รับราชการ ของ เจ้าพระยาพระคลัง_(หน)

มีหลักฐานระบุได้ว่าท่านได้รับราชการมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรี มีบรรดาศักดิ์เป็น หลวงสรวิชิต ตำแหน่งนายด่านเมืองอุทัยธานี ครั้นเมื่อถึงปลายรัชกาล ที่เหตุระส่ำระสายเกิดจลาจลในพระนคร ท่านได้ลอบส่งคนนำหนังสือแจ้งเหตุภายในพระนครไปถวายสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก (ภายหลังคือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) ซึ่งกำลังยกกองทัพไปตีเขมร[ต้องการอ้างอิง]

หลวงสรวิชิต (ในเวลานั้น) ออกไปรับสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกถึงทุ่งแสนแสบ แล้วบอกข้าราชการต่าง ๆ จากนั้นสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกได้เข้ามาปราบเหตุจลาจลในพระนคร แล้วทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชสมบัติ เป็นปฐมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี[ต้องการอ้างอิง]

เมื่อเหตุการณ์ในพระนครสงบเรียบร้อย พระเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ท่านเป็นพระยาพิพัฒโกษา และในที่สุดเมื่อตำแหน่งเจ้าพระยาพระคลังว่างลง ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาพระคลัง เป็นเสนาบดีจตุสดมภ์กรมท่า มีหน้าที่ควบคุมบังคับบัญชากิจการทางหัวเมืองชายทะเลทั้งหมด[ต้องการอ้างอิง]

เจ้าพระยาพระคลังท่านนี้นอกจากมีความสามารถในเชิงบริหารกิจการบ้านเมือง และเป็นนักรบแล้ว ยังมีความสามารถในเชิงอักษรศาสตร์เป็นที่ยกย่องว่าเป็นกวีฝีปากเอก มีสำนวนโวหารไพเราะ ทั้งร้อยกรองหลากหลายชนิด และสำนวนร้อยแก้วที่มีสำนวนโวหารไพเราะไม่แพ้กัน

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)