ระบบเคเบิลใต้น้ำในประเทศไทย ของ เคเบิลใต้น้ำ

การสื่อสารโทรคมนาคมในประเทศไทยเริ่มนำระบบเคเบิลใต้น้ำเข้ามาใช้ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ.1964) จากการร่วมลงทุนกับประเทศญี่ปุ่นทำการวางสายเคเบิลใต้น้ำระหว่างประเทศไทยไปยังประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งประเทศไทยจะได้สิทธิใช้คู่สายเคเบิลจำนวน 10 ช่องทางโทรศัพท์ สามารถใช้ส่งโทรเลขได้พร้อมกัน 24 สาย ต่อมาประเทศญี่ปุ่น ได้สำรวจเพื่อการวางสายเคเบิลใต้น้ำ จากประเทศไทยและประเทศเวียดนามใต้เพื่อเชื่อมต่อกับประเทศฟิลิปปินส์ โดยการวางสายเคเบิลใต้น้ำในทะเลอ่าวไทย และนำสายขึ้นบกที่เขาแหลมหญ้าและเขาสาบ บ้านเพ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และเชื่อมโยงกับระบบถ่ายทอดวิทยุภาคพื้นดิน โดยใช้คลื่นวิทยุความถี่ไมโครเวฟจากเขาสาบมายังสัตหีบ แหลมฉบังแล้วเชื่อมโยงเข้ากรุงเทพมหานครต่อไป ต่อจากนั้นได้มีพัฒนาการ เกิดโครงการเคเบิลใต้น้ำตามมาอีกหลายโครงการทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน

สถานีเคเบิลใต้น้ำในประเทศไทย (พ.ศ. 2526)

การสื่อสารแห่งประเทศไทย(ชื่อเดิม)ได้สร้างสถานีเคเบิลใต้น้ำเพื่อให้ประโยชน์ในการให้บริการระหว่างประเทศซึ่งประเทศไทย มีสถานีเคเบิลใต้น้ำทั้งหมดสี่แห่งในปีพ.ศ. 2526 คือ

ก) สถานีชลี 1 - เพชรบุรี ตั้งอยู่ที่ ต.หาดเจ้าสำราญ อ. เมืองเพชรบุรี จ. เพชรบุรี

ข) สถานีชลี 2 - สงขลา ตั้งอยู่ที่ ต. เขารูปช้าง อ.เมืองสงขลา จ.สงขลา

ค) สถานีชลี 3 - ศรีราชา ตั้งอยู่ภายในบริเวณสถานีดาวเทียมภาคพื้นดิน ต.ทุ่งสุขลา อ.ศรีราชา จ. ชลบุรี

ง) สถานีชลี 4 – สตูล ตั้งอยู่ที่ ต.ปากน้ำ อ.เมืองสตูล จ.สตูล

ใกล้เคียง

เคเบิลใต้น้ำ เคเบิล เคเบิลไทยโฮลดิง เคเบิลทีวี เทเบิลเทนนิสในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – ชายเดี่ยว เทเบิลเทนนิสในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – หญิงเดี่ยว เทเบิลเทนนิส เซเบิล เกเบิล สตีฟสัน เทเบิลเทนนิสในกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 41 – ทีมหญิง