ประวัติ ของ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์_(หม่อมราชวงศ์สท้าน_สนิทวงศ์)

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เป็นโอรสในพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ กับหม่อมเขียน สนิทวงศ์ ณ อยุธยา (ศศิสมิต)[4] พระบิดาเรียกท่านว่า "กลาง"[5]

หม่อมราชวงศ์สท้าน ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ให้ไปศึกษาวิชาทหารบกที่ประเทศเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. 2425 เป็นเวลา 11 ปี เดินทางกลับประเทศไทยเมื่อ อายุ 27 ปี และเข้ารับราชการจนได้เป็นผู้บังคับการโรงเรียนนายร้อยทหารบก กระทั่งวันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2440 จึงได้เลื่อนยศทางทหารเป็น ร้อยเอก[6]เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2442 ได้รับพระราชทานสัญญาบัตรเป็น หม่อมราชินิกุลมีนามว่าร้อยเอก หม่อมชาติเดชอุดม ถือศักดินา 800[7] จากนั้นในวันรุ่งขึ้นคือวันที่ 24 พฤศจิกายน หม่อมชาติเดชอุดมได้รับพระราชทานยศทางทหารเป็น พันตรี[8] ต่อมาในวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2444 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันโท[9]กระทั่งวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 ได้เลื่อนยศทางทหารเป็น พันเอก[10]และได้รับพระราชทานยศเป็น พลตรี เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2447[11]ต่อมาได้จัดตั้งโรงเรียนเสนาธิการทหาร[3] ต่อมาได้เลื่อนเป็น พระยาวงษานุประพัทธ์ ถือศักดินา ๑๐,๐๐๐ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2452[12]และในวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2452 โปรดเกล้าให้ดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ[13] โดยก่อนหน้านั้นในวันที่ 13 พฤษภาคม พ.ศ. 2452 ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ พลโท[14]หม่อมชาติเดชอุดม มารับตำแหน่งรองเสนาบดีกระทรวงเกษตราธิการ [15]

ปี พ.ศ. 2454 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เลื่อนบรรดาศักดิ์เป็นเจ้าพระยา มีสมญาจารึกในสุพรรณบัฏว่า เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ รัตนพลเทพ สรรพพลเสพเสนาบดี โรปนวิธีบำรุง ผดุงธัญพืชผลาหาร พานิชการพัฒนกร สโมสรสกลยุทธศาสตร์ มหาอมาตย์ศักดิอดุลย์ พิรุณเทพมุรธาธร สรรพกิจจานุสรสวัสดิ์ วิบุลยปริวัตรเกษตราธิบดี สุนมนตรีพงษ์สนิท เมตจิตรอาชวาธยาไศรย รัตนไตรยสรณธาดา อภัยพิริยบรากรมพาหุ ดำรงศักดินา 10,000[16] ต่อมาดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงโยธาธิการ (กระทรวงคมนาคมในปัจจุบัน) และได้รับพระราชทานยศ พลเอก เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2462[17]

ต่อมาภายหลังการปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้รวมกระทรวงเกษตราธิการกับกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมเป็นกระทรวงเดียวกัน เรียกว่ากระทรวงเกษตรพาณิชยการ แล้วให้เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์เป็นเสนาบดี[18]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์และท้าววนิดาพิจาริณี (บาง สนิทวงศ์ ณ อยุธยา) เป็นผู้เลี้ยงดูสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ในระหว่าง พ.ศ. 2475 - พ.ศ. 2477 เมื่อหม่อมหลวงบัว กิติยากร ต้องติดตามหม่อมเจ้านักขัตรมงคล กิติยากร ไปปฏิบัติราชการ ตำแหน่งเลขานุการเอก ณ สถานเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. สหรัฐอเมริกา [19]

เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ เป็นผู้ร่วมก่อตั้งโรงเรียนสายปัญญา โดยเมื่อพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าสายสนิทวงศ์ สิ้นพระชนม์ ท่านเป็นต้นคิดในหมู่ทายาท ให้นำวังของพระบิดา มาก่อตั้งเป็นสถานศึกษาสำหรับสตรี โดยได้รับพระราชทานนามโรงเรียนจาก พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อ พ.ศ. 2459

เจ้าพระยาวงศานุประพัทธ์ ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2483 ด้วยไข้มาลาเรีย เบาหวาน และโรคหัวใจ[20] สิริอายุ 74 ปี

ใกล้เคียง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)

แหล่งที่มา

WikiPedia: เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์_(หม่อมราชวงศ์สท้าน_สนิทวงศ์) http://www.sf.ac.th/honour/honour.htm http://thainews.prd.go.th/rachinephp/queen4.html http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2440/36... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2442/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2443/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2444/03... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2446/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2447/00...