิ์สิทธิ์ตามคำขอร้องของชาวเกาะ แต่เรื่องเล่าในท้องถิ่นบอกว่าพระรูปที่เห็นในปัจจุบันเป็นพระรูปที่ขยายใหญ่ขึ้นได้เองจากขนาดเริ่มแรก ผู้ศรัทธาจากทั่วประเทศฟิลิปปินส์และจากต่างประเทศจะหลั่งไหลมาบูชาแม่พระในวันฉลอง คือวันที่ 11 และ 12 พฤษภาคม โบสถ์ที่เดิมสร้างด้วยไม้มะพร้าวและมุงทางมะพร้าวปัจจุบันเป็นอาคารสร้างด้วยเหล็กและปูนชาวเกาะมาลาปัสกัวดั้งเดิมเลื้ยงชีพด้วยการประมง และพึ่งพาผลิตผลทางการเกษตร เช่นข้าวโพดและข้าว จากเกาะใหญ่ข้างเคียง เช่นเกาะเซบูและเกาะเลย์เต แต่เมื่อประชากรที่เพิ่มขึ้นในขณะที่จำนวนปลาลดน้อยลง การท่องเที่ยวได้กลายมาเป็นแหล่งอาชีพใหม่ของชาวเกาะ ปัจจุบันนี้ชาวเกาะส่วนมากมีอาชีพที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวทั้งโดยตรงและโดยอ้อม การท่องเที่ยวที่ขยายตัวอย่างรวดเร็วทำให้คนต่างถิ่นเข้ามาอาศัยบนเกาะมากขึ้น ความต้องการที่อยู่อาศัยจึงเพิ่มขึ้นด้วย แต่ข้อจำกัดทางทุนทรัพย์ซึ่งทำให้บนเกาะไม่มีท่าเรือสำหรับเรือขนาดใหญ่กลับเป็นเหตุให้การก่อสร้างไม่อาจขยายตัวตามได้ทัน