ประวัติ ของ เจ้าพระยามหาโยธา_(ทอเรียะ_คชเสนี)

เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นผู้มีความสามารถหลายด้าน ทั้งในด้านฝีมือในการรบ การทูต การใช้ภาษา เมื่อครั้งยุคล่าอาณานิคมอังฤษยึดอินเดียได้ และได้เริ่มทำสงครามกับพม่าจึงกระทบถึงความมั่นคงของไทย รัชกาลที่ 3 โปรดฯให้ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) นำทัพไปช่วยอังกฤษรบและเจรจาทางด้านการทูต ด้วยความสามารถและชาติกำเนิดทำให้ เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นที่เคารพนับถึอของชาวมอญ เช่น เมื่อครั้งที่ท่านยกทัพเข้าไปในพม่าทางด่านเจดีย์สามองค์ เจ้าเมืองขะเมิงและเจ้าเมืองทราซี่งเป็นเจ้าเมืองมอญ ได้จัดกองทัพเข้าสมทบกว่า 3,000 คน เมื่อเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ยกกองทัพเข้าไปตั้งอยู่ที่เมืองเตริน (อัตรัน) ซึ่งเป็นเมืองมอญที่บิดาท่านเคยปกครอง บรรดาเจ้าเมืองมอญทั้งหลายก็เข้าอ่อนน้อมทำให้การศึกเป็นไปโดยง่าย ภายหลังเมื่ออังกฤษมีชัยต่อพม่า อังกฤษมีความคิดที่จะตั้งรามัญประเทศขึ้นใหม่ อังกฤษจึงได้มาทาบทามและเกลี้ยกล่อม เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ไปเป็นกษัตริย์รามัญประเทศที่จะตั้งขึ้น[1] เนื่องด้วยเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เป็นที่นิยมในหมู่ชาวมอญและมีบิดาเป็นพระภาติยะ (หลานลุง) ในกษัตริย์มอญองค์สุดท้าย แต่เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) ตอบปฏิเสธด้วยมีความจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ไทย อังกฤษจึงเลิกล้มความตั้งใจ[2]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)