เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี_(ทองดี)

เจ้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี) ต้นสกุลธรรมสโรช นามเดิมว่า ทองดี เป็นข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โดยชั้นเดิมมีบรรดาศักดิ์เป็นจมื่นศรีสรรักษ์ แล้วเลื่อนขึ้นเป็นพระยาพิพัฒโกษาและได้รับประราชทานโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นเจ้าพระยาธรรมากร เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวังคนที่ ๒ ในรัชกาลที่ ๑[1][2] (ยุคกรุงรัตนโกสินทร์ ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๕ เสนาบดีจตุสดมภ์กรมวัง มีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกร ต่อมาเมื่อมีการปฏิรูปการปกครองเป็นกระทรวงวังแล้ว เสนาบดีกระทรวงวัง จึงมีบรรดาศักดิ์ เป็น เจ้าพระยาธรรมาธิกรณธิดี (หนังสือประวัติสำนักพระราชวัง พิมพ์ครั้งที่ ๓ สำนักพระราชวัง กรกฎาคม ๒๕๔๓) ซึ่งปัจจุบันหลายคนสับสนเกี่ยวชื่อบรรศักดิ์นี้ เจ้าพระยาธรรมาธิกร (ทองดี ธรรมสโรช) ผู้นี้ปรากฏตามคำบอกเล่าของบรรพบุรุษสืบๆกันมาว่า เป็นบุตรของเจ้าพระยาอภัยราชา ที่เรียกกันว่า เจ้าคุณประตูจีน ครั้งกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยาอภัยราชาผู้นี้ตามความในราชพงศาวดาร เดิมเป็นเจ้าพระยาสุภาวดี บ้านอยู่ประตูจีน แล้วได้เลื่อนเป็นเจ้าพระยาอภัยราชา ตำแหน่งสมุห พระกลาโหม ในตอนปลายแผ่นดินสมเด็จพระบรมราชาธิราชที๓ พระเจ้าบรมโกฎฐ์ (จ.ศ.๑๑๑๗) พร้อมกันกับพระยาธรรมไตรโลก บ้านคลองแกลบ ได้รับแต่งตั้งขึ้นเป็นเจ้าพระยามหาเสนาธิบดีศรีสมุห พระกลาโหม (เจ้าพระยากลาโหม คลองแกลบ) เจ้าพระยาอภัยราชา (เจ้าคุณประตูจีน) มีบุตรชายคนโตคือพระสำราญองค์(ต้นสกุลสโรบล) เป็นข้าราชการในสมัยรัชกาลที่๑ พระสำราญองค์มีบุตรคือพระยาศรีสุริยะพาหะ(สระ) ข้าราชการในรัชกาลที่๒ พระยาศรีพาหะ มีบุตรคือพระยามณเฑียรบาล (บัว) เป็นพระพี่เลี้ยงของ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว ท่านผู้นี้เป็นคุณตาของคุณจอมมารดาเลี่ยม (เล็ก) ผู้เป็นคุณจอมมารดาของพระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจำรัส 'นามสกุล ธรรมสโรช นี้ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระรามาธิบดี ศรีสินทรวชิราวุธ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ พระราชทานแก่ นายพลตรีพระวิบุลอายุรเวท (เสข ธรรมโรช) แต่ครั้งยังเป็นนายพันตรี หลวงศักดาพลรักษ์ ผู้รั้งผู้อำนวยการโรงพยาบาลทหารบกกลาง ว่า “ธรรมสโรช” (Dharmasaroja) ซึ่งท่านผู้นี้เป็นบุตรของหลวงเทวะวงศวโรปการ (เสน) อันเป็นบุตรของจมื่นสรสิทธิราช (จุ้ย) กับท่านไม้จีนบุตรของท่านคล้าย(ข้าหลวงเดิมในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยรัชกาลที่ ๒) ทางมารดาของพระยาวิบุลอายุรเวทคือท่านศิลาเป็นบุตรีของท่านทันและเป็นหลานตา ของพระยาอุทัยธรรม (นุด) ผู้เป็นบุตรของเจ้าฟ้าชายนเรนทรราชกุมารหรือพระนเรนทรราชา' (ต้นสกุลรุ่งไพโรจน์) ซึ่งเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๑๘ ของสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชและเป็นพระราชโอรสองค์ที่ ๓ ในกรมบริจาภั่กดีศรีสุดารักษ์ (เจ้าหญิงฉิม) ซึงเป็นพระราชธิดาของเจ้าพระยานครศรีธรรมราช(ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๑๙ เป็นลำดับที่ ๑๔๙๗ เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๕๗)ในเวลาก่อนหน้าที่พระยาวิบุลอายุรเวทจะได้รับนามสกุลพระราชทานก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่๖ ว่าสกุล “รัตนทัศนีย” (Ratnadasniya) คือพระยามหิมานุภาพ (เป๋า รัตนทัศนีย์) กรมพระตำรวจในซ้าย บิดาคือพระยาณรงค์วิไชย (ทัศ) ผู้เป็นต้นสกุลรัตนทัศนีย ปู่คือพระยาเพชรพิไชย (เอี่ยม ธรรมสโรช) ซึ่งเป็นพี่ชายของท่านคล้ายและพระยาราชงคราม (อินทร์)และท่านพลับ(หญิง) (ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๑๑ เป็นลำดัที่ ๗๓๕ เมื่อวันที่ ๑๙ มกราคม ๒๔๕๖)ในเวลาใกล้เคียงกันกับที่พระยาวิบุลอายุรเวทได้รับพระราชทานนามสกุล ก็ได้มีผู้สืบสายโลหิตโดยตรงในสกุลอีกผู้หนึ่งได้รับพระราชทานนามสกุลจากรัชกาลที่ ๖ ว่าสกุล “อินทรวิมล” (Indravimala) คือ นายร้อยโท นายศุขแพทย์ ผู้บังคับหมวดพยาบาล โรงเรียนนายร้อยชั้นปฐม บิดาชื่อนายเผื่อน ปู่คือพระยาราชสงคราม(อินทร์) ผู้เป็นต้นตระกูล อินทรวิมล ซึ่งแยกออกไปจากสกุลธรรมสโรช(ประกาศพระราชทานนามสกุลครั้งที่ ๑๙ เป็นลำดัที่ ๑๕๓๘ เมื่อวันที่ ๒๑ กรกฎาคม ๒๔๕๗)มหาสาขาที่ ๒ พระสำราญหฤทัย (อ้าว ธรรมสโรช) ภรรยาคือท่านท้าวทรงกันดาลสี คือมหาสาขาที่ ๓ พระยาอิศรานุภาพ (อ้น) ชั้นที่ ๓มหาสาขาที่ ๑สาขาที่ ๑ พระยาเพ็ชรพิไชย (เอี่ยม ธรรมสโรช) ภรรยาคือคุณเสม (พระยาเพ็ชรพิไชย เป็นแม่ทัพอีกทัพหนึ่งที่นำทัพไปสนับสนุนเจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ ซึ่งภรรยาของเจ้าพระยาบดินทรเดชาคือท่านผู้หญิงเพ็งก็เป็นธิดาของพระพิพิธสาลี (สังข์) เช่นกัน)สาขาที่ ๒ พระยาอิศราณุภาพ (คล้าย ธรรมสโรช) ภรรยาคือคุณทับทิม ธิดาของพระพิพิธสาลี(สังข์)สาขาที่ ๓ พระยาราชสงคราม (อินทร์) ภรรยาคือ…..มีบุตรธิดาคือสาขาที่๔ นางพลับสามีคือ นายเสือหรือขาว บุตรธิดาใช้นามสกุล ธรรมสโรช

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)