เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์_(วร_บุนนาค)
เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์_(วร_บุนนาค)

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์_(วร_บุนนาค)

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ นามเดิม วร สกุลบุนนาค (2 กรกฎาคม พ.ศ. 2371[1] - พ.ศ. 2431) มีนามเดิมว่า วร หรือ วอน เป็นบุตรชายคนโตของสมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) กับท่านผู้หญิงกลิ่น ธิดาหลวงแก้วอายัติ (จาด) [2]ท่านเริ่มรับราชการตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เป็นเจ้าหมื่นไวยวรนารถ หัวหมื่นมหาดเล็ก และเป็นอุปทูตติดตามพระยาศรีพิพัฒน์ (แพ บุนนาค) ราชทูต ออกไปเจริญทางพระราชไมตรีที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ในปี พ.ศ. 2403 ต่อมาท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ จางวางมหาดเล็ก และเป็นราชทูต ไปฝรั่งเศสอีกครั้งใน พ.ศ. 2409ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้เลื่อนพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ เป็นเจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์ ที่สมุหพระกลาโหม ศักดินา 10,000 เมื่อ พ.ศ. 2412 ท่านดำรงตำแหน่งสมุหพระกลาโหม เป็นเวลา 19 ปี จนถึงแก่อสัญกรรมเมื่อ พ.ศ. 2431 บุคคลทั่วไปออกนามเรียกเป็นการสามัญว่า “เจ้าคุณทหาร” หรือ “เจ้าคุณกลาโหม” และชื่อเรียกนี้ก็กลายมาเป็นชื่อของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในเวลาต่อมาเจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์มีบุตรธิดารวมทั้งสิ้น 65 คน โดยบุตรธิดาที่รับราชการในตำแหน่งสำคัญ[2] เช่น

เจ้าพระยาสุรวงษ์ไวยวัฒน์_(วร_บุนนาค)

ใกล้เคียง

เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี (สนั่น เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เจ้าพระยาพิษณุโลก (เรือง โรจนกุล) เจ้าพระยารามราฆพ (หม่อมหลวงเฟื้อ พึ่งบุญ) เจ้าพระยาศรีธรรมาธิเบศ (จิตร ณ สงขลา) เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สท้าน สนิทวงศ์) เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม) เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล)