พระประวัติ ของ เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง_ในรัชกาลที่_4

พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง มีพระนามเดิมว่า นักเยี่ยม หรือ นักนางเยี่ยม[3] ประสูติเมื่อพ.ศ. 2394[4] เป็นพระราชธิดาพระองค์ใหญ่ในพระบาทสมเด็จพระนโรดม บรมรามเทวาวตาร[5] ทรงเป็นพระญาติกับเจ้าจอมมารดานักองค์อี และเจ้าจอมมารดานักองค์เภา พระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท[6] เนื่องจากเจ้าจอมมารดาทั้ง 2 เป็นเชษฐภคินีในสมเด็จพระนารายณ์รามาธิบดีศรีสุริโยพรรณ[7] พระปัยกาของพระองค์ และเป็นพระปิตุจฉาในสมเด็จพระหริรักษ์รามมหาอิศราธิบดีพระอัยกาของพระองค์[8] เจ้าจอมมารดาทั้ง 2 ท่านจึงมีฐานะเป็นพระปัยยิกาของพระองค์

ต่อมานักเยี่ยมได้เข้าไปรับราชการสนองพระเดชพระคุณเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงเป็นเจ้าจอมพระองค์ที่ 3 ที่เป็นเจ้าหญิงเขมร (อีกสองพระองค์ก่อนหน้าคือ เจ้าจอมมารดานักองค์อี และเจ้าจอมมารดานักองค์เภาในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท)[3] พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมสถาปนาเป็น พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง[9] ทรงมีสถานะเป็นเจ้านายที่มิได้มีเชื้อสายในราชวงศ์จักรี[2] ด้วยความที่เจ้าจอมพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงมีพระชาติกำเนิดเป็นเจ้านายจากกัมพูชา หากเจ้าจอมมีพระสูติการพระราชบุตร พระราชบุตรพระองค์นั้นจะถูกยกเป็น เจ้าฟ้า ตั้งแต่แรกประสูติหรือที่เรียกว่า "เจ้าฟ้าไบไรต์"[9] เช่นเดียวกับเจ้าจอมตนกูสุเบีย พระสนมอีกพระองค์หนึ่งที่เป็นเจ้านายจากเมืองลิงงา แต่เจ้าจอมก็มิได้ให้ประสูติการพระราชโอรส ดังปรากฏใน ธรรมเนียมในราชตระกูลสยาม ความว่า[9]

"...ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นักเยี่ยมซึ่งเป็นบุตรสมเด็จพระเจ้านโรดมเจ้ากรุงกัมพูชา ซึ่งโปรดฯ ให้เป็นพระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง แลตนกูสุเบีย ซึ่งเป็นน้องสาวสุลต่านมหมุดเมืองลิงงา เป็นพระสนมอยู่ทั้งสองคน ก็ได้ปรารภเป็นการดังทราบทั่วกัน ถ้าพระราชบุตรเกิดด้วยเจ้า ๒ คนนี้ ก็ต้องเป็นเจ้าฟ้าตามธรรมเนียมเหมือนกัน แต่ก็มีคนรังเกียจอยู่ในการที่จะต้องเป็นดังนั้นมาก"

ภายหลังจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จสวรรคต พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวงได้กราบบังคบทูลลาออกจากพระบรมมหาราชวังไปเป็นพระชายาในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระสมมตอมรพันธุ์[1] แต่ไม่มีพระโอรสธิดาด้วยกัน[10]

พระองค์เจ้ากำโพชราชสุดาดวง สิ้นพระชนม์เมื่อใดไม่ปรากฏ ปรากฏแต่ว่าในพ.ศ. 2452 ยังมีพระชนม์อยู่[4]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมนรินทร์ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4