เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี_(ท้วม_บุนนาค)
เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี_(ท้วม_บุนนาค)

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี_(ท้วม_บุนนาค)

เจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี (ท้วม บุนนาค) เกิดเมื่อปี พ.ศ. 2373 ในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นบุตรสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยูรวงศ์ (ดิศ) กับหม่อมพึ่ง ธิดาเจ้าพระยาพลเทพ (บุญนาก บ้านแม่ลา) เข้ารับราชการในรัชกาลที่ 4 เป็นนายไชยขรรค์ หุ้มแพรมหาดเล็ก แล้วเป็นจมื่นทิพรักษา และจมื่นราชามาตย์ ปลัดกรมพระตำรวจในซ้าย ตามลำดับ จนในปี พ.ศ. 2400 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้คณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรี ณ ประเทศอังกฤษ ซึ่งครั้งนั้นมีพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) เป็นราชทูตนั้น จมื่นราชามาตย์ (ท้วม บุนนาค) ได้ทำหน้าที่เป็นผู้กำกับเครื่องราชบรรณาการ ที่จะนำไปถวายสมเด็จพระราชินีนาถวิกตอเรีย เมื่อกลับมา โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์ขึ้นเป็นพระเพชรพิไสยศรีสวัสดิ์ ปลัดเมืองเพชรบุรี ท่านเป็นแม่กองคุมการก่อสร้างพระนครคีรี ที่เขาวัง จังหวัดเพชรบุรี สร้างสะพานช้างข้ามแม่น้ำเพชรบุรี สร้างถนนจากเขาวังไปเขาหลวง และถนนราชวิถี เป็นต้นเมื่อพระยามนตรีสุริยวงศ์ (ชุ่ม บุนนาค) ที่สมุหพระกลาโหมฝ่ายเหนือถึงอนิจกรรมลง รัชกาลที่ 4 โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนบรรดาศักดิ์พระเพชรพิไสยฯ เป็นพระยาเทพประชุน ตำแหน่งปลัดทูลฉลองกรมกลาโหม แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ออกไปราชการเรื่องสายโทรเลข ที่เมืองสิงคโปร์และเมืองภูเก็ต เมื่อกลับเข้ามาพระนคร ในปี พ.ศ. 2411 โปรดเกล้าฯ ให้เป็นแม่กองการทำพลับพลาค่ายหลวงที่ว่าการแขวงเมืองประจวบคีรีขันธ์ เพื่อเสด็จประทับทอดพระเนตรสุริยุปราคาเต็มดวง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จขึ้นครองราชย์ ท่านทำหน้าที่กราบทูลพระกรุณามอบถวายสรรพสิ่งซึ่งเป็นเครื่องประดับพระบรมราชอิสริยยศ และราชสมบัติทั้งปวงตามพระราชประเพณีแทน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) ผู้สำเร็จราชการแผ่นดินในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 5 ต่อมา พ.ศ. 2412 ได้เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี ตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลัง และกรมท่า ทั้งว่าการต่างประเทศด้วย และในปี พ.ศ. 2416 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างเครื่องราชอิสริยาภรณ์ปฐมจุลจอมเกล้า ชุดนี้ขึ้นและได้รับพระราชทานให้แก่เสนาบดีชั้นเจ้าพระยาเป็นครั้งแรกเจ้าพระยาภาณุวงศ์มหาโกษาธิบดี เป็นเสนาบดีคนแรกของกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2418 หลังจากมีประกาศพระราชบัญญัติตั้งกระทรวงพระคลังมหาสมบัติขึ้น แยกราชการฝ่ายการคลังออกจากกระทรวงการต่างประเทศ ต่อมากราบถวายบังคมลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีว่า การต่างประเทศ เนื่องจากมีโรคภัยเบียดเบียน ท่านถึงอสัญกรรมเนื่องจากอัมพาต เมื่อวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 เวลา 12.35 น. สิริอายุได้ 83 ปี ต่อมาเวลา 17.00 น. วันเดียวกัน พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินไปยังบ้านของเจ้าพระยาภาณุวงศ์เพื่อพระราชทานน้ำอาบศพ [1]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)