สถานที่ท่องเที่ยว ของ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

นอกจากเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จะทำการกักเก็บน้ำแล้ว ยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดลพบุรี ซึ่งทางด้านสถานที่ท่องเที่ยวในบริเวณเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ มีหลากหลายสถานที่ ดังนี้

  1. ฝั่งจังหวัดลพบุรี
  • อาคารอเนกประสงค์ริมอ่างเก็บน้ำ มีสถานที่ปล่อยปลา และ จุดนั่งชมวิวริมอ่างเก็บน้ำเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
  • หอคอยเฉลิมพระเกียรติ พิพิธภัณฑ์ฯ เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
  • สันเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ซึ่งมีบริการรถลากจูง ชมสันเขื่อนฯ ไป - กลับความยาว 9,720 เมตร
  1. ฝั่งจังหวัดสระบุรี
  • พระพุทธรัตนมณีมหาบพิตรชลสิทธิ์มงคลชัย (หลวงปู่ใหญ่ป่าสัก) อยู่บริเวณท้ายเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์

ขบวนรถไฟสายท่องเที่ยวที่จอดบนเหนือเขื่อน ให้ผู้โดยสารนักท่องเที่ยวถ่ายรูป
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
Pa Sak Jolasid Dam
กิโลเมตรที่ 162.38
แก่งเสือเต้น
Kaeng Sue Ten
-2.73 กม.
โคกสลุง
Khok Salung
+14.17 กม.
ดูเพิ่ม : รายชื่อสถานีรถไฟ สายตะวันออกเฉียงเหนือ
ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์
ข้อมูลสถานี
ที่ตั้งบริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี
เส้นทางทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ
ชานชาลา1
ระบบอาณัติสัญญาณป้ายเขตสถานี ง.
ข้อมูลอื่น ๆ
เปิดใช้งาน15 มิถุนายน พ.ศ. 2541

ที่หยุดรถไฟเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ (อังกฤษ: Pa Sak Jolasid Dam) เป็นที่หยุดรถไฟของการรถไฟแห่งประเทศไทย ตั้งอยู่บริเวณทางเข้าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี อยู่ในเขตทางรถไฟสายตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งสร้างขึ้นเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว โดยที่หยุดรถนี้จะมีรถไฟสายพิเศษเพื่อการท่องเที่ยว คือ สายกรุงเทพ-เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ เปิดให้บริการในช่วงเทศกาลการท่องเที่ยว ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนมกราคมของทุกปี

ประวัติ

สืบเนื่องจากการก่อสร้างเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในเส้นทางรถไฟช่วงสถานีรถไฟแก่งเสือเต้นถึงสถานีรถไฟสุรนารายณ์ (เดิม) ซึ่งเส้นทางรถไฟตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับการกักเก็บน้ำของเขื่อน ทำให้การรถไฟแห่งประเทศไทย ต้องย้ายเส้นทางรถไฟที่จะถูกน้ำท่วมให้ทันกับการสร้างเขื่อน พร้อมทั้งสร้างที่หยุดรถไฟบริเวณดังกล่าวเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ทั้งนั้นได้เริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2540 ใช้เวลา 14 เดือน แล้วเสร็จเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2541 ทางรถไฟที่ย้ายมาสร้างใหม่จะอยู่ติดกับอ่างเก็บน้ำเป็นระยะทางรวม 24 กิโลเมตร เมื่อสร้างเสร็จแล้วได้เริ่มมีการเดินรถผ่านเส้นทางดังกล่าว ซึ่งจะเห็นขบวนรถวิ่งบนสันเขื่อนลัดเลาะไปข้างๆ อ่างเก็บน้ำ มองดูเหมือนขบวนรถวิ่งไปบนผิวน้ำ จนชาวบ้านเรียกกันว่า รถไฟลอยน้ำ[4] ตลอด 2 ข้างทางจะได้ชมทัศนียภาพข้างทางรถไฟอันงดงาม

เส้นทางรถไฟก่อนถึงเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ก่อนถึงสถานีรถไฟหินซ้อน จะผ่านไร่ดอกทานตะวันบานสะพรั่งตลอดเส้นทางรถไฟสวยงามมาก ว่ากันว่าเป็นไร่ดอกทานตะวันที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย การรถไฟแห่งประเทศไทย ได้จัดขบวนรถพิเศษนำเที่ยวชมความงามของเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ในช่วงฤดูหนาวทุกปี ขบวนรถออกจากกรุงเทพ 06.40 น. ถึงกรุงเทพ 17.45 น.

ตารางเวลาการเดินรถ

เที่ยวขึ้น
ขบวนรถต้นทางเขื่อนป่าสักปลายทางหมายเหตุ
ชื่อสถานีเวลาออกชื่อสถานีเวลาถึง
ท433ชุมทางแก่งคอย05:2806:09ชุมทางบัวใหญ่10:10
น921กรุงเทพ06:4010:40เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์10:40เดินเฉพาะเดือน พ.ย. - ม.ค.
ด75กรุงเทพ08:2011:07หนองคาย18:10จอดเฉพาะวันหยุดราชการ
ท439ชุมทางแก่งคอย11:4512:27ชุมทางบัวใหญ่16:45
ท437ชุมทางแก่งคอย17:0017:41ลำนารายณ์18:25
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า


เที่ยวล่อง
ขบวนรถต้นทางเขื่อนป่าสักปลายทางหมายเหตุ
ชื่อสถานีเวลาออกชื่อสถานีเวลาถึง
ท438ลำนารายณ์06:0706:51ชุมทางแก่งคอย07:35
ท440ชุมทางบัวใหญ่05:5210:08ชุมทางแก่งคอย11:20
ด76หนองคาย06:0014:04กรุงเทพ17:10จอดเฉพาะวันหยุดราชการ
น926เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์14:2014:20กรุงเทพ17:45เดินเฉพาะเดือน พย.- มค.
ท434ชุมทางบัวใหญ่12:2216:57ชุมทางแก่งคอย17:50
* ดพ= รถด่วนพิเศษ / ด= รถด่วน / ร= รถเร็ว / ธ= รถธรรมดา / ช= รถชานเมือง / พช= รถพิเศษชานเมือง / ท= รถท้องถิ่น / น= รถนำเที่ยว / ส= รถสินค้า


ใกล้เคียง