เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย
เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย

เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย

บทความนี้ใช้ระบบคริสต์ศักราช เพราะอ้างอิงคริสต์ศักราชและคริสต์ศตวรรษ หรืออย่างใดอย่างหนึ่งเจ้าชายฟร็องซัว-เออแฌนแห่งซาวอย ฝรั่งเศส: François-Eugène de Savoie) หรือ เจ้าชายออยเกินแห่งซาวอย (เยอรมัน: Eugen von Savoyen)[1]) เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยเป็นแม่ทัพผู้มีชื่อเสียงและมีสมรรถภาพที่สุดคนหนึ่งในประวัติศาสตรยุโรป เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยประสูติที่กรุงปารีส จากพระบิดามารดาที่เป็นเจ้าซาวอย เจ้าชายเออแฌนเจริญพระชันษาขึ้นมาในราชสำนักฝรั่งเศสของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 เดิมพระองค์มีพระประสงค์จะดำเนินอาชีพเป็นนักบวชแต่เมื่อมีพระชนม์ได้ 19 ก็หันไปสนใจกับอาชีพการเป็นทหาร เมื่อถูกปฏิเสธโดยพระเจ้าหลุยส์ที่ 14 จากการเข้ารับราชการในกองทัพฝรั่งเศส เจ้าชายเออแฌนก็ทรงย้ายไปออสเตรียและหันไปสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์ฮาพส์บวร์คเจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอยรับราชการอยู่หกสิบปีภายใต้จักรพรรดิฮาพส์บวร์คสามพระองค์ – จักรพรรดิเลโอโพลด์ที่ 1, จักรพรรดิโยเซฟที่ 1 และ จักรพรรดิคาร์ลที่ 6สงครามครั้งแรกที่เจ้าชายเออแฌนทรงมีส่วนร่วมคือการสงครามต่อต้านการล้อมกรุงเวียนนาของออตโตมันเติร์กในยุทธการเวียนนาใน ค.ศ. 1683 และต่อมาสงครามสันนิบาตศักดิ์สิทธิ์ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของมหาสงครามตุรกี ก่อนที่จะเข้าร่วมในสงครามเก้าปีพร้อมกับลูกพี่ลูกน้องวิคเตอร์ อมาเดอุสที่ 2 ดยุกแห่งซาวอย แต่ชื่อเสียงของเจ้าชายเออแฌนมามั่นคงเมื่อได้รับชัยชนะอย่างเด็ดขาดต่อออตโตมันในยุทธการเซนทาในปี ค.ศ. 1697 จากนั้นก็มีชื่อเสียงเพิ่มขึ้นระหว่างสงครามสืบราชบัลลังก์สเปนเมื่อไปทำการเป็นพันธมิตรกับจอห์น เชอร์ชิล ดยุกแห่งมาร์ลบะระ ที่ได้รับชัยชนะต่อฝรั่งเศสในยุทธการเบล็นไฮม์, ยุทธการอูเดอนาร์ด และ ยุทธการมาลพลาเคต์ จากนั้นก็ไปได้รับความสำเร็จในฐานะแม่ทัพของกองทัพของพระจักรพรรดิทางตอนเหนือของอิตาลี โดยเฉพาะในยุทธการตูรินในปี ค.ศ. 1706 เมื่อความขัดแย้งกับจักรวรรดิออตโตมันเริ่มขึ้นอีกครั้งในสงครามออสเตรีย-ตุรกี ค.ศ. 1716-1718 เจ้าชายเออแฌนก็ทรงสามารถปราบปรามข้าศึกศัตรูได้ในยุทธการเปโตรวาราดิน และ ยุทธการเบลเกรดตลอดคริสต์ทศวรรษ 1720 อิทธิพลและความสามารถทางการทูตของของเจ้าชายเออแฌนก็สามารถสร้างความมั่นคงให้แก่จักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ในปัญญาขัดแย้งต่างๆ ที่เกี่ยวกับการสืบราชบัลลังก์ แต่ในบั้นปลายของชีวิตความเหนื่อยร้าและสุขภาพทางจิตที่เปราะบางทำให้พระองค์ไม่ทรงประสบความสำเร็จในฐานะผู้บังคับบัญชาทหารสูงสุดในการพยายามยุติสงครามสืบราชบัลลังก์โปแลนด์ได้ แต่กระนั้นในออสเตรีย ชื่อเสียงของเจ้าชายเออแฌนก็ไม่มีผู้ใดเทียมได้ ความเห็นเกี่ยวกับบุคลิกของเจ้าชายเออแฌนอาจจะแตกต่างกันไป แต่ก็ไม่มีผู้ใดที่จะค้านความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงป้องกันจักรวรรดิฮาพส์บวร์คจากถูกกลืนไปเป็นของฝรั่งเศส และทรงหยุดยั้งการรุกรานมาทางตะวันตกของจักรวรรดิออตโตมัน และปลดปล่อยยุโรปกลางจากการยึดครองของออตโตมันที่ดำเนินมาเป็นเวลาร้อยห้าสิบปี นอกจากนั้นเจ้าชายเออแฌนก็ยังทรงเป็นผู้อุปถัมภ์ศิลปะคนสำคัญ เจ้าชายเออแฌนสิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 21 เมษายน ค.ศ. 1736 เมื่อมีพระชนมายุได้ 72 พรรษา

เจ้าชายเออแฌนแห่งซาวอย

ใกล้เคียง

เจ้าชายวิลเลียม เจ้าชายแห่งเวลส์ เจ้าชายฟิลิป ดยุกแห่งเอดินบะระ เจ้าชายอับดุล มาตีนแห่งบรูไน เจ้าชายฟูมิฮิโตะ อากิชิโนะโนะมิยะ เจ้าชายจอร์จแห่งเวลส์ เจ้าชายคริสเตียน มกุฎราชกุมารแห่งเดนมาร์ก เจ้าชายฮุซัยน์ มกุฎราชกุมารแห่งจอร์แดน เจ้าชายแฮร์รี ดยุกแห่งซัสเซกซ์ เจ้าชายฮิซาฮิโตะแห่งอากิชิโนะ เจ้าชายอับดุล อาซิมแห่งบรูไน