ประวัติ ของ เจ้านรนันทไชยชวลิต

เจ้านรนันทไชยชวลิต มีนามเดิมว่าเจ้าน้อยธนัญไชย เป็นเจ้าโอรสในเจ้าวรญาณรังษีกับเจ้าสุวันไล ต่อมาในวันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2418 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงตั้งเป็นเจ้าราชสัมพันธวงศ์เมืองนครลำปาง[3] ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงได้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าอุปราชเมืองนครลำปางตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2428[4]

ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2435 เจ้าอุปราชได้ฟ้องทางการสยามว่าเจ้าพรหมาภิพงษธาดา (บางตำราว่าเป็น เจ้าสุริยะจางวาง)[2] เจ้านครลำปางขณะนั้น ให้เจ้าราชวงษ์ (แก้วเมืองมา) ว่าราชการแทนโดยพลการ ไม่ได้ขอพระบรมราชานุญาตก่อน และเจ้าราชวงษ์นั้นก็ไม่มีความสามารถในทางราชการเพียงพอ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระดำริว่าเจ้าอุปราชซื่อสัตย์ต่อสยาม และสามารถว่าราชการให้เรียบร้อยได้[5] จึงมีพระบรมราชโองการเมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2435 ให้ยกเจ้าพรหมาภิพงษธาดาเป็นเจ้าจางวาง และให้เจ้าอุปราชรับพระราชทานสัญญาบัตรตั้งเป็น เจ้านรนันทไชยชวลิต สามันตวิชิตประเทศราช บริสัษยนารถทิพจักราธิวงษ์ ดำรงโยนวิสัย อภัยรัษฎารักษ์ อุดมศักดิ์สัตยาทิวรางค์ ลำปางคมหานคราธิปไตย เจ้าเมืองนครลำปาง สืบแทน[6]

เจ้านรนันทไชยชวลิตถึงแก่พิราลัยเมื่อวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2438 ด้วยโรคหืดเรื้อรัง[7]

ใกล้เคียง

เจ้านายฝ่ายเหนือ เจ้านางยอดแก้ว (ก่องมะณี รามางกูร) เจ้านครรัฐผู้คัดเลือก เจ้านรนันทไชยชวลิต เจ้านายอ้าย เจ้านางทิพย์ธิดา เจ้านโรดม สีหนุ เจ้านโรดม สีหมุนี เจ้านายพระชันษายืนในพระราชวงศ์จักรี เจ้าน้อยสุริยะ ณ เชียงใหม่