ประวัติ ของ เจ้าจอมตนกูสุเบีย_ในรัชกาลที่_4

ชีวิตตอนต้น

เจ้าจอมตนกูสุเบียเป็นพระธิดาของสุลต่านมูฮัมเมด มูอัซซัม ชะฮ์ที่ 3 แห่งลิงกา (Sultan Muhammed Muazzam Shah III) เกิดแต่เติงกูเกิลซุม เลอบาร์ ปูติฮ์ (Tengku Kelsum Lebar Putih) หรือปรากฏใน พงษาวดารเมืองตรังกานู ว่า ตนกูลีปอ พระชายาพระองค์แรก และเป็นพระธิดาในสุลต่านอะฮ์มัด ชะฮ์แห่งตรังกานู (Sultan Ahmad Shah) หรือพระยาตรังกานูอามัด เจ้าจอมตนกูสุเบียมีพระพี่น้องรวมพระชนกชนนีสามพระองค์ พระเชษฐาคือสุลต่านมะฮ์มุด มูซัฟฟาร์ ชะฮ์ที่ 6 (Sultan Mahmud Muzaffar Shah IV) หรือ สุลต่านมะหะมุด หรือมหะมุด เป็นสุลต่านเมืองลิงกาพระองค์ถัดมา[2][5]

ในราชสำนักสยาม

เจ้าจอมตนกูสุเบียได้เข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นบาทบริจาริกาในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวตั้งแต่ปี พ.ศ. 2404[2] เพื่อเป็นหลักประกันเพื่อแสดงความจงรักภักดีของรัฐตรังกานูที่มีต่อกษัตริย์สยาม ซึ่งตนกูสุเบียนั้นไม่เต็มใจนัก[10] ถือเป็นพระสนมที่เป็นอิสลามิกชนท่านแรกและท่านเดียวในรัชกาล[6][7] ด้วยความที่เจ้าจอมตนกูสุเบียมีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้านายจากต่างประเทศ หากเจ้าจอมมีพระสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นจะถูกยกเป็น เจ้าฟ้า ตั้งแต่แรกประสูติหรือที่เรียกว่า "เจ้าฟ้าไบไรต์"[8] เช่นเดียวกับเจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง พระสนมอีกพระองค์หนึ่งที่เป็นเจ้านายจากเมืองเขมร แต่เจ้าจอมก็มิได้ให้ประสูติการพระราชโอรส ดังปรากฏใน ธรรมเนียมในราชตระกูลสยาม ความว่า[8]

"...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเยี่ยมซึ่งเป็นบุตรสมเด็จพระเจ้านโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งโปรดฯ ให้เป็นพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง แลตนกูสุเบีย ซึ่งเป็นน้องสาวสุลต่านมหมุดเมืองลิงงา เป็นพระสนมอยู่ทั้งสองคน ก็ได้ปรารภเป็นการดังทราบทั่วกัน ถ้าพระราชบุตรเกิดด้วยเจ้า ๒ คนนี้ ก็ต้องเป็นเจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนกัน แต่ก็มีคนรังเกียจอยู่ในการที่จะต้องเป็นดังนั้นมาก"

ในงานเขียนของแอนนา ลีโอโนเวนส์ ครูสอนภาษาอังกฤษในราชสำนักรัชกาลที่ 4 กล่าวถึงเจ้าจอมตนกูสุเบียว่าเป็นเจ้าจอมที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตกหลุมรักตั้งแต่เธอเข้ามาในราชสำนัก แต่ตนกูสุเบียนั้นไม่ค่อยเต็มใจจะถวายงานและวางท่าทีนิ่งเฉย ที่สุดจึงถูกปลดจากตำแหน่งและใช้ชีวิตอยู่ล้าหลังในกำแพงวัง[10]

สมรสใหม่

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2411 ล่วงมาในปี พ.ศ. 2419 เจ้าจอมตนกูสุเบียจึงกราบบังคมทูลลาออกไปอาศัยกับพระยาตรังกานูอุมา ผู้ลุง ก่อนเสกสมรสใหม่กับเติงกูลง บินเติงกูกูดิน (Tengku Long bin Tengku Kudin) หรือปรากฏใน พงษาวดารเมืองตรังกานู ว่าตนกูหลงบุตรตนกูเดน หลานพระยาตรังกานูกาโหด ในปีเดียวกันนั้น[2] และไปใช้ชีวิตที่ตรังกานู จนกระทั่งสามีเสียชีวิตลงในปี พ.ศ. 2428[2]

หลังเจ้าจอมตนกูสุเบียออกจากพระราชวังไปแล้ว แต่ยังปรากฏในบันทึกของสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร ที่ทรงบันทึกไว้ในจดหมายเหตุรายวันของพระองค์เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2431 ขณะโดยเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสภาคใต้ที่ทรงพบเจ้าจอมตนกูสุเบียร่วมเฝ้าแหนที่ตรังกานูด้วย ความว่า[3]

"๓ โมงเช้า ๔๐ มินิต (09.40 น.) ถึงเมืองตรังกานู [...] พระยาตรังกานูกับรายามุดาศรีตวันกรมการมาคอยรับเสด็จพร้อมกัน ประทับอยู่ครู่หนึ่งแล้วเสด็จลงเรือไปประทับ​ที่บ้านพระยาตรังกานู มีแขกแต่งเป็นคู่แห่เหมือนเมืองกลันตัน ถึงบ้านมีผู้หญิงแต่งตัวคลุมหัวมาคอยรับอยู่มาก มีตนกูสะเปียซึ่งเคยเข้าอยู่เป็นเจ้าจอมทูลหม่อมปู่เป็นต้น..."

เจ้าจอมตนกูสุเบียถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2437[1]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมนรินทร์ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าจอมตนกูสุเบีย_ในรัชกาลที่_4 http://members.iinet.net.au/~royalty/states/indone... http://www.pasasiam.com/home/index.php/general/pas... http://kridakorn.net/html/page38.htm http://www.matichon.co.th/news/252898 https://readthecloud.co/notenation-hair/ https://www.silpa-mag.com/club/miscellaneous/artic... https://www.silpa-mag.com/culture/article_26972 https://vajirayana.org/%E0%B8%88%E0%B8%94%E0%B8%AB...