ประวัติ ของ เครื่องฟอกไอเสียเชิงเร่งปฏิกิริยา

ผู้ที่ทำการคิดค้นเครื่องฟอกไอเสียฯ ครั้งแรก คือ Eugene Houdry วิศวกรเครื่องกลชาวฝรั่งเศสซึ่งอาศัยอยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเร่งปฏิกิริยาการกลั่นน้ำมัน ประมาณปี พ.ศ. 2493 และได้รับการพัฒนาต่อโดย Engelhard Corporation

จากการเก็บข้อมูลของสหรัฐอเมริกาพบว่ารถยนต์ที่ผลิตก่อนปี พ.ศ. 2509 ค่าเฉลี่ยรถยนต์ที่วิ่งในระยะทาง 1 ไมล์ หรือ ประมาณ 1.6 กิโลเมตร ปลดปล่อยมลพิษหรือก๊าซพิษออกมาสู่บรรยากาศหลายชนิด เช่น ไอน้ำมันที่เผาไหม้ไม่หมดหรือสารไฮโดรคาร์บอนถูกปล่อยออกมาประมาณ 10.6 กรัม ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ ประมาณ 84 กรัม ก๊าซในกลุ่มไนโตรเจนออกไซด์ ประมาณ 4.1 กรัม ทำให้หน่วยของรัฐของสหรัฐอเมริกาออกมากดดันให้รถยนต์ติดตั้งเครื่องฟอกไอเสียฯ กับรถยนต์ทุกคัน ส่วนรถยนต์ที่ทำการผลิตออกมาและได้ทำการติดตั้งเครื่องฟอกไอเสียทำการจำหน่ายเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2518 ขณะนั้นเป็นเครื่องฟอกแบบสองทาง และสามารถลดมลพิษได้เฉพาะสารประกอบไฮโดรคาร์บอนกับก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์เท่านั้น จากนั้นจึงพัฒนาให้สามารถลดก๊าซไนโตรเจนออกไซด์ได้ ในช่วงปลายทศวรรษที่ 70[1]

สหรัฐอเมริกาได้ออกกฎหมายให้รถยนต์ทุกคันติดตั้งอุปกรณ์บำบัดมลพิษจากท่อไอเสียในปี พ.ศ. 2517 ในปีต่อมาญี่ปุ่นก็ออกกฎหมายบังคับให้รถยนต์ติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสีย ส่วนประเทศไทยได้ออกกฎหมายบังคับให้รถยนต์ที่ใช้เครื่องยนต์เบนซิน ต้องติดตั้งอุปกรณ์บำบัดไอเสียในปี พ.ศ. 2535 และมีผลบังคับใช้ในปีต่อมา[2]

เครื่องฟอกไอเสียฯ แบบใช้เซรามิกซ์เป็นแกนรองรับสารเร่งปฏิกิริยา

ใกล้เคียง

เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่เชิดชูยิ่งช้างเผือก เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติยศยิ่งมงกุฎไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์ไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันมีศักดิ์รามาธิบดี เครื่องดนตรีไทย เครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้า เครื่องเป่าลมไม้ เครื่องบินขับไล่ เครื่องราชอิสริยาภรณ์อันเป็นที่สรรเสริญยิ่งดิเรกคุณาภรณ์ เครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์