การเดินทางสู่กรุงศรีอยุธยา ของ เจ้าพระยาบวรราชนายก_(เฉกอะหมัด)

ในยุคสมัยที่ท่านเฉกอะหมัดเดินทางเข้ามากรุงศรีอยุธยานั้น เป็นยุคที่โปรตุเกสเรืองอำนาจทางทะเลในแถบมหาสมุทรอินเดีย ทำให้พ่อค้าชาวพื้นเมืองต้องใช้เส้นทางขนส่งสินค้าทางบกเป็นช่วงๆ เส้นทางที่เป็นไปได้ในการเดินทางจากอิหร่านเข้าสู่กรุงศรีอยุธยาในสมัยนั้น คือเดินเท้าจากเมืองแอสตะราบาดเข้าสู่แคว้นคุชราตในอินเดียตะวันตก จากนั้น เดินเท้าตัดข้ามประเทศอินเดียมายังฝั่งตะวันออกทางด้านโจฬมณฑล จากนั้นลงเรือข้ามอ่าวเบงกอลและทะเลอันดามันมายังเมืองตะนาวศรีหรือเมืองมะริด แล้วจึงเข้าสู่กรุงศรีอยุธยา

ปลายแผ่นดินสมเด็จพระนเรศวรมหาราช เฉกอะหมัดและมหฺหมัดสะอิด (محمد سعيد) พร้อมบริวารได้เข้ามายังกรุงศรีอยุธยา ตั้งบ้านเรือนและห้างร้านค้าขาย อยู่ที่ตำบลท่ากายี ท่านค้าขายจนกระทั่งมีฐานะเป็นเศรษฐีใหญ่ในกรุงศรีอยุธยา ภายหลังมหฺหมัดสะอิดได้เดินทางกลับเปอร์เซีย ท่านสมรสกับท่านเชย มีบุตร 2 คนและธิดา 1 คน ได้แก่

  1. เป็นชายชื่อ ชื่น ซึ่งต่อมาคือ เจ้าพระยาอภัยราชา (ชื่น) สมุหนายก ในแผ่นดินพระเจ้าปราสาททอง
  2. เป็นชายชื่อ ชม ถึงแก่กรรมแต่เมื่อยังเป็นหนุ่ม
  3. เป็นหญิงชื่อ ชี เป็นสนมเอกในสมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ภายหลังแต่งงานกับพระยาศรีเนาวรัตน์ (อากามะหะหมัด آقا محمد) บุตรของมหฺหมัดสะอิด

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)