ประวัติ ของ เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่_ในรัชกาลที่_1

เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ เป็นธิดาของเจ้าพระยาสุธรรมมนตรี (พัฒน์ ณ นคร) และท่านผู้หญิงนวล สุธรรมมนตรี (ทูลกระหม่อมหญิงใหญ่เมืองนคร[1]) บิดามีฐานะเป็นหม่อมเจ้าในกรมหมื่นอินทรพิทักษ์พระราชโอรสในสมเด็จพระที่นั่งสุริยาศน์อมรินทร์รัชกาลที่ 33 แห่งกรุงศรีอยุธยา[2] มารดาเดิมมีนามว่าเจ้าหญิงชุ่ม เป็นธิดาพระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) กับท่านผู้หญิงทองเหนี่ยว[3] มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 2 คน ได้แก่

  1. เจ้าจอมมารดานุ้ยใหญ่ รับราชการเป็นพระสนมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
  2. เจ้าจอมมารดานุ้ยเล็ก รับราชการเป็นพระสนมในสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาท

ท่านเกิดในพระราชวังบวรเมืองนครศรีธรรมราชในระหว่างที่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่า เมืองนครศรีธรรมราชตั้งตนเป็นอิสระ พระเจ้านครศรีธรรมราช (หนู) ตั้งตนขึ้นเป็นกษัตริย์ และได้แต่งตั้งพระมหาอุปราช (พัฒน์) เป็นวังหน้า เรียกกันว่า "วังหน้าเมืองนคร"[4] ช่วงที่ท่านเกิดท่านจึงมีสถานะเป็นเจ้า ต่อมาหลังสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีทรงยึดเมืองนครศรีธรรมราชได้ก็ทรงโปรดให้เป็นประเทศราช

พระมหาอุปราช (พัฒน์) นั้นคราวหนึ่งไปราชการทัพ คุณชุ่มหรือนวลถึงแก่กรรมลง ธิดาทั้งสองจึงเป็นกำพร้า ครั้นเสร็จราชการสงครามแล้ว อุปราชพัฒน์เข้ามาเฝ้าเมื่อ พ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีตรัสปลอบว่า "อย่าเสียใจนักเลย จะให้น้องสาวไปแทนที่จะได้เลี้ยงลูก" จึงพระบรมราชโองการให้ท้าวนางส่งตัวเจ้าจอมปรางไปพระราชทานเป็นภรรยาเจ้าพัฒน์ ท้าวนางกราบบังคมทูลว่า เจ้าจอมปรางขาดระดูมา 2 เดือนแล้ว มีพระราชดำรัสว่า "ได้ลั่นวาจายกให้แล้ว จงส่งตัวออกไปเถิด" เจ้าจอมปรางจำใจไปตามพระบรมราชโองการ และเจ้าพัฒน์ก็จำใจรับไว้เป็นศรีเมืองนครศรีธรรมราช เจ้าจอมปรางก็เลี้ยงดูธิดาทั้ง 2 ด้วยความทะนุถนอม[5]

ใกล้เคียง

เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมนรินทร์ เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4