อำนาจตามกฎหมาย ของ เจ้าคณะใหญ่จีนนิกาย

ตามข้อ 8 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2536) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กำหนดให้เจ้าคณะใหญ่มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้[2]

  1. แต่งตั้งบรรพชิตในคณะสงฆ์เป็นเจ้าอาวาส รองเจ้าอาวาส ผู้ช่วยเจ้าอาวาส ตามหลักเกณฑ์ที่เจ้าคณะใหญ่กำหนดด้วยความเห็นชอบของสมเด็จพระสังฆราช
  2. แต่งตั้งบรรพชิตรูปใดรูปหนึ่งเป็นเลขานุการเจ้าคณะใหญ่

ตามข้อ 9 แห่งกฎกระทรวง ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2520) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 กำหนดให้เจ้าคณะใหญ่มีอำนาจหน้าที่ ดังนี้[3]

  1. ดำเนินการปกครองให้เป็นไปตามพระธรรมวินัย ลัทธิ นิกาย กฎหมาย และพระบัญชาสมเด็จพระสังฆราช
  2. ควบคุมและส่งเสริมการปกครอง การศาสนศึกษา การศึกษาสงเคราะห์ การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และสาธารณสงเคราะห์ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย
  3. วินิจฉัยการลงนิคหกรรม และวินิจฉัยข้ออุทธรณ์คำสั่ง หรือคำวินิจฉัยของบรรพชิตในตำแหน่งรองลงมา
  4. แก้ไขข้อขัดข้องในการปกครองคณะสงฆ์
  5. ปกครองบรรพชิตในคณะสงฆ์ให้เป็นไปโดยความเรียบร้อย

ใกล้เคียง

เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี เจ้าคณะจังหวัด เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะภาค เจ้าคณะตำบล เจ้าคุณจอมมารดาสำลี ในรัชกาลที่ 4 เจ้าคณะใหญ่หนใต้ เจ้าคณะใหญ่ เจ้าคณะภาค 11