การทำงาน ของ เจ้าจันทร์คำ_บุรีรัตน์

กิจการไม้สัก

หลังจากพระยาบุรีรัตน์ถึงแก่อนิจกรรม คุณหญิงเจ้าจันทร์คำได้รับสัมปทานการทำไม้สัก ที่ห้วยเปี้ย ห้วยขมิ้น ห้วยผาคำ ในนครแพร่ นานราว 40 ปี โดยได้จัดสรรปันส่วนให้ลูกหลานทุกคน รับผิดชอบดำเนินการตามกำลังและฐานะของแต่ละคน ในขณะที่คุณหญิงเป็นผู้ลงทุน จัดหาพาหนะและอาหารเลี้ยงคนงานให้

คุณหญิงเจ้าจันทร์คำ มีบทบาทในด้านการส่งเสริมเมืองแพร่ให้เจริญก้าวหน้าหลายอย่าง เช่น ด้านเศรษฐกิจ ได้สร้างตึก/ห้องแถวไม้ให้เช่าทำการค้าทั้งบริเวณประตูชัย อำเภอเมืองและที่อำเภอเด่นชัย สร้างตลาดสด และโรงหนัง ขึ้นที่บริเวณประตูชัย ซึ่งนับเป็นตลาดสดและโรงหนังแห่งแรกของเมืองแพร่ (ภายหลังตลาดสดแห่งนี้ได้เปลี่ยนเป็นของเทศบาลเมืองแพร่ เทศบาลได้รื้อสร้างใหม่และขยายบริเวณให้กว้างขวางกว่าเดิม) ทำให้ย่านประตูชัยกลายเป็นย่านการค้าสำคัญมาจนปัจจุบัน และนำความเจริญทางเศรษฐกิจมาสู่เมืองแพร่เป็นอันมาก

กิจการสาธารณะ

  • ด้านการศึกษา คุณหญิงเจ้าจันทร์คำได้บริจาคที่ดินส่วนหนึ่งให้แก่โรงเรียนนารีรัตน์จังหวัดแพร่ (ปัจจุบันคือที่ตั้งหอประชุมและสนามบาสเก็ตบอลของโรงเรียน) และบริจาคเงินช่วยสร้างอาคารเรียนหลังแรกของโรงเรียน
  • ด้านการศาสนา คุณหญิงเจ้าจันทร์คำเป็นโยมอุปัฏฐากวัดพระบาทมิ่งเมืองวรวิหาร และเป็นประธานฝ่ายคฤหัสถ์ในการบูรณะและก่อสร้างวิหารหลังใหม่จนเกือบเสร็จสมบูรณ์ เมื่อครั้งเกิดน้ำท่วมใหญ่ พ.ศ. 2472

คุณหญิงเจ้าจันทร์คำเป็นผู้ยึดมั่นในพุทธศาสนา ทำบุญตักบาตรทุกเช้ามิได้ขาด และในช่วงงานประเพณีขึ้นพระธาตุช่อแฮในเดือน 6 เหนือ ซึ่งเป็นประเพณียิ่งใหญ่ของชาวแพร่ คุณหญิงเจ้าจันทร์คำพร้อมด้วยลูกหลานบริวาร จะพากันไปทำอาหารเลี้ยงพระในตอนเช้า แล้วฟังเทศน์ ฟังสวดในเวลากลางคืน

ใกล้เคียง

เจ้าจอมแว่น ในรัชกาลที่ 1 เจ้าจอมหม่อมราชวงศ์สดับ ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจักรคำขจรศักดิ์ เจ้าจอมนรินทร์ เจ้าจอมมารดาเที่ยง ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาทับทิม ในรัชกาลที่ 5 เจ้าจอมก๊กออ เจ้าจอมมารดาจีน เจ้าจอมมารดากลิ่น ในรัชกาลที่ 4 เจ้าจอมมารดาชุ่ม ในรัชกาลที่ 4