ประเภทของเครื่องปฏิกรณ์ ของ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์

เครื่องปฏิกรณ์ Pulstar ของมหาวิทยาลัยแห่งรัฐนอร์ทแคโรไลนาเป็นเครื่องปฏิกรณ์วิจัยขนาด 1 เมกะวัตต์ประเภท pool-type ที่ใช้เชื้อเพลิงสมรรถนะ 4% แบบ pin-type ที่ประกอบด้วยเม็ด UO2 ในตัวหุ้ม zircaloy

การจำแนกประเภท

เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ถูกจำแนกประเภทด้วยวิธีการหลายอย่าง. เค้าร่างสั้นๆของวิธีการจำแนกเหล่านี้ได้แก่:

การจัดหมวดหมู่ตามประเภทของปฏิกิริยานิวเคลียร์

  • นิวเคลียร์ฟิชชั่น. เครื่องปฏิกรณ์พลังงานเชิงพาณิชย์ทั้งหมดจะใช้ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชั่น โดยทั่วไปจะใช้ยูเรเนียมและผลิตผลของมันซึ่งได้แก่พลูโตเนียมเป็นเชื้อเพลิงนิวเคลียร์, แม้ว่าวัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียมก็สามารถนำมาใช้ได้ เครื่องปฏิกรณ์ฟิชชั่นสามารถแบ่งออกหยาบ ๆ เป็นสองระดับชั้น, ขึ้นอยู่กับพลังงานของนิวตรอนที่รักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ฟิชชั่น:
    • 'เครื่องปฏิกรณ์ความร้อน' (เป็นชนิดที่พบมากที่สุดของเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์) ใช้นิวตรอนที่วิ่งช้าหรือนิวตรอนความร้อนเพื่อรักษาสภาวะการฟิชชั่นของเชื้อเพลิงของพวกมัน เครื่องปฏิกรณ์เกือบทั้งหมดในปัจจุบันเป็นประเภทนี้ เครื่องเหล่านี้จะติดตั้งวัสดุที่เป็นตัวหน่วงนิวตรอน (อังกฤษ: neutron moderator) ที่จะทำให้นิวตรอนช้าลงจนกระทั่ง'อุณหภูมินิวตรอน'ของพวกมันจะ thermalized, นั่นคือ, จนกระทั่งพลังงานจลน์ของพวกมันเคลื่อนเข้าสู่พลังงานจลน์เฉลี่ยของอนุภาคโดยรอบ นิวตรอนร้อนมีหน้าตัดนิวเคลียร์ (ความน่าจะเป็น)ที่ใหญ่กว่ามากๆ ของการเกิดฟิชชั่นบนนิวเคลียสที่มีคุณสมบัติทำฟิชชั่นได้ เช่นยูเรเนียม-235, พลูโตเนียม-239, และพลูโตเนียม-241, และความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างต่ำกว่าของ'การจับนิวตรอน'โดยยูเรเนียม-238 (U-238) เมื่อเทียบกับนิวตรอนที่เร็วกว่าที่มาเป็นผลแต่เดิมมาจากการฟิชชั่น, เป็นการยอมให้สามารถใช้ยูเรเนียมสมรรถนะต่ำหรือเชื้อเพลิงยูเรเนียมธรรมชาติด้วยซ้ำ ตัวหน่วงนิวตรอนมักจะเป็นตัวหล่อเย็นอีกด้วย, ปกติจะเป็นน้ำความดันสูงเพื่อเพิ่มจุดเดือด อุปกรณ์เหล่านี้จะถูกล้อมรอบด้วยอ่างปฏิกรณ์ (อังกฤษ: reactor vessel), เครื่องมือเฝ้าดูและควบคุมเครื่องปฏิกรณ์, โลห์ป้องกันรังสี, และอาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
    • 'เครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนเร็ว' ใช้ 'นิวตรอนเร็ว' เพื่อทำให้เกิดปฏิกิริยาฟิชชันในเชื้อเพลิงของพวกมัน พวกมันไม่ได้มีตัวหน่วงนิวตรอน, แต่ใช้สารหล่อเย็นที่มีตัวหน่วงน้อย การรักษาปฏิกิริยาลูกโซ่ให้คงไว้ต้องใช้เชื้อเพลิงที่เป็นวัสดุฟิชชั่นมีสมรรถนะสูงมาก (ประมาณ 20% หรือมากกว่า) อันเนื่องมาจากความน่าจะเป็นที่ค่อนข้างต่ำของการฟิชชั่นเมื่อเทียบกับการจับนิวตรอนโดย U-238 เครื่องปฏิกรณ์เร็วมีศักยภาพในการผลิตของเสียแบบ transuranic น้อยเพราะ actinides ทุกตัวจะสามารถทำฟิชชั่นได้ด้วยนิวตรอนเร็ว[23], แต่พวกมันจะสร้างยากกว่าและการดำเนินงานมีราคาแพงกว่า โดยรวม เครื่องปฏิกรณ์เร็วจะถูกใช้น้อยกว่าเครื่องปฏิกรณ์ความร้อนในการใช้งานส่วนใหญ่ สถานีพลังงานช่วงต้นบางสถานีเป็นเครื่องปฏิกรณ์เร็วเช่นเดียวกับบางหน่วยเรือลากจูงรัสเซีย การสร้างต้นแบบเป็นไปอย่างต่อเนื่อง (ดู fast breeder หรือเครื่องปฏิกรณ์ generation IV)
  • นิวเคลียร์ฟิวชัน พลังงานฟิวชั่นเป็นเทคโนโลยีการทดลอง, โดยทั่วไปมีไฮโดรเจนเป็นเชื้อเพลิง ในขณะที่มันไม่เหมาะสำหรับการผลิตไฟฟ้า, ตัวทำปฏิกิริยาฟิวชั่นแบบ Farnsworth-Hirsch ถูกใช้ในการผลิตรังสีนิวตรอน

การจำแนกประเภทโดยวัสดุตัวหน่วง

ถูกใช้โดยเครื่องปฏิกรณ์ร้อน:

  • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้แกรไฟท์เป็นตัวหน่วง
  • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้น้ำเป็นตัวหน่วง
    • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้น้ำที่หนักเป็นตัวหน่วง (ใช้ในประเทศแคนาดา[24]).
    • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้น้ำเบาเป็นตัวหน่วง (อังกฤษ: Light-water-moderated Reactor (LWR)) หรือสั้นๆว่าเครื่องปฏิกรณ์น้ำเบา (เป็นชนิดที่พบมากที่สุดของเครื่องปฏิกรณ์ความร้อน) ใช้น้ำธรรมดาเพื่อหน่วงและหล่อเย็นเครื่องปฏิกรณ์ ที่อุณหภูมิการทำงาน, ถ้าอุณหภูมิของน้ำเพิ่มขึ้น, ความหนาแน่นของมันจะลดลง และนิวตรอนน้อยลงที่วิ่งผ่านมันจะชะลอความเร็ว แต่ก็มากพอที่จะก่อให้เกิดปฏิกิริยาต่อไป negative feedback จะรักษาอัตราการเกิดปฏิกิริยา เครื่องปฏิกรณ์แกรไฟท์และน้ำหนักมีแนวโน้มที่จะ thermalised อย่างละเอียดได้ดีกว่าเครื่องปฏิกรณ์น้ำเบา เนื่องจากมี thermalization ที่ยอดเยี่ยม, ประเภทเหล่านี้สามารถใช้ยูเรเนียมธรรมชาติ/เชื้อเพลิงที่ไม่ถูกปรับสมรรถนะ
  • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้องค์ประกอบเบาเป็นตัวหน่วง เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้จะถูกหน่วงโดยลิเธียมหรือเบริลเลียม
    • เครื่องปฏิกรณ์ที่ใช้เกลือหลอมละลายเป็นตัวหน่วง (อังกฤษ: Molten salt reactor (MSR)) จะถูกหน่วงโดยองค์ประกอบเบาเช่นลิเธียมหรือเบริลเลียมซึ่งเป็นองค์ประกอบของเกลือ LiF และ BeF2 ที่เป็นตัวหล่อเย็น/เชื้อเพลิงเมทริกซ์
    • เครื่องปฏิกรณ์หล่อเย็นด้วยโลหะเหลว, เช่นเดียวกับเครื่องที่มีตัวหล่อเย็นเป็นส่วนผสมของตะกั่วและบิสมัท, อาจใช้ Béo เป็นตัวหน่วง
  • เครื่องปฏิกรณ์ที่มีตัวหน่วงแบบอินทรีย์ (อังกฤษ: Organically moderated reactor (OMR)) ใช้ biphenyl และ terphenyl เป็นตัวหน่วงและตัวหล่อเย็น

การจำแนกประเภทโดยตัวหล่อเย็น

การบำรุงรักษาส่วนภายในของกรอบเครื่องปฏิกรณ์ VVER-1000 ใน Atommashในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ความร้อน (หรือที่เฉพาะเจาะจงคือ LWR) ตัวหล่อเย็นจะทำหน้าที่เป็นตัวหน่วง ที่ต้องชะลอความเร็วนิวตรอน ก่อนที่พวกมันจะสามารถถูกดูดซึมได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยเชื้อเพลิง
  • เครื่องปฏิกรณ์หล่อเย็นด้วยน้ำ, กำลังดำเนินการอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกาทั้งหมด 104 เครื่อง. ในจำนวนนี้ เป็นเครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำ (PWR) 69 เครื่องและเครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือด (BWR) 35 เครื่อง[25]
    • เครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำ (PWR), เป็นส่วนใหญ่ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ของประเทศตะวันตกทั้งหมด
      • ลักษณะหลักของ PWRs คือตัวสร้างแรงดันที่เรียกว่า อ่างแรงดันเชี่ยวชาญ (อังกฤษ: specialized pressure vessel) PWRs ในเชิงพาณิชย์และเครื่องปฏิกรณ์ในเรือส่วนใหญ่ใช้ตัวสร้างแรงดัน ในระหว่างการดำเนินงานปกติ, ตัวสร้างแรงดันถูกเติมบางส่วนด้วยน้ำ, และฟองไอน้ำจะถูกเก็บไว้เหนือมันโดยการให้ความร้อนกับน้ำด้วยเครื่องทำความร้อนที่จมอยู่ใต้น้ำ ในระหว่างการดำเนินงานปกติ, ตัวสร้างแรงดันถูกเชื่อมต่อกับอ่างความดันเครื่องปฏิกรณ์ (อังกฤษ: reactor pressure vessel (RPV)) หลักและ "ฟอง" ของตัวสร้างแรงดันจะสร้างพื้นที่การขยายตัวสำหรับการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำในเครื่องปฏิกรณ์ การตระเตรียมแบบนี้ยังสร้างมาตรการการควบคุมความดันสำหรับเครื่องปฏิกรณ์ โดยการเพิ่มหรือการลดแรงดันไอน้ำในตัวสร้างแรงดันโดยการใช้เครื่องทำความร้อนในตัวสร้างแรงดัน
      • เครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำหนักเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำ, มีการใช้ร่วมกันของลูปขนส่งความร้อนที่ถูกอัดความดันที่แยกจากกัน แต่ใช้น้ำหนักเป็นสารหล่อเย็นและเป็นตัวหน่วงสำหรับประหยัดนิวตรอนได้มากขึ้น
    • เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือด (BWR)
      • BWRs จะมีน้ำเดือดรอบแท่งเชื้อเพลิงในส่วนล่างของถังความดันของเครื่องปฏิกรณ์ขั้นต้น เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดใช้ 235U, ที่ถูกเสริมสถานะเป็นยูเรเนียมไดอ็อกไซด์, เป็นเชื้อเพลิงของมัน เชื้อเพลิงถูกประกอบขึ้นเป็นแท่งๆตั้งอยู่ในถังเหล็กที่จมอยู่ในน้ำ นิวเคลียร์ฟิชชั่นจะทำให้น้ำเดือด, สร้างไอน้ำขึ้น ไอน้ำนี้จะไหลผ่านท่อเข้าสู่กังหัน กังหันจะถูกขับเคลื่อนด้วยไอน้ำและกระบวนการนี้สร้างกระแสไฟฟ้า[26] ในระหว่างการดำเนินงานปกติ ความดันจะถูกควบคุมโดยปริมาณของไอน้ำที่ไหลจากถังแรงดันเครื่องปฏิกรณ์ไปยังกังหัน
    • เครื่องปฏิกรณ์ประเภท Pool
  • เครื่องปฏิกรณ์หล่อเย็นด้วยโลหะเหลว เนื่องจากน้ำเป็นตัวหน่วงอย่างหนึ่ง, มันไม่สามารถถูกนำมาใช้เป็นตัวหล่อเย็นในเครื่องปฏิกรณ์เร็ว สารหล่อเย็นแบบโลหะเหลวได้แก่โซเดียม, NaK, ตะกั่ว, ตะกั่วบิสมัทยูเทคติก, และในเครื่องปฏิกรณ์รุ่นแรก ๆ , ปรอท
    • เครื่องปฏิกรณ์เร็วหล่อเย็นด้วยโซเดียม
    • เครื่องปฏิกรณ์เร็วหล่อเย็นด้วยตะกั่ว
  • เครื่องปฏิกรณ์หล่อเย็นด้วยแก๊ส จะระบายความร้อนด้วยแก๊สเฉื่อยหมุนเวียน, มักเป็นฮีเลียมในการออกแบบที่อุณหภูมิสูง, ในขณะที่ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีการใช้ในโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ที่ผ่านมาของอังกฤษและฝรั่งเศส ไนโตรเจนก็ถูกใช้เช่นกัน [อ้างจำเป็น] การใช้ประโยชน์จากความร้อนแตกต่างกันไป, ขึ้นอยู่กับเครื่องปฏิกรณ์ เครื่องปฏิกรณ์บางเครื่องทำงานจนร้อนพอที่จะทำให้แก๊สสามารถให้พลังงานกังหันแก๊สได้โดยตรง การออกแบบที่เก่ามากกว่ามักจะผ่านแก๊สไปที่ตัวแลกเปลี่ยนความร้อน (อังกฤษ: heat exchanger) เพื่อสร้างไอน้ำสำหรับกังหันไอน้ำ
  • เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลาย (MSRs) จะถูกระบายความร้อนด้วยการหมุนเวียนเกลือหลอมละลาย, ได้แก่ส่วนผสมยูเทคติกของเกลือฟลูออไรเช่น FLiBe. ใน MSR ทั่วไป, ตัวหล่อเย็นยังถูกใช้เป็นเมทริกซ์ในที่ซึ่งวัตถุฟิชชั่นจะละลาย

การจำแนกประเภทโดยรุ่น

  • เครื่องปฏิกรณ์ Generation I (ต้นแบบรุ่นแรกๆ, เครื่องปฏิกรณ์วิจัย, เครื่องปฏิกรณ์การผลิตพลังงานที่ไม่ใช่เชิงพาณิชย์)
  • เครื่องปฏิกรณ์ Generation II (โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ในปัจจุบันส่วนใหญ่ 1965-1996)
  • เครื่องปฏิกรณ์ Generation III (การปรับปรุงวิวัฒนาการของการออกแบบที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 1996 จนถึงปัจจุบัน)
  • เครื่องปฏิกรณ์ Generation IV (เทคโนโลยียังอยู่ระหว่างการพัฒนา, ไม่ทราบวันที่เริ่มต้น, อาจเสร็จในปี 2030)

"Gen IV" ถูกขนานนามโดยกระทรวงพลังงานสหรัฐ (DOE) สำหรับการพัฒนารูปแบบโรงงานใหม่ในปี 2000[27]. ในปี 2003 Commissariat à l'Énergie Atomique]] (CEA) ของฝรั่งเศส เป็นคนแรกที่อ้างถึง Gen II ในวารสาร Nucleonics Week[28], การกล่าวขวัญครั้งแรกของ Gen III ก็เกิดขึ้นในปี 2000 ร่วมกับการเปิดตัวของแผน Generation IV International Forum (GIF)

การจำแนกประเภทโดยขั้นตอนของเชื้อเพลิง

  • เชื้อเพลิงแข็ง
  • เชื้อเพลิงเหลว
    • เครื่องปฏิกรณ์น้ำเหมือนกัน
    • เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลาย
  • เชื้อเพลิงแก๊ส (ทางทฤษฎี)

การจำแนกประเภทโดยการใช้ประโยชน์

  • ไฟฟ้า
    • โรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์, รวมทั้งเครื่องปฏิกรณ์แบบโมดูลาร์ขนาดเล็ก
  • การขับเคลื่อน, ดู เครื่องยนต์นิวเคลียร์
    • การขับเคลื่อนนิวเคลียร์ทางทะเล
    • รูปแบบที่เสนอต่างๆของการขับเคลื่อนจรวด
  • การใช้ความร้อนอื่น ๆ
    • กระบวนการแยกเกลือออกจากน้ำ
    • ความร้อนเพื่อให้ความอบอุ่นในชุมชนและเพื่อการอุตสาหกรรม
    • การผลิตไฮโดรเจนสำหรับการใช้งานในระบบเศรษฐกิจไฮโดรเจน
  • เครื่องปฏิกรณ์การผลิตสำหรับการแปลงสภาพ (อังกฤษ: transmutation) ขององค์ประกอบ
    • เครื่องปฏิกรณ์ Breeder ที่มีความสามารถในการผลิตสารฟิชชั่นได้มากขึ้นกว่าที่พวกมันจะบริโภค ในระหว่างการเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ฟิชชัน (โดยการแปลง U-238 สมรรถนะสูงให้เป็น Pu-239 หรือ Th-232 สมรรถนะสูงให้เป็น U-233) ดังนั้น เครื่องปฏิกรณ์ยูเรเนียม Breeder, ทันทีที่มันทำงาน, มันจะสามารถทำงานได้ด้วยเชื้อเพลิงยูเรเนียมธรรมชาติหรือแม้แต่ยูเรเนียมที่สลายตัวหมดได้, และเครื่องปฏิกรณ์ทอเรียม Breeder ก็จะสามารถทำงานได้ด้วยเชื้อเพลิงทอเรียม อย่างไรก็ตาม มันต้องการสต็อกเริ่มต้นของวัสดุฟิชชั่น[29]
    • การสร้างไอโซโทปกัมมันตรังสีต่าง ๆ เช่นอะเมริเซียมสำหรับใช้ในการตรวจจับควันและโคบอลต์-60, โมลิบดีนัม-99 และอื่นๆ ที่ใช้สำหรับการถ่ายภาพและการรักษาพยาบาล
    • การผลิตวัสดุสำหรับอาวุธนิวเคลียร์เช่นพลูโตเนียมเกรดอาวุธ
  • เป็นแหล่งผลิตรังสีนิวตรอน (เช่นอุปกรณ์โกไดวาแบบพัลส์ (อังกฤษ: pulsed Godiva device)) และการฉายรังสีโพซิตรอน (กัมมันตภาพรังสีจำนวนมากถูกผลิตโดยปฏิกิริยานิวเคลียร์ทุติยภูมิ ในน้ำซึ่งไหลเวียนผ่านแกนกลางของเครื่องปฏิกรณ์พลังงาน ปฏิกิริยาที่สำคัญที่สุดคือปฏิกิริยาที่ก่อให้เกิดโพซิตรอนคือ 16O (p, α) 13N และ 10B (a, α) 13N ซึ่งเป็นปฏิกริยาดูดกลืนพลังงาน และ 18O (p, n) 18F ซึ่งเป็นปฏิกริยาคายพลังงาน การผลิตนิวไคลด์แบบโพสิตรอนนั้นมีความสำคัญเป็นพิเศษในกรณีของเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเดือด ในเครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวน้ำไม่ควบแน่นและไอน้ำซึ่งมีการหมุนเวียนอย่างต่อเนื่องจากคอนเดนเซอร์ สามารถให้ปริมาณ N-13 ที่เพียงพอ ซึ่งจะสลายตัวปลดปล่อยโพซิตรอน)[30] การนำไปใช้งานเช่น การวิเคราะห์นิวตรอนที่อยู่ในภาวะเร้า, และการวัดอายุโดยใช้วิธีอาร์กอน-อาร์กอน Ar-40 / Ar-39 (โดยการฉายรังสีนิวตรอนจากเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์เพื่อแปลงโปแตสเซียม (K-39) ที่เสถียรเป็น Ar-39 ที่มีกัมมันตภาพรังสี ตราบที่มีสารมาตรฐานที่ทราบอายุจากการฉายรังสีร่วมกันกับตัวอย่างวัตถุที่ไม่ทราบอายุ เป็นไปได้ที่จะใช้การวัดเพียงไอโซโทปของอาร์กอนเพื่อคำนวณอัตราส่วน K-40 / Ar-40* และคำนวณอายุของตัวอย่างวัตถุที่ต้องการ โดย Ar-40* เป็นไอโซโทปกัมมันตรังสี)[31]
  • เครื่องปฏิกรณ์วิจัย: เครื่องปฏิกรณ์ทั่วไปจะถูกใช้สำหรับการวิจัยและการฝึกอบรม, การทดสอบวัสดุ, หรือการผลิตสารไอโซโทปรังสีสำหรับการแพทย์และอุตสาหกรรม, เครื่องเหล่านี้มีขนาดเล็กกว่าเครื่องปฏิกรณ์พลังงานหรือพวกที่ใช้ขับเคลื่อนเรือ, และงานอื่น ๆ ที่อยู่ในมหาวิทยาลัย เครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวมีประมาณ 280 เครื่องที่มีการดำเนินงานใน 56 ประเทศ บางเครื่องทำงานกับเชื้อเพลิงยูเรเนียมสมรรถนะสูง, และมีความพยายามระหว่างประเทศที่จะทดแทนด้วยเครื่องที่ดำเนินการด้วยเชื้อเพลิงสมรรถนะต่ำ[32]

เทคโนโลยีปัจจุบัน

Diablo แคนยอน - เป็นเครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำ (PWR)

Pressurized water reactors (PWR)

เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้ใช้ถังความดันหนึ่งถังเพื่อใส่เชื้อเพลิงนิวเคลียร์, แท่งควบคุม, ตัวหน่วง, และตัวหล่อเย็น. การระบายความร้อนและการหน่วงจะใช้น้ำของเหลวแรงดันสูง น้ำความร้อนสูงที่มีกัมมันตรังสีที่ถูกปล่อยออกจากถังความดัน จะไหลเวียนผ่านเครื่องกำเนิดไอน้ำซึ่งจะส่งผ่านความร้อนไปให้วงน้ำที่สอง (ที่ไม่มีกัมมันตรังสี) เพื่อหมุนกังหัน. พวกมันเป็นส่วนใหญ่ของเครื่องปฏิกรณ์ในปัจจุบัน นี่คือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนความร้อนแบบหนึ่ง, รุ่นใหม่ล่าสุดคือ VVER-1200 ซึ่งเป็น'เครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำขั้นสูง'และ'เครื่องปฏิกรณ์แรงดันยุโรป' 'เครื่องปฏิกรณ์นาวีสหรัฐอเมริกา' ก็เป็นประเภทนี้

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Laguna Verde ใช้เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือด (BWR)

Boiling water reactors (BWR)

BWR เป็นเหมือน PWR ที่ไม่มีเครื่องกำเนิดไอน้ำ เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดจะถูกหล่อเย็นและถูกหน่วงด้วยน้ำเหมือน PWR แต่ด้วยความดันที่ต่ำกว่าซึ่งจะยอมให้น้ำไปต้มภายในถังความดันเพื่อผลิตไอน้ำที่ขับกังหัน แตกต่างจาก PWR, มันไม่มีวงน้ำแรกและวงน้ำที่สอง ประสิทธิภาพเชิงความร้อนของเครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้จะสามารถทำให้สูงกว่าและง่ายกว่า และแม้แต่ยังอาจมีเสถียรภาพมากกว่าและปลอดภัยกว่าอีกด้วย นี่คือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนความร้อนแบบหนึ่ง, ที่ใหม่ล่าสุดเป็น 'เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดขั้นสูง' และ 'เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดง่ายและประหยัด'

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Qinshan ใช้ CANDU

Pressurised heavy water reactor (PHWR)

การออกแบบแคนาดา (เรียกว่า CANDU) เป็นเครื่องปฏิกรณ์แรงดันน้ำที่ระบายความร้อนและหน่วงปฏิกิริยาด้วยน้ำหนัก (อังกฤษ: heavy water). แทนที่จะใช้ถังความดันขนาดใหญ่ถังเดียวอย่างใน PWR, เชื้อเพลิงจะถูกเก็บอยู่ในท่อความดันหลายร้อยท่อ เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้ใช้เชื้อเพลิงเป็นยูเรเนียมธรรมชาติและเป็นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนความร้อน PHWRs สามารถเติมเชื้อเพลิงในขณะทำงานเต็มที่ซึ่งทำให้พวกมันมีประสิทธิภาพการใช้ยูเรเนียมสูงมาก (มันช่วยในการควบคุมฟลักซ์ในแกนที่แม่นยำ) PHWRs CANDU มีการสร้างขึ้นในแคนาดา, อาร์เจนตินา, จีน, อินเดีย, ปากีสถาน, โรมาเนียและเกาหลีใต้ อินเดียก็ยังทำงานกับ PHWRs จำนวนมากที่มักจะเรียกมันว่า 'อนุพันธ์ของ CANDU' ที่ถูกสร้างขึ้นหลังจากที่รัฐบาลของแคนาดาหยุดการติดต่อนิวเคลียร์กับอินเดีย หลังจากโครงการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ 'ยิ้มพระพุทธ'ปี 1974

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ Ignalina เป็นประเภท RBMK (ปิดปี 2009)

Reaktor Bolshoy Moschnosti Kanalniy (เครื่องปฏิกรณ์ช่องทางกำลังสูง) (RBMK)

ออกแบบโดยสหภาพโซเวียต, ถูกสร้างขึ้นเพื่อผลิตพลูโตเนียมเช่นเดียวกับเพื่อพลังงาน RBMKs จะระบายความร้อนด้วยตัวหน่วงแกรไฟท์ ในบางลักษณะของRBMKs จะคล้ายกับ CANDU ในการที่พวกมันจะสามารถเติมเชื้อเพลิงใหม่ระหว่างการดำเนินการผลิตพลังงาน และมีการติดตั้งท่อความดันแทนถังความดันแบบ PWR อย่างไรก็ตาม, ไม่เหมือนกับ CANDU พวกมันมีความไม่เสถียรและมีขนาดใหญ่ ทำให้อาคารคลุมเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ของพวกมันมีราคาแพง ข้อบกพร่องด้านความปลอดภัยที่วิกฤตเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในการออกแบบของ RBMK, แม้ว่าบางส่วนของข้อบกพร่องเหล่านี้ได้รับการแก้ไขหลังจากภัยพิบัติเชอร์โนบิล จุดน่าสนใจหลักของพวกมันคือการใช้งานของน้ำเบาและยูเรเนียมที่ไม่ได้เสริมสมรรถนะ ในปี 2010, 11 เครื่องยังคงเปิดใช้งาน, ส่วนใหญ่เนื่องจากการปรับปรุงความปลอดภัยและความช่วยเหลือจากหน่วยงานความปลอดภัยระหว่างประเทศเช่น DOE แม้จะมีการปรับปรุงความปลอดภัยเหล่านี้, เครื่องปฏิกรณ์ RBMK ก็ยังถือว่าเป็นหนึ่งในการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ที่อันตรายที่สุดในการใช้งาน เครื่องปฏิกรณ์ RBMK ถูกนำไปใช้เฉพาะในอดีตสหภาพโซเวียต

สถานีพลังงานนิวเคลียร์ Magnox Sizewell Aสถานีพลังงานนิวเคลียร์ Torness ใช้เครื่องปฏิกรณ์ก๊าซระบายความร้อนสูง (AGR)

Gas-cooled reactor (GCR) and advanced gas-cooled reactor (AGR)

เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้ทั่วไปจะใช้ตัวหน่วงแบบแกรไฟท์และหล่อเย็นด้วย CO2 พวกมันสามารถมีประสิทธิภาพเชิงความร้อนที่สูงเมื่อเทียบกับ PWRs เนื่องจากพวกมันใช้อุณหภูมิในการดำเนินงานที่สูงกว่า มีเครื่องปฏิกรณ์จำนวนมากที่มีการใช้งานอยู่, ส่วนใหญ่อยู่ในสหราชอาณาจักร, ในที่ซึ่งแนวคิดของการออกแบบได้รับการพัฒนาที่นั่น การออกแบบที่มีอายุมากกว่า (เช่นสถานี Magnox) อาจจะปิดตัวลงในอนาคตอันใกล้ อย่างไรก็ตาม AGCRs คาดว่าจะมีอายุใช้งานได้ต่อไปอีก 10 ถึง 20 ปี การออกแบบเป็นแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวตรอนความร้อน ค่าใช้จ่ายในการรื้อถอนอาจสูงมากเนื่องจากแกนของเครื่องปฏิกรณ์มีปริมาตรขนาดใหญ่

เครื่องปฏิกรณ์ Fast breeder โลหะของเหลว (อังกฤษ: Liquid-metal Fast breeder Reactor (LMFBR))

นี้คือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ที่ระบายความร้อนด้วยโลหะของเหลว, ไม่มีการหน่วงโดยสิ้นเชิง, และผลิตเชื้อเพลิงได้มากกว่าที่มันบริโภคเข้าไป เรียกได้ว่าพวกมัน "ให้กำเนิด (อังกฤษ: breed)" เชื้อเพลิงเพราะพวกมันผลิตเชื้อเพลิงที่สามารถทำฟิชชั่นได้ระหว่างการดำเนินการโดยการจับนิวตรอน เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้สามารถทำงานได้เหมือน PWR ในแง่ของประสิทธิภาพและไม่จำเป็นต้องมีภาชนะบรรจุที่มีแรงดันสูงมาก เนื่องจากโลหะของเหลวไม่จำเป็นต้องถูกเก็บไว้ที่ความดันสูงแม้แต่ที่อุณหภูมิสูงมาก เครื่องปฏิกรณ์ BN-350 และ BN-600 ในสหภาพโซเวียตและ Superphénix ในประเทศฝรั่งเศสเป็นเครื่องปฏิกรณ์ประเภทนี้, เช่นเดียวกับ Fermi-I ในสหรัฐอเมริกา เครื่องปฏิกรณ์ Monju ในประเทศญี่ปุ่นประสบปัญหาการรั่วไหลของโซเดียมในปี 1995 และได้รับการเริ่มเดินเครื่องใหม่ในเดือนพฤษภาคม 2010 พวกมันทั้งหมดใช้ / เคยใช้โซเดียมเหลว เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้เป็นแบบนิวตรอนเร็ว, ไม่ใช่แบบนิวตรอนร้อน เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้มีสองประเภท ได้แก่:

Superphénix ซึ่งเป็นหนึ่งในไม่กี่ตัวที่เป็น FBRs
หล่อเย็นด้วยตะกั่ว

ตะกั่วเป็นโลหะเหลวที่ป้องกันรังสีได้ดีมากและช่วยให้สามารถดำเนินงานที่อุณหภูมิสูงมาก นอกจากนี้ ตะกั่ว (ส่วนใหญ่) จะโปร่งใสกับนิวตรอน, ดังนั้น มีนิวตรอนน้อยมากที่จะหายไปในตัวหล่อเย็นและตัวหล่อเย็นก็ไม่เป็นกัมมันตรังสี แตกต่างจากโซเดียม, ตะกั่วส่วนใหญ่จะเฉื่อย, จึงมีความเสี่ยงน้อยลงจากการระเบิดหรืออุบัติเหตุ, แต่ปริมาณมากขนาดนั้นอาจจะนำไปสู่​​ปัญหาจากพิษวิทยาและในมุมมองของการกำจัด บ่อยครั้งที่เครื่องปฏิกรณ์ประเภทนี้จะใช้สารผสมตะกั่วบิสมัทยูเทคติก ในกรณีนี้บิสมัทจะนำเสนอปัญหารังสีส่วนน้อยบางอย่าง, เนื่องจากมันค่อนข้างจะไม่โปร่งใสกับนิวตรอน, และสามารถแปรไปเป็นไอโซโทปกัมมันตรังสีมากขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าตะกั่ว เรือดำน้ำชั้นอัลฟ่าของรัสเซียใช้เครื่องปฏิกรณ์รวดเร็วหล่อเย็นด้วยตะกั่วบิสมัท เป็นโรงงานพลังงานหลักของมัน

หล่อเย็นด้วยโซเดียม

LMFBRs ส่วนใหญ่จะเป็นประเภทนี้ โซเดียมค่อนข้างหาได้ง่ายและทำงานด้วย และก็ยังป้องกันไม่ให้เกิดการกัดกร่อนจริงในส่วนเครื่องปฏิกรณ์ต่าง ๆ ที่แช่อยู่ในตัวมัน อย่างไรก็ตาม โซเดียมระเบิดอย่างรุนแรงเมื่อสัมผัสกับน้ำ, ดังนั้นต้องระมัดระวัง, แต่การระเบิดดังกล่าวจะไม่มีความรุนแรงมากไปกว่า (ตัวอย่าง) การรั่วไหลของของเหลวที่ร้อนอย่างมากจากเครื่องปฏิกรณ์น้ำวิกฤตยิ่งยวด (อังกฤษ: Supercritical water reactor (SCWR)) หรือ PWR EBR-I, เครื่องปฏิกรณ์ตัวแรกที่หลอมละลาย, จะเป็นประเภทนี้

เครื่องปฏิกรณ์แบบถังกรวด (อังกฤษ: Pebble-bed reactor (PBR))

เครื่องปฏิกรณ์แบบนี้ใช้เชื้อเพลิงที่ขึ้นรูปเป็นลูกกลมเซรามิกและจากนั้นก็หมุนเวียนแก๊สผ่านลูก บอลเหล่านี้ ผลที่ได้คือเครื่องปฏิกรณ์ที่มีประสิทธิภาพ, การบำรุงรักษาต่ำ, ปลอดภัยมากขึ้นด้วยเชื้อเพลิงมาตรฐานราคาถูก ต้นแบบเป็น AVR

เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลาย

เครื่องปฏิกรณ์แบบนี้จะละลายเชื้อเพลิงในเกลือฟลูออไรด์, หรือใช้เกลือฟลูออไรด์เป็นตัวหล่อเย็น มีคุณสมบัติด้านความปลอดภัยจำนวนมาก, มีประสิทธิภาพสูงและความหนาแน่นพลังงานสูงเหมาะสำหรับยานพาหนะ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พวกมันไม่มีความกดดันสูงหรือส่วนประกอบที่ติดไฟได้ง่ายในแกน ต้นแบบเป็น Molten-Salt Reactor Experiment (MSRE) ซึ่งยังใช้วัฏจักรเชื้อเพลิงของทอเรียมในการผลิต 0.1% ของกากกัมมันตรังสีของเครื่องปฏิกรณ์มาตรฐาน

เครื่องปฏิกรณ์ของเหลวเนื้อเดียวกัน (อังกฤษ: Aqueous Homogeneous Reactor (AHR))

เครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้ใช้เกลือนิวเคลียร์ละลายน้ำได้ ที่ละลายลงในน้ำและผสมกับตัวหล่อเย็นและตัวหน่วงนิวตรอน

อนาคตและเทคโนโลยีที่กำลังพัฒนา

เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูง

มากกว่าหนึ่งโหลของการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงยังอยู่ในขั้นตอนต่าง ๆ ของการพัฒนา[33] บางตัวมีวิวัฒนาการจากการออกแบบ PWR, BWR และ PHWR ข้างต้น, บางตัวแหวกแนวออกไป แบบเก่าได้แก่เครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดขั้นสูง (อังกฤษ: advanced boiling water reactor (ABWR)), สองตัวในจำนวนนั้นขณะนี้กำลังดำเนินงานขณะที่ตัวอื่น ๆ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง, และเครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดอย่างง่ายแบบประหยัด (อังกฤษ: Economic Simplified Boiling Water Reactor (ESBWR)) ที่มีความปลอดภัยแบบพาสซีฟ (อังกฤษ: passively safe) และหน่วย AP1000 ที่ถูกวางแผนไว้ (ดูโครงการพลังงานนิวเคลียร์ 2010)

  • เครื่องปฏิกรณ์เร็วแบบองค์รวม (อังกฤษ: Integral Fast Reactor (IFR)) ถูกสร้างขึ้น, ผ่านการทดสอบและประเมินผลในระหว่างปี 1980s และจากนั้นก็ปลดระวางภายใต้การบริหารงานของคลินตันในปี 1990s อันเนื่องมาจากนโยบายที่ไม่แพร่กระจายอาวุธนิวเคลียร์ของรัฐบาล การรีไซเคิลเชื้อเพลิงใช้แล้ว(อังกฤษ: spent nuclear fuel (SNF))เป็นหลักในการออกแบบและเพราะฉะนั้นมันจึงผลิตเพียงเศษเสี้ยวของเสียของเครื่องปฏิกรณ์ปัจจุบัน[34]
  • เครื่องปฏิกรณ์ถังกรวดเป็นเครื่องปฏิกรณ์อุณหภูมิสูงระบายความร้อนด้วยแก๊ส (อังกฤษ: high-temperature gas-cooled reactor (HTGCR))} ได้รับการออกแบบเพื่อให้อุณหภูมิสูงไปลดการส่งออกของพลังงานโดยการขยาย Doppler (อังกฤษ: Doppler broadening)ของหน้าตัดนิวตรอนของเชื้อเพลิง มันใช้เชื้อเพลิงเซรามิกเพื่อให้อุณหภูมิของการดำเนินงานที่ปลอดภัยเกินช่วงอุณหภูมิที่ใช้ลดพลังงาน การออกแบบส่วนใหญ่จะหล่อเย็นด้วยก๊าซฮีเลียมเฉื่อย ฮีเลียมไม่ขึ้นอยู่กับการระเบิดไอน้ำแต่ต่อต้านการดูดซึมนิวตรอนจึงนำไปสู่​​กัมมันตภาพรังสี, และไม่ละลายสารปนเปื้อนที่สามารถกลายเป็นกัมมันตรังสี การออกแบบโดยทั่วไปมีหลายชั้น (มากถึง 7 ชั้น) ของภาชนะบรรจุพาสซีฟมากกว่าเครื่องปฏิกรณ์แบบน้ำเบา (ปกติมี 3 ชั้น) คุณลักษณะเฉพาะที่ไม่เหมือนใครที่อาจช่วยด้านความปลอดภัยคือ ลูกกลมเชื้อเพลิงที่สร้างรูปแบบจริงของกลไกของแกน, และจะถูกแทนที่ทีละลูกเมื่อพวกมันมีอายุมากขึ้น การออกแบบของเชื้อเพลิงทำให้การนำกลับไปเข้ากระบวนการใหม่ของเชื้อเพลิงมีราคาแพง
  • เครื่องปฏิกรณ์อิสระขนาดเล็กปิดผนึกขนส่งได้ (อังกฤษ: Small, sealed, transportable, autonomous reactor (SSTAR)) กำลังถูกวิจัยและพัฒนาขั้นต้นในสหรัฐอเมริกา, ตั้งใจจะให้เป็นเครื่องปฏิกรณ์ fast breeder ที่มีความปลอดภัยแบบพาสซีฟและสามารถถูกทำให้ปิดตัวลงจากระยะไกล ในกรณีที่ความสงสัยที่เกิดขึ้นว่ามันจะถูกดัดแปลงเพื่อทำลาย
  • เครื่องปฏิกรณ์ขั้นสูงที่สะอาดและปลอดภัยต่อสิ่งแวดล้อม (อังกฤษ: Clean And Environmentally Safe Advanced Reactor (CAESAR)) เป็นแนวคิดเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ที่ใช้ไอน้ำเป็นตัวหน่วง - การออกแบบนี้ยังอยู่ในระหว่างการพัฒนา
  • เครื่องปฏิกรณ์ลดการหน่วงของน้ำ (อังกฤษ: Reduced moderation water reactor) สร้างบนเครื่องปฏิกรณ์น้ำเดือดขั้นสูง (อังกฤษ: Advanced boiling water reactor (ABWR)) ที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบัน, มันไม่ได้เป็นเครื่องปฏิกรณ์เร็วที่สมบูรณ์แต่ใช้นิวตรอน epithermal ส่วนใหญ่แทน, ซึ่งอยู่ระหว่างนิวตรอนร้อนและนิวตรอนเร็ว
  • โมดูลพลังงานนิวเคลียร์ใช้ไฮโดรเจนเป็นตัวหน่วงควบคุมตนเอง (อังกฤษ: hydrogen-moderated self-regulating nuclear power module (HPM)) คือการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์เล็ดลอดออกมาจาก 'ห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอสอาลามอส' ที่ใช้ยูเรเนียมไฮไดรด์เป็นเชื้อเพลิง
  • เครื่องปฏิกรณ์ subcritical ถูกออกแบบมาให้มีความปลอดภัยและมีเสถียรภาพมากขึ้น, แต่ก่อให้เกิดปัญหาทางวิศวกรรมและทางเศรษฐกิจจำนวนมาก ตัวอย่างหนึ่งตัวขยายพลังงาน
  • เครื่องปฏิกรณ์แบบทอเรียม มันเป็นไปได้ที่จะแปลงทอเรียม-232 ให้เป็น U-233 ในเครื่องปฏิกรณ์ที่ได้รับการออกแบบเป็นพิเศษเพื่อวัตถุประสงค์นั้น ด้วยวิธีนี้ ทอเรียมซึ่งมีจำนวนมากมายกว่ายูเรเนียมสามารถใช้ในการ breed เชื้อเพลิงนิวเคลียร์ U-233 ยังมีความเชื่อกันว่า U-233 มีคุณสมบัตินิวเคลียร์ที่ดีเมื่อเทียบกับการใช้ U-235 แบบดั้งเดิม, รวมทั้งการประหยัดนิวตรอนที่ดีกว่าและการผลิตของเสีย transuranic อายุยืนที่ต่ำกว่า
    • เครื่องปฏิกรณ์น้ำหนักขั้นสูง (อังกฤษ: Advanced heavy-water reactor (AHWR)) - น้ำหนักจะถูกนำเสนอเพื่อเป็นตัวหน่วงของเครื่องปฏิกรณ์ไฟฟ้านิวเคลียร์ ที่จะถูกออกแบบเป็นรุ่นต่อไปของประเภท PHWR, ปัจจุบันอยู่ระหว่างการพัฒนาในศูนย์วิจัยปรมาณู Bhabha (BARC), ประเทศอินเดีย
    • Kamini - เครื่องปฏิกรณ์ที่ไม่ซ้ำแบบใครใช้ไอโซโทปของยูเรเนียม-233 เป็นเชื้อเพลิง, ถูกสร้างขึ้นในประเทศอินเดียโดย BARC และ ศูนย์วิจัยปรมาณู Indira Gandhi (IGCAR)
    • อินเดียก็กำลังวางแผนที่จะสร้างเครื่องปฏิกรณ์ fast breeder โดยใช้วัฏจักรเชื้อเพลิงทอเรียม-ยูเรเนียม-233. FBTR (Fast Breeder Test Reactor) ในการดำเนินงานที่ Kalpakkam (อินเดีย) ใช้พลูโตเนียมเป็นเชื้อเพลิงและใช้โซเดียมเหลวเป็นตัวหล่อเย็น

เครื่องปฏิกรณ์รุ่นที่สี่

เครื่องปฏิกรณ์ Generation IV เป็นชุดหนึ่งของการออกแบบเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ทางทฤษฎีที่กำลังมีการวิจัยในขณะนี้ การออกแบบเหล่านี้ทั่วไปมักจะไม่คาดว่าจะสามารถใช้ได้สำหรับการก่อสร้างเชิงพาณิชย์ก่อนปี 2030. เครื่องปฏิกรณ์ปัจจุบันที่อยู่ในการดำเนินงานทั่วโลกโดยทั่วไปมีการพิจารณาว่า เป็นระบบรุ่นที่สองหรือที่สามโดยที่ระบบรุ่นแรกได้รับการปลดระวางไปก่อนหน้านี้แล้ว การวิจัยสำหรับประเภทของเครื่องปฏิกรณ์เหล่านี้ได้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการโดย Generation IV International Forum (GIF) ตามพื้นฐานของเป้าหมายเทคโนโลยีแปดอย่าง เป้าหมายเบื้องต้นก็คือเพื่อปรับปรุงความปลอดภัยของนิวเคลียร์, ปรับปรุงความต้านทานการแพร่ขยาย, ลดของเสียและเพิ่มการใช้ประโยชน์ในทรัพยากรธรรมชาติ และเพื่อลดค่าใช้จ่ายในการสร้างและการดำเนินงานของโรงงานดังกล่าว[35]

  • เครื่องปฏิกรณ์เร็วหล่อเย็นด้วยแก๊ส
  • เครื่องปฏิกรณ์เร็วหล่อเย็นด้วยตะกั่ว
  • เครื่องปฏิกรณ์เกลือหลอมละลาย
  • เครื่องปฏิกรณ์เร็วหล่อเย็นด้วยโซเดียม
  • เครื่องปฏิกรณ์น้ำวิกฤตยิ่งยวด
  • เครื่องปฏิกรณ์อุณหภูมิสูงมาก

เครื่องปฏิกรณ์รุ่น 5+

เครื่องปฏิกรณ์ Generation V มีการออกแบบที่มีความเป็นไปได้ในทางทฤษฎีและยังไม่ได้รับการพิจารณาหรือการวิจัยอย่างจริงจังในปัจจุบัน แม้ว่าเครื่องปฏิกรณ์ดังกล่าวอาจจะสร้างขึ้นด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันหรือในระยะใกล้, พวกมันได้เรียกความสนใจได้เล็กน้อยด้วยหลายเหตุผลทางเศรษฐศาสตร์, การปฏิบัติจริง, หรือความปลอดภัย

  • เครื่องปฏิกรณ์แกนของเหลวเป็นเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์แกนเป็นของเหลววงปิด ที่วัตถุฟิชชั่นคือยูเรเนียมหลอมเหลวหรือสารละลายยูเรเนียมถูกหล่อเย็นด้วยแก๊สทำงาน ที่ถูกสูบเข้าไปผ่านหลุมหลายหลุมในฐานของถังบรรจุ
  • เครื่องปฏิกรณ์แกนแก๊สเป็นรุ่นวงปิดของจรวดหลอดไฟนิวเคลียร์ (อังกฤษ: nuclear lightbulb rocket) ที่วัตถุฟิชชั่นคือแก๊สยูเรเนียม hexafluoride ที่เก็บอยู่ในถังซิลิกาหลอมละลาย แก๊สทำงาน (เช่นไฮโดรเจน) จะไหลไปรอบ ๆ ถังนี้ และดูดซับแสงยูวีที่ผลิตโดยปฏิกิริยา ในทางทฤษฎีการใช้ UF6 เป็นเชื้อเพลิงทำงานโดยตรง (แทนที่จะเป็นขั้นตอนแบบที่ทำตอนนี้) จะหมายถึงค่าใช้จ่ายของกระบวนการลดลง, และเครื่องปฏิกรณ์มีขนาดเล็กมาก ในทางปฏิบัติ การเดินเครื่องปฏิกรณ์ที่ความหนาแน่นพลังงานสูงแบบนี้อาจจะผลิตฟลักซ์นิวตรอนไม่สามารถจัดการได้, ทำให้วัสดุเครื่องปฏิกรณ์ส่วนใหญ่อ่อนแอลง, และดังนั้นเมื่อฟลักซ์จะคล้ายกับที่คาดว่าจะเกิดในเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่น, มันจะต้องมีวัสดุที่คล้ายกับพวกที่ถูกเลือกโดย 'สิ่งอำนวยความสะดวกวัสดุการฉายรังสีฟิวชั่นนานาชาติ' (อังกฤษ: International Fusion Materials Irradiation Facility (IFMIF))
    • เครื่องปฏิกรณ์แกนแก๊ส EM. เหมือนกับในเครื่องปฏิกรณ์แกนแก๊ส แต่มีแผงโซลาร์เซลล์ที่แปลงแสงยูวีโดยตรงให้เป็นไฟฟ้า[36].
  • เครื่องปฏิกรณ์ฟิชชันบางส่วน
  • ไฮบริดนิวเคลียร์ฟิวชั่น จะใช้นิวตรอนที่ปล่อยออกมาโดยฟิวชั่นเพื่อทำปฏิกิริยาฟิชชั่นกับ 'ผ้าห่ม' ของวัสดุที่อุดมสมบูรณ์เช่น U-238 หรือ Th-232 และเปลี่ยนผ่าเหล่าเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ใช้แล้ว / กากนิวเคลียร์ของปฏิกรณ์อื่นๆให้เป็นไอโซโทปที่ค่อนข้างอ่อนโยนมากกว่า

เครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่น

นิวเคลียร์ฟิวชันที่ถูกควบคุม ในหลักการสามารถที่จะนำมาใช้ในโรงไฟฟ้าฟิวชั่น ในการผลิตไฟฟ้าโดยไม่มีความซับซ้อนของการจัดการพวก actinides ทั้งหลาย, แต่อุปสรรคทางวิทยาศาสตร์และทางเทคนิคที่สำคัญยังคงอยู่ หลายเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นได้รับการสร้างขึ้น แต่ยังไม่มีสักเครื่องที่สามารถ 'ผลิต' พลังงานความร้อนได้มากกว่าพลังงานไฟฟ้าที่บริโภคเข้าไป แม้จะมีการวิจัยที่มีการเริ่มต้นในปี 1950s, ไม่มีเครื่องปฏิกรณ์ฟิวชั่นเชิงพาณิชย์ที่คาดว่าจะทำสำเร็จก่อนปี 2050 โครงการ ITER ขณะนี้กำลังพยายามที่จะนำพลังงานฟิวชั่นไปใช้ทางการค้า

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เครื่องคิดเลข เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์ http://www.businessweek.com/news/2011-04-04/fukush... http://v3.espacenet.com/textdoc?DB=EPODOC&IDX=GB63... http://books.google.com/books?id=vY5rXC4xlMgC http://video.google.com/videoplay?docid=-233485780... //www.google.com/patents/US2708656 http://science.howstuffworks.com/nuclear-power3.ht... http://www.nbcnews.com/id/4626592/ns/technology_an... http://www.nucleartourist.com/systems/rp.htm http://www.nytimes.com/2011/06/02/world/asia/02jap... http://www.rmutphysics.com/PHYSICS/oldfront/102/1/...