ประวัติ ของ เจ้าจอมมารดากู่

เจ้าจอมมารดากู่ เกิดที่บ้านภายในกำแพงพระนคร ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ บริเวณป้อมเพชร ซึ่งเป็นย่านอาศัยของชาวจีนในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เป็นธิดาคนเล็กของคหบดีชาวจีนฮกเกี้ยน[2] มารดาเป็นธิดาของเจ้าพระยาอภัยราชาสมุหนายก[3] มีพี่น้องทั้งหมด 2 คน ได้แก่พี่สาวนามว่า หยก และตัวท่านนามว่า กู่

ต่อมาท่านหยก ได้สมรสกับนายทองดี (ต่อมาคือ สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนก) บุตรคนโตของพระยาราชนิกูล (ทองคำ) ภายหลังการประสูติของพระราชโอรสพระองค์เล็กสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท พระอัครชายา ได้ทรงประชวรและเสด็จสวรรคต สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกจึงได้เสกสมรสใหม่กับ กู่ พระน้องนางของพระอัครชายา เหตุการณ์นี้ปรากฏในปฐมวงศ์ พระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า[1]

"...สมเด็จพระไปยิกาพระองค์ใหญ่นั้น ได้มีพระเอารส พระธิดา ๕ พระองค์แล้ว ก็สิ้นพระชนม์ล่วงไปโดยนัยที่กล่าวมาแล้ว แต่เมื่อสิ้นพระชนม์นั้น พระชนมายุเท่าไรไม่ทราบถนัด พระไปยิกาพระองค์น้อย ได้รับปรนิบัติสมเด็จพระบรมมหาไปยกาธิบดีบดี ในที่นั้นต่อมาได้ประสูตรพระธิดาพระองค์หนึ่งแล้ว จะสิ้นพระชนม์เมื่อใดก็หาได้ความเปนแน่ไม่..."

สมเด็จพระปฐมบรมมหาชนกกับเจ้าจอมมารดากู่ มีพระราชธิดาด้วยกัน 1 พระองค์คือ

  1. พระองค์เจ้าหญิงกุ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสถาปนาพระอัฐิเป็น กรมหลวงนรินทรเทวี

นามของท่านนั้นปรากฏตามเอกสารเดิมที่อยู่ในจังหวัดอุทัยธานีว่า กู่ แต่หลักฐานอื่น ๆ มักจะเรียกขานท่านเพียงแต่ว่า พระน้องนางของพระอัครชายา โดยมิได้ออกนาม[4]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมมารดาหม่อมราชวงศ์แข ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมเอิบ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมนรินทร์