เขตปกครอง ของ เจ้าคณะภาค

การแบ่งเขตปกครองภาค

ตามข้อ 4 แห่งกฎมหาเถรสมาคม ฉบับที่ 14 (พ.ศ. 2535) ว่าด้วยอำนาจและเขตปกครองคณะสงฆ์ส่วนภูมิภาค กำหนดให้มีจำนวนภาค 18 ภาค และให้รวมเขตปกครองจังหวัดต่าง ๆ เป็นเขตปกครองภาค ดังต่อไปนี้[5]

คณะสงฆ์จำนวนจังหวัดจังหวัดในเขตปกครอง
ภาค 1 4 จังหวัดกรุงเทพมหานคร, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ
ภาค 2 3 จังหวัดพระนครศรีอยุธยา, อ่างทอง, สระบุรี
ภาค 3 4 จังหวัดลพบุรี, สิงห์บุรี, ชัยนาท, อุทัยธานี
ภาค 4 4 จังหวัดนครสวรรค์, กำแพงเพชร, พิจิตร, เพชรบูรณ์
ภาค 5 4 จังหวัดสุโขทัย, พิษณุโลก, อุตรดิตถ์, ตาก
ภาค 6 5 จังหวัดลำปาง, เชียงราย, พะเยา, แพร่, น่าน
ภาค 7 3 จังหวัดเชียงใหม่, ลำพูน, แม่ฮ่องสอน
ภาค 8 6 จังหวัดอุดรธานี, หนองคาย, เลย, สกลนคร, หนองบัวลำภู, บึงกาฬ
ภาค 9 4 จังหวัดขอนแก่น, มหาสารคาม, กาฬสินธุ์, ร้อยเอ็ด
ภาค 10 6 จังหวัดอุบลราชธานี, ศรีสะเกษ, นครพนม, ยโสธร, มุกดาหาร, อำนาจเจริญ
ภาค 11 4 จังหวัดนครราชสีมา, บุรีรัมย์, ชัยภูมิ, สุรินทร์
ภาค 12 4 จังหวัดปราจีนบุรี, นครนายก, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว
ภาค 13 4 จังหวัดชลบุรี, ระยอง, จันทบุรี, ตราด
ภาค 14 4 จังหวัดนครปฐม, สุพรรณบุรี, กาญจนบุรี, สมุทรสาคร
ภาค 15 4 จังหวัดราชบุรี, เพชรบุรี, สมุทรสงคราม, ประจวบคีรีขันธ์
ภาค 16 3 จังหวัดนครศรีธรรมราช, ชุมพร, สุราษฏร์ธานี
ภาค 17 5 จังหวัดภูเก็ต, ตรัง, กระบี่, พังงา, ระนอง
ภาค 18 6 จังหวัดสงขลา, พัทลุง, สตูล, ปัตตานี, ยะลา, นราธิวาส

การรวมเขตภาคในคณะธรรมยุต

ในคณะธรรมยุตกำหนดให้เขตภาคบางเขตอยู่ใต้การปกครองของเจ้าคณะภาครูปเดียวกัน ดังนี้

ลำดับที่ภาคที่มีเจ้าคณะภาครูปเดียวกันจำนวนจังหวัดในเขตปกครอง
1ภาค 1, ภาค 2, ภาค 3, ภาค 12, ภาค 1313 จังหวัด 24 เขต/อำเภอ 50 แขวง/ตำบล
2ภาค 4, ภาค 5, ภาค 6, ภาค 75 จังหวัด 21 อำเภอ 69 ตำบล
3ภาค 85 จังหวัด 48 อำเภอ 206 ตำบล
4ภาค 94 จังหวัด 38 อำเภอ 150 ตำบล
5ภาค 106 จังหวัด 28 อำเภอ 106 ตำบล
6ภาค 114 จังหวัด 20 อำเภอ 78 ตำบล
7ภาค 14, ภาค 156 จังหวัด 8 อำเภอ 18 ตำบล
8ภาค 16, ภาค 17, ภาค 187 จังหวัด 22 อำเภอ 34 ตำบล