ประวัติ ของ เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง_(เพ็ง_เพ็ญกุล)

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง มีนามเดิมว่า วันเพ็ญ เพราะเกิดในวันเพ็ญเดือน 6 ปีมะเส็ง เวลายามหนึ่ง ตรงกับวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2364[1] ภายหลังเรียกเพียงโดยย่อว่าเพ็ง เป็นบุตรของหลวงจินดาพิจิตร (ด้วง) เพ็งมีพี่น้องอีกสี่คน ตนเองเป็นคนสุดท้อง ได้เป็นศิษย์ร่วมสำนักกับเจ้าฟ้ามงกุฎที่อารามสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ขุน) ต่อมาเจ้าฟ้ามงกุฎทรงขอรับไปเลี้ยงและทรงออกนามว่า "พ่อเพ็ง" ครั้นเสด็จทรงราชย์เป็นพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว โปรดให้เพ็งเป็นหัวหมื่นมหาดเล็กที่ตำแหน่งเจ้าหมื่นสรรเพธภักดี

ต่อมาภายหลังทำสนธิสัญญาเบาว์ริงแล้ว พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้มีคณะทูตไปเจริญสัมพันธไมตรียังสหราชอาณาจักร เจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นอุปทูต เมื่อกลับคืนมายังกรุงเทพมหานครแล้ว จึงโปรดเลื่อนเจ้าหมื่นสรรเพธภักดีเป็นพระบุรุษรัตนราชวัลลภ ในคราวที่พระองค์ประชวรใกล้จะสิ้นนั้น พระบุรุษรัตนราชวัลลภก็ได้เฝ้าดูพระราชหฤทัยด้วย

ครั้นพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสวยราชย์เป็นรัชกาลถัดมา ก็โปรดให้พระบุรุษรัตนราชวัลลภเป็นสมุหพระสุรัสวดีที่บรรดาศักดิ์พระยาราชสุภาวดี และในวันที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2417 ก็รับสถาปนาเป็นเจ้าพระยามหินทรศักดิธำรง สกูลวงศ์อรเอกดิเรกยศ มธุรพจนสุนทรธรรมยุติยานุวัติ บุรุษรัตนทุวาธิราชนิกรวรยุคลบาท บรมนาถสวามิภักดิสนิท วิสิฐคุณศรีรัตนธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ มีสถานะเทียบเท่าสมุหนายก แต่ว่าการกรมพระสุรัสวดีอย่างเดิม

เจ้าพระยามหินทรศักดิ์ธำรง ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2437[1] ได้รับพระราชทานเพลิงศพเมื่อวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2438 ณ วัดเทพศิรินทราวาส ราชวรวิหาร[2]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)