การทำงาน ของ เจ้าราชบุตร_(หมอกฟ้า_ณ_น่าน)

เมื่อเจ้าราชบุตรยังดำรงอิสริยยศเป็นเจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน ในปี พ.ศ. 2445 เกิดจลาจลเงี้ยวที่จังหวัดแพร่ ทางราชการจัดให้เป็นหัวหน้ากองตรวจ รักษาชายเขตแดนจังหวัดน่าน ในปีต่อมาได้รับราชการเป็นรองเสนาวังจังหวัดน่าน ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 เจ้าน้อยหมอก ได้บริจาคทรัพย์สินจำนวน 300 บาท เพื่อสร้างสะพานให้ประชาชนสัญจรไปมา[2] กระทั่งในปี พ.ศ. 2454 ถึงปี พ.ศ. 2459 เจ้าราชบุตร ได้เป็นหัวหน้าควบคุมคนหาบคานและสัตว์พาหนะไปรับเงินของรัฐบาลที่คลังจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดลำปาง และจังหวัดแพร่ มาไว้ที่คลังจังหวัดน่าน และในปี พ.ศ. 2458 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เจ้าน้อยหมอกฟ้า ณ น่าน ดำรงอิสริยยศเป็น "เจ้าประพันธ์พงศ์" และได้เลื่อนเป็น "เจ้าราชบุตร" ในปี พ.ศ. 2468

ต่อมาในปี พ.ศ. 2469 ได้ไปรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ในคราวเสด็จประพาศมณฑลพายัพ ที่นครเชียงใหม่

เจ้าราชบุตร ได้เข้าร่วมในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรในฐานะผู้สืบสายตรงในเจ้าผู้ครองนครน่าน เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2493พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย พระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายความจงรักภักดีต่อพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งเป็นธรรมเนียมปฏิบัติของเจ้านายประเทศราชที่สืบกันมา [3]

ใกล้เคียง

เจ้าราชบุตร (วงศ์ตวัน ณ เชียงใหม่) เจ้าระวีพันธุ์ สุจริตกุล เจ้าราชวงศ์ (เลาแก้ว ณ เชียงใหม่) เจ้าราชบุตร (หมอกฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพวน ณ ลำปาง) เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าราชดนัย (ยอดฟ้า ณ น่าน) เจ้าราชบุตร (น้อยดาวแก้ว ณ ลำพูน) เจ้าราชบุตร (โย้)