ประวัติ ของ เจ้าพระยาชำนาญบริรักษ์_(อู่)

พระราชพงศาวดาร ฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ระบุว่า เมื่อสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศปราดาภิเษกในปี พ.ศ. 2276 ได้ตั้งขุนชำนาญเป็นเจ้าพระยาชำนาญภักดี ว่าที่โกษาธิบดี[2] ภริยาชื่อท่านผู้หญิงน้อย

พระราชพงศาวดาร ฉบับสมเด็จพระพนรัตน์ วัดพระเชตุพน ฉบับตัวเขียน ระบุว่าเจ้าพระยาชำนาญฯ ป่วยเป็นลมอัมพาตอยู่ 4 เดือนเศษจึงถึงแก่อสัญกรรม ได้รับพระราชทานโกศ แต่งศพใส่เครื่องและชฎา[ก]อย่างเจ้าต่างกรมและให้เรียกศพว่าพระศพเป็นกรณีพิเศษ โปรดให้ทำพระเมรุ ณ วัดไชยวัฒนาราม เสด็จฯ ไปพระราชทานเพลิงพระศพ แล้วโปรดตั้งพระยาพิพัทธโกษาซึ่งเป็นบุตรเขยเจ้าพระยาชำนาญฯ เป็นพระยาพระคลัง[3]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)