พระนามในจารึกท้องถิ่นและเอกสารประวัติศาสตร์ ของ เจ้าพระประทุมวรราชสุริยวงศ์_(เจ้าคำผง_ณ_อุบล)

ในจารึกพระเจ้าอินแปง

ในจารึกศิลาพระเจ้าอินแปง รูปทรงใบเสมา ด้านที่ 1 อักษรธรรมลาวหรืออักษรธัมม์อีสาน พุทธศักราช 2350 ภาษาลาว มี 24 บรรทัด ขนาดจารึกกว้าง 60 เซนติเมตร สูง 59 เซนติเมตร หนา 19 เซนติเมตร ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ว่า

"...ฯะ จุลศักราชได้ ๑๔๙ ตัว ปีเมิงมด เจ้าพระปทุมได้มาตั้งเมิงอุบลได้ ๒๓ ปี ฯะ สังกราษได้ ๑๔๒ ตัว ปีกดสง้า จึงเถิงอนิจกรรม ล่วงไปด้วยลำดับปีเดินหั้นแล ฯะ สังกราษได้ ๑๕๔ ตัว ปีเต่าสัน พระพรหมวรราชสุริยวงศ์ ได้ขึน้ เสวียเมิงอุบล ได้ ๑๕ ปี สังกราษ (ได้) ๑๖๗ ตัว ปีรวงเล้า จึงมาได้สร้างวิหารอารามในวัดป่าหลวงมณีโช (ติ) ศรีสวัสสัสดีเพื่อให้เป็นที่สำราญแก่ (พระ) พุทธรูปเจ้า สังกราษได้ร้อย ๖๙ ตัว ปีเมิงเม้า มหาราชครูศรีสัทธรรมวงศา พาลูกศิษย์สร้าง (พระ) พุทธรูปดิน (แ) ลอิฐ ชทาย ใส่วัด ล่วงเดิน ๕ เพ็ง วัน ๑ มื้อ รวงไก๊ ฤกษ์ ๑๔ ลูกชื่อว่า จิตตะ อยู่ในรษีกันย์ เบิกแล้ว ยามแถใกล้ค่ำ จึงได้ชื่อว่า พระเจ้าอินแปง..."

ในจดหมายเหตุ ร.๑

ในจดหมายเหตุ ร.1 จ.ศ. 1154 เลขที่ 2 สมุดไทยดำ เรื่องตั้งให้พระประทุม เป็นพระประทุมวรราชสุริยวงษ เมืองอุบลราชธานี ได้ปรากฏพระนามของพระองค์ ดังนี้

"...ด้วย พระบาทสมเดจ์พระพุทธิเจ้าอยหัวผู้พานพิภพกรุงเทพพระมหาณครศรีอยุทธยา มีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ตั้งให้พระประทุม เปนพระประทุมววราชสุริยวงษ ครองเมืองอุบลราชธานีศรีวนาไลประเทษราช เศกให้ ณ วัน ๒ ๑๑ ฯ  ๘ ค่ำ จุลศักราช ๑๑๕๔ ปีชวด จัตวาศก..."

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)