เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ของ เครื่องรัก

เครื่องรักพม่าแบบต่าง ๆ การผลิตเครื่องรักในพม่าขั้นตอนการเขียนลายเครื่องรักพม่า

เครื่องรักพม่า

ยูนเถ่ (ယွန်းထညး) คือเครื่องรักในภาษาพม่า วิธีการลงรักเรียกว่าปันหยุน (ပန်းယွန်း) ยางรักหรือน้ำยางที่กรีดจากต้นรักใหญ่หรือรักหลวง ภาษาพม่าเรียก ทิสิ (Gluta usitata) ที่ขึ้นในป่าของเมียนมาร์ (พม่าเดิม) น้ำยางเป็นสีเหลืองอ่อนเหมือนฟางข้าวเมื่อแรกกรีด แต่จะเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อสัมผัสกับอากาศ เมื่อทาหรือเคลือบผิววัสดุ จะทำให้เกิดพื้นผิวเรียบเป็นมันแข็ง มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมที่สัมผัสกับความชื้นหรือความร้อนได้ระดับหนึ่ง

ประวัติ

เศษเครื่องรักที่เก่าแก่ที่สุดที่พบในพุกาม มีอายุย้อนไปถึงศตวรรษที่ 13 หลักฐานเครื่องรักโบราณในพุกามยังสรุปไม่ได้[14]การพิชิตและปราบปรามของบุเรงนอง ในปี ค.ศ. 1555–1562 ที่ มณีปุระ พะโม ซินเม ( เชียงใหม่ ) ลินซิน ( ล้านช้าง ) และเหนือแม่น้ำตะปิงและแม่น้ำฉ่วยลี่ในทิศทางของ ยูนนาน นำช่างฝีมือจำนวนมากกลับพม่า เชื่อกันว่าเครื่องรักชั้นสูงของพม่าที่เรียกว่า หยุน ได้รับการแนะนำในช่วงเวลานี้โดยช่างฝีมือนำเข้าที่เป็นของชาวยวนหรือ ลาว ฉาน ของภูมิภาคเชียงใหม่[15]

การผลิตและการออกแบบ

ภาชนะเคลือบ กล่อง และถาดมีฐานเป็นไม้ไผ่ขดหรือสานมักผสมกับขนม้า ยางรัก (ทิสิ) อาจผสมกับขี้เถ้าหรือขี้เลื่อยเพื่อทำเป็นวัสดุอุด หรือ โป๊ว เรียกว่า ทะโย ซึ่งสามารถปั้นได้ วัตถุถูกเคลือบทับด้วยยางรักและทะโยเป็นชั้นๆ เพื่อให้ผิวเรียบ ขัดเงา สลักลายอย่างประณีต มักใช้สีแดง สีเขียว และสีเหลืองบนพื้นสีแดงหรือสีดำ ชเวซาวา เป็นรูปแบบที่โดดเด่นในการใช้ทองคำเปลวเพื่อเติมเต็มลวดลายบนพื้นหลังสีดำ[16][17] ฉากในวัง ฉากจากนิทานชาดก และสัญลักษณ์ของนักษัตรพม่า เป็นลายที่ได้รับความนิยม และภาชนะบางชิ้นอาจประดับกระจกหรืออัญมณี วัตถุทั้งหมดทำด้วยมือและการออกแบบและการแกะสลักด้วยมือเปล่า อาจใช้เวลาสามถึงสี่เดือนในการทำภาชนะขนาดเล็กให้เสร็จ แต่อาจใช้เวลามากกว่าหนึ่งปีสำหรับชิ้นส่วนขนาดใหญ่ ผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเป็นผลมาจากการทำงานเป็นทีมและไม่ได้สร้างขึ้นโดยบุคคลคนเดียว [16]

รูปแบบ

ภาชนะที่โดดเด่นที่สุดน่าจะเป็นขันข้าวบนก้านที่มีฝาเป็นเกลียวสำหรับพระสงฆ์เรียกว่า ซุนอก (ဆွမ်းအုပ်) และ หล่าเพ็ดอก เป็นจานก้นตื้นที่มีฝาปิดและมีช่องสำหรับใส่ หล่าเปต (ชาดอง) พร้อมเครื่องเคียงต่างๆ ปิ่นโต ที่วางซ้อนกันได้ซึ่งยึดด้วยด้ามเดียวหรือ hsun gyaink มักเป็นสีแดงหรือดำล้วน Daunglan เป็นโต๊ะเตี้ยสำหรับรับประทานอาหารและอาจมีฐานกว้างเรียบง่ายหรือมีขาโค้งสามขาในลวดลายสัตว์หรือดอกไม้พร้อมฝาปิด เหยือกใส่น้ำหรือ เหย่ตากอง ที่มีถ้วยสองเท่าเป็นฝาปิด และแจกันก็เป็นหนึ่งในเครื่องเขินที่ยังคงใช้อยู่ในอารามหลายแห่ง [16][17]กล่องกลมมีฝาปิดแบบต่างๆ ขนาดเล็กและใหญ่เรียกว่า ยุนมัน รวมถึงกล่องสำหรับใส่หมากที่เรียกว่า คุงอิท ( พม่า: ကွမ်းအစ် ; หมาก). ยุ่นติตตะ เป็นกล่องสี่เหลี่ยมสำหรับเก็บสิ่งของต่าง ๆ รวมทั้ง ปีซาหรือใบตาลที่เขียนด้วยลายมือ เมื่อเรียกว่า สะไดกติตตะ จานเชิงฐานหรือถาดขนาดเล็กที่มีก้านมีหรือไม่มีฝาปิดเรียกว่า กาลาต สำหรับเสิร์ฟอาหารอันโอชะหรือถวายดอกไม้แด่เจ้านายหรือ พระพุทธเจ้า คณะละครและนักดนตรีมีเครื่องเขินในชุด หน้ากาก ผ้าโพกศีรษะ และเครื่องดนตรี บางส่วนจัดเก็บและบรรทุกในหีบเคลือบ กล่องรูปฟักทองหรือนกเช่นนกฮูกซึ่งเชื่อว่าจะนำโชคหรือ เป็ด พราหมณ์ หน้าจอและตารางรูปหลายเหลี่ยมขนาดเล็กยังทำขึ้นเพื่อการค้าการท่องเที่ยวในปัจจุบัน

อุตสาหกรรม

พุกาม เป็นศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับอุตสาหกรรมเครื่องรักที่ซึ่งงานหัตถกรรมได้รับการก่อตั้งขึ้นมาเกือบสองศตวรรษ และยังคงปฏิบัติในลักษณะดั้งเดิม ที่นี่เป็นโรงเรียนสอนเครื่องรักของรัฐบาลที่ก่อตั้งขึ้นในทศวรรษที่ 1920 เนื่องจากพลาสติก เครื่องลายคราม และโลหะเข้ามาแทนที่ยางรักในเครื่องใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ จึงมีการผลิตในเวิร์กช็อปขนาดใหญ่สำหรับนักท่องเที่ยวที่มาชมวัดโบราณของพุกามเป็นหลัก อย่างไรก็ตาม ที่หมู่บ้าน Kyaukka ใกล้เมือง Monywa ในหุบเขา Chindwin เครื่องใช้เคลือบเงาที่ทนทานยังคงผลิตขึ้นเพื่อใช้ในชีวิตประจำวันโดยส่วนใหญ่เป็นสีดำล้วน[16]จำนวนผู้เข้าชมที่ลดลงประกอบกับต้นทุนเรซินซึ่งเพิ่มขึ้น 40 เท่าในรอบ 15 ปี ทำให้โรงงานเครื่องเขินกว่า 2 ใน 3 กว่า 200 แห่งในพุกามต้องปิดตัวลง[18]

เครื่องรักไทย

เครื่องรัก หรือ เครื่องเขิน ในอดีตมีสถานภาพเป็นทั้งสิ่งของเครื่องใช้ในครัวเรือน เป็นเครื่องใช้ในพิธีกรรม เป็นรูปเคารพ และเป็นงานศิลปะ เครื่องรักมีโครงสร้างทำจากไม้ และที่นิยมมากคือโครงสร้างจากไม้ไผ่สานซึ่งช่วยให้ของใช้นั้นมีน้ำหนักเบาและยืดหยุ่นได้ไม่แตกหักง่าย[19]เครื่องรักในพื้นที่ต่าง ๆ มีการโอนถ่ายกันไปมา เนื่องจากในอดีต มีการศึกสงครามระหว่างไทยกับพม่า โดยเฉพาะในพื้นที่ของล้านนามีการกวาดต้อนผู้คนไปมาอยู่หลายระลอก ทั้งจากล้านนามาพม่า และพม่ามายังล้านนาซึ่งบรรดาช่างฝีมือด้านหัตถกรรมก็มักเป็นที่ต้องการ จึงทำให้งานหัตถกรรมอย่างเครื่องเขินแพร่หลายไปยังดินแดนพม่าด้วย โดยพม่าเรียกเครื่องเขินว่า ยูนเถ่ หรือเครื่องใช้ของคนยวน ซึ่งหมายถึงไทยวน อันเป็นคนส่วนมากในบริเวณแปดจังหวัดของภาคเหนือของไทย และรวมไปถึงในรัฐฉานตะวันออกด้วย จนกระทั่งเมื่อแต่ละประเทศถูกแบ่งแยกออกจากกันด้วยความเป็นรัฐสมัยใหม่ ทำให้เครื่องเขินของในแต่ละพื้นที่ก็มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปตามแต่ละพื้นที่โดยไม่มีการปฏิสัมพันธ์กันอีก[20]

คำเรียกชื่อ

คําว่า “เครื่องเขิน” หมายถึง ภาชนะ เครื่องมือหรือของใช้ที่ผลิตขึ้นโดยชาวเชียงใหม่ที่มีเชื้อสายสืบมาจากชาวไทเขินแต่โบราณ คํานี้น่าจะบัญญัติขึ้นโดยคนไทยภาคกลาง หรือข้าราชการจากส่วนกลางที่ขึ้นมาอยู่ในภาคเหนือเมื่อประมาณ 100 ปีที่แล้ว เพราะว่าคํานี้มิได้ปรากฏอยู่ในภาษาพื้นถิ่นของชาวเชียงใหม่ ซึ่งชาวเชียงใหม่ แต่เดิมมิได้มีศัพทเรียกที่จํากัดความเฉพาะเช่นนี้มาก่อน ชาวเชียงใหม่เรียกชื่อภาชนะของใช้ต่าง ๆ ตามลักษณะการใช้งานมากว่าการระบุถึงวัสดุหรือเทคนิกการผลิต ทั้งนี้อาจเพราะว่าภาชนะของใช้ในอดีตเป็นจำนวนมาก ผลิตด้วยเทคนิดและวัสดุพื้นถิ่นซึ่งถือว่าเป็นของธรรมดา ๆ ไม่มีอะไรพิเศษ จึงไม่ได้มีการใช้ศัพท์เฉพาะให้ชัดเจน ที่ใกล้เคียงกับการเป็นศัพท์เฉพาะมากที่สุดจะเรียกเป็นวลีว่า "คัวฮักคัวหาง" สำหรับเรียกเครื่องรักหรือเครื่องเขิน[21]แต่เดิมคำว่าเครื่องเขินในไทยไม่ได้มีการบันทึกไว้อย่างเป็นลายลักษณ์อักษร เพียงแต่กล่าวถึงการใช้รักในการสร้างเครื่องใช้ต่าง ๆ หรือใช้ในการสร้างวัดและพระพุทธรูปเป็นส่วนมาก สิ่งที่ใกล้เคียงกับเครื่องเขินที่สุดมาจากคำที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้กล่าวไว้ในหนังสือเที่ยวเมืองพม่าว่า “เครื่องลงรัก” นับว่าคำว่า “เครื่องเขิน” ยังไม่ปรากฏหรือยังไม่เป็นที่นิยมใช้เรียกภาชนะดังกล่าวอย่างแพร่หลายอย่างน้อยจนถึงสมัยรัชกาลที่ 5[22]เครื่องเขินเรียกตามนามของเผ่าชนผู้ประดิษฐ์ขึ้นคือ ไทยเขิน ทางเชียงตุง ชนเผ่านี้เป็นเชลยที่ถูกกวาดต้อนมาเมื่อประมาณ 200 ปีก่อน โดยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ในขณะที่พระองค์ยังไม่ได้ครองราชสมบัติ และดำรงตำแหน่งแม่ทัพไปตีเวียงจันทร์ จึงได้นำเอาเชลยเหล่านี้มา และได้ตั้งรกรากอยู่ที่เชียงใหม่และถ่ายทอดวิชาหัตถกรรมนี้ให้แก่ชาวเชียงใหม่ ซึ่งเวลานี้เป็นแหล่งผลิตเครื่องเขิน และเป็นแหล่งรวบรวมยางรักของประเทศไทยและหมู่บ้านที่ได้ชื่อว่ามีการทำเครื่องเขินเป็นล้ำเป็นสันก็คือที่ หมู่บ้านเขิน ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่[23]

ลักษณะและการผลิต

โดยส่วนใหญ่โครงของเครื่องเขินจะเป็นเครื่องไม้ไผ่สาน ทาด้วยยางรักหลายๆชั้น โดยการทารักในชั้นแรกจะเป็นการยึดโครงของภาชนะให้เกิดความมั่นคง ส่วนการทารักในชั้นต่อๆไปเป็นการตกแต่งพื้นผิวภาชนะให้เรียบ และการทารักชั้นสุดท้ายจะเป็นการตกแต่งให้เกิดความสวยงาม เช่น การเขียนลวดลาย การปิดทอง หรือการขุดผิวให้เป็นร่องลึก แล้วฝังรักสีที่ต่างกันเป็นลวดลายสวยงาม หากเป็นภาชนะของใช้ทั่วไปจะมีน้ำหนักเบาจะนิยมใช้รักสีดำและตากแต่งด้วยสีแดงของชาดแดง และกรณีภาชนะที่ใช้ในพิธี จะทำการตกแต่งเชิงศิลปะ เช่น ใช้ทองคำเปลวประดับ บางชิ้นอาจมีการปั้น กดรัก พิมพ์รักให้เป็นลวดลาย เพื่อเพิ่มความงดงามให้แก่ภาชนะ

เครื่องเขินที่เป็นที่รู้จักและแพร่หลาย เช่น เชี่ยนหมาก พาน ขันโอ ขันน้ำ และถาด เป็นอาทิ ปัจจุบันเครื่องเขินมีการนำเอาไม้มาทำโดยวิธีการเคี่ยนตามรูปแบบ โดยใช้ไม้จริง เช่น ไม้สัก ไม้ยาง ไม้มะม่วงป่า ไม้ยมหิน หรือใช้ไม้อัด โดยนำเอาไม้จริงทั้งต้นมาต้มและปอก หรือฝานด้วยใบมีดขนาดใหญ่เป็นแผ่นบาง จากนั้นนำมาตัดแบ่งตามขนาดแล้วทาด้วยกาวยางซ้อนทับสลับในแนวเดียวกันและนำเครื่องอัดและอบให้กาวแห้งสนิทรูปร่างรูปทรงของเครื่องเขิน มักจะเลียนแบบจากธรรมชาติ โดยเอื้อประโยชน์ใช้สอยตามความต้องการของผู้ใช้ ซึ่งรูปทรงเหล่านี้มักจะเลียนแบบจากพืชพรรณไม้ รูปทรงจากสัตว์ รูปทรงกระบอก ทรงกลม ทรงเรขาคณิต รูปรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม หกเหลี่ยม แปดเหลี่ยม รวมถึงรูปทรงที่ช่างคิดสร้างสรรค์ ทั้งลายกนก ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ ลายเฟื่อง ลายบัว ลานรักร้อย ลายประจำยาม ลายก้านขด ลายกระจัง ลายธรรมชาติ ตลอดจนภาพนิทานชาดก และลายสิบสองราศี

คุณสมบัติของเครื่องเขิน คือ มีน้ำหนักเบา ยืดหยุ่นได้บ้าง ไม่แตกหักเสียหายในทันที วัสดุที่ใช้ในการผลิตสามารถหาได้โดยทั่วไปในท้องถิ่น เทคนิคในการตกแต่งไม่ซับซ้อน และยังสนองตอบรสนิยมและการใช้สอยในชีวิตประจำวันของผู้คนในภาคเหนือ รวมถึงเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากคุณสมบัติ รูปร่าง วัสดุและเทคนิคดังกล่าวได้แสดงให้เห็นถึงภูมิปัญญาของคนในอดีตที่รู้จักเลือกสรรสิ่งของในการประดิษฐ์และตกแต่งให้มีคุณค่า และคงทนต่อการใช้งาน[24]

เครื่องรักกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงในไทย

เครื่องรักของชาวกะเหรี่ยง (โปว์) มีอัตลักษณ์และความหลากหลายตามหน้าที่การใช้สอยที่แตกต่างกัน ตามความนิยมใช้กันในท้องถิ่น เป็นงานครื่องสานอันประกอบด้วย ต๋าง ปิ่นโต โตก แปม (ภาชนะใช้สะพายหลัง) แอ็บหมาก หรือ ตะโด๊ะ ซึ่งเป็นการผลิตขึ้นมาเพื่อการใช้สอยเป็นหลัก ยังคงนิยมใช้อยู่ทุกครอบครัว มีลักษณะเรียบง่าย ทารักสีดำเพื่อให้กันน้ำหรือของเหลวได้ การใช้งานนั้นค่อนข้างสมบุก สมบันจึงมักมีการให้ความสำคัญในเรื่องความแข็งแรงด้วยการทารักเป็นหลัก[25] ส่วนมากเรียบง่ายและตรงไปตรงมา ไม่ซับซ้อน การตกแต่งนิยมยักผิวไผ่เป็นเส้นคาดตกแต่งขอบภาชนะ ปลอยเป็นสีผิวไม้ไผ่ตามธรรมชาติคือเป็นสีเหลืองตัดกับสีดําของยางรัก[26] อาจจะมีการตกแต่งให้วิจิตรอยู่บ้างในสิ่งของบางประเภท เช่น แอ็บหมาก ที่มีการใส่รายละเอียดบนผิวไผ่คาดประดับเป็นเส้นและลวดลายฟันปลาขนาดเล็กๆ ผลิตภัณฑ์เครื่องเขินส่วนใหญ่จะผลิตใช้เองในครอบครัวและขายให้กับหมู่บ้านใกล้เคียง[27]

ใกล้เคียง

เครื่องรัก เครื่องจักรไอน้ำ เครื่องซักผ้า เครื่องรับวิทยุ เครื่องจักสาน เครื่องจักรนิรันดร์ เครื่องจักรความร้อน เครื่องจักร เรื่องรัก น้อยนิด มหาศาล เครื่องราชอิสริยาภรณ์ดาบ

แหล่งที่มา

WikiPedia: เครื่องรัก http://mission.itu.ch/MISSIONS/Myanmar/Burma/bur_h... http://www.artfromburma.com/cat.cfm?cat=2 http://www.fathom.com/feature/190126/index.html http://www.baganlacquerwarecluster.org/ancient-his... //doi.org/10.1086%2F658369 http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=14946 //www.jstor.org/stable/10.1086/658369 http://www.metmuseum.org/toah/hd/elac/hd_elac.htm https://www.bangkokdesignweek.com/bkkdw2023/progra... https://books.google.com/books?id=9PxZ5JWoTRsC