เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช

เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช เป็นชื่อตำแหน่งของเจ้าเมืองสุโขทัยและเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชในพระไอยการเก่าตำแหน่งนาหัวเมืองฉบับอยุธยา ต้นฉบับเดิมของหอพระสมุดวชิรญาณ ระบุบรรดาศักดิ์และทินนามเจ้าเมืองสุโขทัยตามทำเนียบคือ "เจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช ชาติภักดีบดินทรสุรินทรฤๅไชย อภัยพิริยบรมกรมพาหุ เจ้าเมืองศุโขทัย เมืองโท นา 10000 ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย"[1] และในจารึกฐานพระอิศวรเมืองกำแพงเพชรก็ได้กล่าวว่าเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชได้ประดิษฐานเทวรูปพระอิศวรในเมืองกำแพงเพชร ซึ่งสันนิษฐานว่าควรเป็นตำแหน่งของเจ้าเมืองสุโขทัย ต่อมาทินนามศรีธรรมโศกราชได้เพี้ยนเป็นศรีธรรมศุกราช ดังที่พระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมือง ฉบับพิมพ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และการเมืองซึ่งชำระในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ระบุว่า "ออกญาศรีธรรมศุกราชชาติบดินทรสุรินทรฤๅไชยอภัยพิรียภาหุ เจ้าเมืองศุกโขไท เมืองโท นา 10000 ขึ้นประแดงจุลาเทพซ้าย"[2]ส่วนตำแหน่งเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราชของเมืองนครศรีธรรมราช เดิมในพระไอยการตำแหน่งนาทหารหัวเมืองระบุบรรดาศักดิ์และทินนามเจ้าเมืองนครศรีธรรมราชตามทำเนียบคือ "เจ้าพญาศรีธรรมราชชาติเดโชไชยมไหยสุริยาธิบดีอภัยพิรียบรากรมภาหุ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองเอก นา 10000 ขึ้นประแดงอินปัญาซ้าย"[3] สันนิษฐานว่าต่อมาได้เปลี่ยนทินนามจากศรีธรรมราชเป็นศรีธรรมาโศกราชในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ตามที่ระบุทินนามเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชในเรื่องตั้งเจ้าพระยานครศรีธรรมราชครั้งกรุงเก่า[4] สันนิษฐานว่าอาจจะแปลงให้สอดคล้องกับพระนามผู้ปกครองเมืองนครศรีธรรมราชในสมัยโบราณ และอาจเป็นเพราะทินนามศรีธรรมราชซ้ำกับทินนามประจำตำแหน่งเสนาบดีกรมพระคลังคือ "ออกพญาศรีธรรมราชเดชะชาติอำมาตยานุชิตพิพิทรัตนราชโกษาธิบดีอะภัยรีพิริยะกรมภาหุ" จึงแปลงใหม่ไม่ให้สับสน และในพระไอยการตำแหน่งนาเมืองนครศรีธรรมราช จ.ศ. 1173 ระบุว่าเคยมีพระยาสุโขทัยออกมาเป็นเจ้าพระยานครศรีธรรมราชในสมัยอยุธยา สันนิษฐานว่าครั้งนั้นทินนามเจ้าเมืองสุโขทัยอาจจะถูกนำมาใช้กับเมืองนครศรีธรรมราชก็เป็นได้[ต้องการอ้างอิง]สันนิษฐานว่าขุนอินทรเทพที่ร่วมก่อการโค่นล้มขุนวรวงศาธิราช และได้รับตำแหน่งเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราช ควรเป็นเจ้าเมืองสุโขทัยมากกว่านครศรีธรรมราช เพราะผู้ร่วมก่อการส่วนใหญ่มีพื้นเพมาจากเมืองเหนือ จึงมีแนวโน้มสูงว่าขุนอินทรเทพจะมีพื้นเพมาจากเมืองเหนือเช่นเดียวกับผู้ก่อการคนอื่น ซึ่งพงศาวดารที่ชำระในยุคหลังๆ ระบุว่าเป็นเจ้าเมืองนครศรีธรรมราช เพราะเมืองนครศรีธรรมราชในยุคหลังได้ใช้ทินนามเจ้าพระยาศรีธรรมโศกราชแล้ว[ต้องการอ้างอิง]

ใกล้เคียง

เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล)