วิธีการ ของ เครื่องบินดำดิ่งทิ้งระเบิด

เครื่องบินทิ้งระเบิดชนิดนี้ดำดิ่งในมุมสูงชัน โดยปกติระหว่าง 45 ถึง 60 องศา หรือแม้กระทั่งถึง 80 องศาเกือบเป็นแนวดิ่งด้วยเครื่องบิน ยุงเคิร์ส ยู 87 ดังนั้นจึงจำเป็นต้องดึงเครื่องขึ้นอย่างกะทันหันหลังจากทิ้งระเบิด สิ่งนี้สร้างความเครียดให้กับทั้งนักบินและเครื่องบิน ดังนั้นจึงต้องการเครื่องบินที่มีโครงสร้างแข็งแรงที่มีการชะลอการดำดิ่งให้ช้าลง สิ่งนี้จำกัดรุ่นการออกแบบเหลือเพียงเครื่องบินทิ้งระเบิดเบาที่สามารถบรรทุกอาวุธในพิกัดประมาณ 1,000 ปอนด์ (450 กก.) แม้ว่าจะมีเครื่องบางรุ่นที่ใหญ่กว่า ตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ ยุงเคิร์ส ยู 87 "ชตูคา" ซึ่งใช้กันอย่างแพร่หลายในช่วงเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สอง เครื่องบินทิ้งระเบิดไอจิ ดี3เอ "วาล" ซึ่งจมเรือรบของฝ่ายสัมพันธมิตรในช่วงสงครามมากกว่าเครื่องบินของฝ่ายอักษะอื่น ๆ[1][2][3] และดักลาส เอสบีดี ดอนท์เลสส์ ซึ่งจมเรือของญี่ปุ่นมากกว่าเครื่องบินพันธมิตรประเภทอื่น ๆ[4] เอสบีดี ดอนท์เลสส์ ช่วยให้ชนะในยุทธนาวีที่มิดเวย์ เป็นส่วนสำคัญในชัยชนะที่ยุทธนาวีที่ทะเลคอรัล และต่อสู้ในการรบของสหรัฐทุกครั้งที่เกี่ยวข้องกับเรือบรรทุกเครื่องบิน[5][6]

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์