ความเป็นมา ของ เข้ากรรม

มีเรื่องเล่าว่า ครั้งหนึ่งมีพระภิกษุรูปหนึ่ง ล่องเรือไปตามแม่น้ำคงคาได้เอามือไปจับใบตะไคร่น้ำขาดเข้าใจว่าเป็นอาบัติเพียงเล็กน้อยจึงมิได้แสดงอาบัติ ต่อมาแม้ว่าพระภิกษุรูปนั้นจะปฏิบัติธรรมอยู่ในป่าเป็นเวลานานก็ยังคงนึกอยู่เสมอว่า ตนต้องอาบัติอยากจะใคร่แสดงอาบัติแต่ไม่มีพระภิกษุรับแสดงครั้นเมื่อพระภิกษุรูปที่กล่าวมรณะแล้วจึงไปเกิดเป็นนาคชื่อเอรถปัต จากเหตุเพียงอาบัติเล็กน้อยเพียงเป็นอาบัติเบายังกรรมติดตัวขนาดนี้ ถ้าเป็นอาบัติหนักก็คงจะบาปมากกว่านี้ ดังนั้นจึงจัดให้มีการอยู่ปริวาสกรรมเพื่อให้พ้นจากอาบัติ

ชาวอีสานโบราณเชื่อกันว่าพระภิกษุหากได้อยู่กรรมแล้ว ย่อมจะออกจากอาบัติได้และทำให้บรรลุมรรคผลดังปรารถนาถึงเดือนอ้ายจึงกำหนดให้เป็นเดือนเข้ากรรม เพื่อให้พระสงฆ์ออกจากอาบัติดังกล่าว[1]