คุณสมบัติ ของ เขื่อนบ้านพลวง

เขื่อนบ้านพลวง เป็นส่วนหนึ่งของโครงการไฟฟ้าพลังงานน้ำคลองทุ่งเพล ซึ่งอยู่ในกลุ่มของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำขนาดเล็ก[8] โดยคุณสมบัติในส่วนของเขื่อนล่าง คือเขื่อนบ้านพลวง ประกอบไปด้วย[4]

อ่างเก็บน้ำ

สันเขื่อนและพื้นที่อ่างเก็บน้ำ

เขื่อนบ้านพลวง บริเวณอ่างเก็บน้ำมีพื้นที่รับน้ำขนาด 14 ตารางกิโลเมตร มีปริมาณน้ำท่าเฉลี่ยรายปี 36.27 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือ 1.15 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ระดับกักเก็บน้ำสูงสุด 70.00 ม.รทก. ใช้งานได้ต่ำสุด 38.00 ม.รทก. ความจุของอ่างที่ระดับใช้งาน 80.00 ล้านลูกบาศก์เมตร ระดับต่ำสุด 4.50 ล้านลูกบาศก์เมตร พื้นที่ผิวอ่างเก็บน้ำจำนวน 3.20 ตารางกิโลเมตร รับน้ำจากคลองพลวง และอุโมงค์ส่งน้ำความยาว 5,955 เมตร จากเขื่อนทุ่งเพลเข้าสู่โรงไฟฟ้าพลังน้ำสำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า และจ่ายน้ำลงในอ่างเก็บน้ำของเขื่อนบ้านพลวง[1][9]

เขื่อน

เขื่อนบ้านพลวง เป็นเขื่อนหินทิ้งแกนดินเหนียว มีความสูงที่ระดับสันเขือน 73.50 เมตร ความยาวสันเขื่อน 1,100.00 เมตร ความสูงจากระดับท้องน้ำ 46.50 เมตร ซึ่งมีปริมาณของเขื่อน 6.4 ล้านลูกบาศก์เมตร

อาคารน้ำล้น

เขื่อนบ้านพลวง มีอาคารน้ำล้นแบบสันมนไม่มีประตูควบคุม (Uncontrol Overflow Ogee) ชนิดคอนกรีตหลา (Mass Concrete) ปริมาณน้ำล้น (1,000 ปี) 200.50 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ความสูงอาคาร 6.50 เมตร ความยาวสันอาคาร 17.50 เมตร ระดับสันอาคาร 71.50 ม.รทก. ความสูงของน้ำล้น 1.50 เมตร

ท่อส่งน้ำ

เขื่อนบ้านพลวง ประกอบไปด้วยท่อส่งน้ำแบบท่อเหล็กหุ้มด้วยคอนกรีตรูปวงกลม จำนวน 2 ท่อ เส้นผ่าศูนย์กลางภายใน 2.00 เมตร ความาว 292 เมตร มีปริมาณน้ำส่งได้สูงสุดต่อท่อ 22.00 ลูกบากศ์ต่อวินาที

เขื่อนปิดกั้นช่องเขา

เขื่อนปิดกั้นช่องเขาแห่งที่ 2 ความยาว 750 เมตร

เขื่อนบ้านพลวง ประกอบไปด้วยเขื่อนปิดกั้นช่องเขาจำนวน 2 แห่ง คือ

  • เขื่อนปิดกั้นช่องเขาแห่งที่ 1 เป็นเขื่อนดิน ระดับสันเขื่อน 73.50 ม.รทก. ความยาวสันเขื่อน 49 เมตร ความสูงเฉลี่ยจากระดับพื้นดิน 1.50 เมตร ความลาดในด้านหน้าเขื่อน (แนวดิ่ง:แนวนอน) 1:3 ความลาดชันด้านหลังเขื่อน 1:2.5
  • เขื่อนปิดกั้นช่องเขาแห่งที่ 2 เป็นเขื่อนดิน ระดับสันเขื่อน 73.50 ม.รทก. ความยาวสันเขื่อน 750 เมตร ความสูงเฉลี่ยจากระดับพื้นดิน 35.50 เมตร ความลาดในด้านหน้าเขื่อน (แนวดิ่ง:แนวนอน) 1:3 ความลาดชันด้านหลังเขื่อน 1:2.5 ปริมาตรของเขื่อน 1.5 ล้านลูกบาศก์เมตร

พื้นที่ชลประทาน

เขื่อนบ้านพลวงนั้น ให้บริการน้ำสำหรับทำการเกษตรในพื้นที่ชลประทานกว่า 58,822 ไร่ ครอบคลุมเนื้อที่อำเภอเขาคิชฌกูฏ ในตำบลพลวง ตำบลตะเคียนทอง (บางส่วน) และพื้นที่อำเภอมะขาม ในตำบลฉมัน และตำบลวังแซ้ม[10] ด้วยระบบสูบน้ำผ่านท่อเหล็กและท่อใยหินฝังดิน เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.40 - 1.50 เมตร ความยาว 58.925 กิโลเมตร โดยสถานีสูบน้ำ 4 แห่ง เข้าสู่พื้นที่ชลประทาน แบ่งออกเป็นสองฝั่ง คือฝั่งตะวันออก พื้นที่รับน้ำ 23,365 ไร่ และฝั่งขวา (ตะวันตก) พื้นที่รับน้ำ 26,557 ไร่[9]

ใกล้เคียง

แหล่งที่มา

WikiPedia: เขื่อนบ้านพลวง //tools.wmflabs.org/geohack/geohack.php?pagename=%... http://e-lib.dede.go.th/mm-data/Bib15165%E0%B9%82%... http://e-lib.dede.go.th/mm-data/Bib7962.pdf http://km.rdpb.go.th/Project/View/6554 https://news.ch7.com/detail/618760 https://www.chill-gang.com/%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B... https://mgronline.com/local/detail/9510000123700 https://www.thai-tour.com/place/chanthaburi/khaokh... https://www.thansettakij.com/business/120404 https://www.thaipost.net/main/detail/2488