เครื่องบินขับไล่พลังจรวด ของ เครื่องบินขับไล่

เม็สเซอร์ชมิท เม 163 คอเม็ท เป็นเครื่องบินที่เร็วที่สุดในสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นเครื่องบินขับไล่พลังจรวดที่ผลิตออกมามากที่สุด

เครื่องบินลังจรวดลำแรกคือลิพพิช เอ็นเทอ (เยอรมัน: Lippisch Ente) ซึ่งทำการบินครั้งแรกเมื่อเดือนมีนาคมค.ศ. 1918[2] เครื่องบินที่เป็นจรวดจริงๆ ที่ผลิตออกมาจำนวนมากคือเม็สเซอร์ชมิท เม 163 คอเม็ท ในปีค.ศ. 1944 มันเป็นหนึ่งในโครงการของเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่เล็งไปที่การพัฒนาเครื่องบินพลังจรวด[3] แบบต่อมาของเม 262 ถูกติดตั้งด้วยเครื่องยนต์จรวดในขณะที่รุ่นก่อนหน้านั้นเป็นเครื่องยนต์เสริม แต่ก็ไม่ได้ผลิตออกมามากนัก[4]

สหภาพโซเวียตได้ทดลองเครื่องบินสกัดกั้นพลังจรวดหลังจากสงครามโลกครั้งที่สอง มันคือมิโคยัน-กูเรวิชค์ ไอ-270 ซึ่งสร้างออกมาเพียงสองลำ

ในปีค.ศ. 1949 อังกฤษได้พัฒนาแบบผสมเครื่องยนต์ไอพ่นที่ใช้ทั้งเครื่องยนต์จรวดและเครื่องยนต์ไอพ่น จรวดเป็นเครื่องยนต์หลักในการส่งความเร็วและความสูง และเครื่องยนต์ไอพ่นเพิ่มเชื้อเพลิงในการบิน ส่วนใหญ่แล้วเพื่อให้แน่ใจว่าเครื่องบินลงจอดได้โดยที่ไม่ต้องร่อนลง ซาวน์เดอร์ส-โร เอสอาร์.53 เป็นการออกแบบที่ประสบความสำเร็จและวางแผนที่จะทำการผลิตเมื่อเศรษฐกิจบังคับให้โครงการส่วนใหญ่สั้นลงในปีค.ศ. 1950 นอกจากนี้แล้วการพัฒนาอย่างรวดเร็วของเครื่องยนต์ไอพ่นทำให้เครื่องยนต์ผสมล้าสมัย เอ็กซ์เอฟ-91 ธันเดอร์เซปเตอร์เผชิญกับชะตากรรมเดียวกันและไม่มีเครื่องบินแบบเครื่องยนต์ผสมถูกออกแบบมาทดแทน

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์