การควบคุมเครื่องดื่มชูกำลัง ของ เครื่องดื่มชูกำลัง

ในสหรัฐอเมริกา เครื่องดื่มชนิดนี้ได้เชื่อมโยงกับสังคมในทางลบ [22]โดยรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ได้ปฏิเสธการใช้ฉลากสำหรับยาประเภทคาเฟอีน โดยให้เหตุผลว่าเครื่องดื่มชนิดนี้ไม่ใช่ลักษณะของยา และเป็นเครื่องดื่มที่ทำลายสติสัมปชัญญะ โดยเฉพาะในวัยรุ่น แต่องค์การอนามัยโลกได้ออกมาแก้ต่างเกี่ยวกับเรื่องนี้[23]ซึ่งในปี พ.ศ. 2551 ฝรั่งเศสได้สั่งห้ามจำหน่าย เรดบูลส์ แก่เยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี เนื่องจาก รูส คูนี่ย์ เสียชีวิตขณะเล่นบาสเกตบอล หลังจากเครื่องดื่มชูกำลังมากถึง 4 กระป๋อง[24]โดยศูนย์วิทยาศาสตร์แห่งหนึ่งของฝรั่งเศสได้พบว่า เรดบูลส์ได้ใส่สารคาเฟอีนมากเกินกำหนด โดยต่อมา เดนมาร์กก็ได้สั่งห้ามจำหน่ายเครื่องดื่มชูกำลังยี่ห้อดังกล่าวเช่นเดียวกัน ส่วนในอังกฤษก็ได้มีการตรวจเครื่องดื่มชนิดนี้ เช่นเดียวกับในประเทศไทย

การควบคุมเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยเริ่มต้นขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 214 พ.ศ. 2543 ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขประกาศให้เครื่องดื่มชูกำลังมีส่วนผสมของคาเฟอีนไม่เกิน 50 มิลลิกรัมต่อขวด โดยถ้าเป็นส่วนผสมเพิ่มเติมจะต้องมีปริมาณไม่เกินที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศ เช่น

  1. วิตามินบี 1 ในปริมาณไม่เกิน 0.5 - 20 มิลลิกรัม
  2. วิตามินบี 2 ในปริมาณไม่เกิน 1.3 – 7.5 มิลลิกรัม
  3. Nicotinamide ในปริมาณไม่เกิน 10 – 38 มิลลิกรัม ฯลฯ
ส่วนในฉลากจะต้องมีข้อมูลในฉลากดังนี้
  1. ต้องมีคำว่า "ห้ามดื่มเกินวันละ 2 ขวด เพราะหัวใจจะสั่น นอนไม่หลับ เด็กและสตรีมีครรภ์ไม่ควรดื่ม ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์ก่อน"[25]
  2. เลขสารบบอาหาร (อ.ย.)
  3. สถานที่ผลิตและจัดจำหน่ายโดยละเอียด
  4. ชื่อเครื่องดื่มพร้อมยี่ห้อ เช่น กระทิงแดง m 150 ลิโพวิตันดี
  5. ส่วนผสมที่สำคัญ
  6. วัน เดือน ปี ที่ผลิต[3]

สำหรับการควบคุมการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังในประเทศไทยนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุขก็ได้ออกหลักเกณฑ์ในการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลัง เช่นการแสดงข้อความ , การห้ามใช้ผู้แสดงแบบโฆษณาโดยใช้แรงงานหรือนักกีฬา หรือการห้ามโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังไปในทางที่ชักจูง เป็นต้น โดยต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 , พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522 และ พระราชบัญญัติวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ. 2498 หากไม่ปฏิบัติตามกระทรวงสาธารณสุขมีสิทธิ์สั่งแก้ไขโฆษณาหรือยกเลิกโฆษณาได้[3]

ในปี พ.ศ. 2546 กระทรวงสาธารณสุขได้เพิ่มเติมข้อความบางส่วนของ ประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับที่ 214 พ.ศ. 2543 โดยเป็นการห้ามดาราหรือนักแสดงเป็นผู้แสดงโฆษณา และห้ามเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปี ซื้อเครื่องดื่มชูกำลัง โดยประกาศนี้มีผลบังคับใช้เมื่อ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2546 เป็นต้นมา[26]

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครื่องดื่มชูกำลัง http://www.bangkokbiznews.com/2007/06/19/news_2395... http://www.becnews.com/backissue/hot-news/2003_07_... http://asdf.dek-d.com/board/view.php?id=936474 http://www.forbes.com/global/2005/0328/028_print.h... http://www.giggog.com/economic/cat5/news16938/ http://www.irn-bru-usa.com/irnbruhistory.html http://hilight.kapook.com/view/20800 http://www.medicalnewstoday.com/articles/5753.php http://newswise.com/articles/view/544512/ http://www.nytimes.com/2008/05/27/health/27well.ht...