บทบาทในการสนับสนุนการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนครลำปาง ของ เจ้าศรีนวล_ณ_ลำปาง

เมื่อเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2465 เจ้าศรีนวล ได้มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) ได้รับแต่งตั้งให้รั้งนครลำปาง (หมายถึงการรักษาการในตำแหน่งเจ้าหลวง) เนื่องจากเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ไม่มีราชโอรสกับราชเทวี มีเพียงโอรสกับเทวีองค์อื่นๆ ซึ่งโดยหลักการแล้วการแต่งตั้งเจ้าผู้ครองนคร สมควรจะแต่งตั้งจากเจ้าขันห้าใบ ที่ดำรงฐานันดรชั้นสูงกว่า กล่าวคือ สมควรจะแต่งตั้งเจ้าราชวงศ์ (แก้วปราบเมรุ ณ ลำปาง) แต่ในครั้งนั้นเจ้าศรีนวล ได้มีหนังสือไปยังราชสำนักกรุงเทพ ความตอนหนึ่งว่า

หากข้าเจ้าถือกำเนิดมาเป๋นจาย ศักดิ์และสิทธิ์ทุกอย่างจะตกเป็นของข้าเจ้าโดยชอบธรรมและข้าเจ้าขอใช้สิทธิ์การเป็นบุตรีเพียงคนเดียวในป้อเจ้าบุญวาทย์ฯ หื้อเจ้าราชบุตรแก้วเมืองพรวนผู้เป็นสามี เป็นผู้สืบทอดอำนาจจากป้อเจ้าแทน— เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง

ส่งผลให้ราชสำนักกรุงเทพ จึงต้องแต่งตั้งให้เจ้าราชบุตร (แก้วเมืองพรวน ณ ลำปาง) รั้งตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครลำปาง สืบแทนเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต แม้ว่าจะมีฐานะเป็นเพียงบุตรเขยก็ตาม

ภายหลังการถึงแก่พิราลัยของเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิต ในปี พ.ศ. 2465 แล้ว เจ้าศรีนวล กับสวามีในฐานะเจ้าผู้ครองนครลำปาง ก็หาได้มีฐานะอันมั่งคั่งร่ำรวยแต่ดังก่อน ดังปรากฏในความตอนหนึ่งที่พระศรสุรราช (เปลื้อง ศาสตระรุจิ) กราบทูลอภิรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2468 ว่าเจ้าราชบุตร ในฐานผู้จัดการมรดกจำนวนประมาณ 11 แสนบาทเศษ ได้ใช้สอยหมดเปลืองไปในทางสุรุ่ยสุร่าย คงเหลือไม่เกินกว่าร้อยละ 30[1] และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าดิศวรกุมาร กรมพระยาดำรงราชานุภาพ ได้มีหนังสือกราบทูลสมเด็จพระเจ้าพี่ยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงลพบุรีราเมศร์ กล่าวถึงเจ้าราชบุตร และเจ้าศรีนวล ว่าถึงกับสิ้นเนื้อประดาตัว มีแต่หนี้สินรุงรัง เป็นอันสิ้นหวังที่จะใช้เงินมรดกปลงศพเจ้าบุญวาทย์วงศ์มานิตได้[2]

ใกล้เคียง

เจ้าศรีอโนชา เจ้าศรีรัตน์ ณ ลำปาง เจ้าศิริมา ณ เชียงใหม่ เจ้าศิริประกาย ณ เชียงใหม่ เจ้าศรีนวล ณ ลำปาง เจ้าศรีพรหมา เจ้าศรีสวัสดิ์ สิริมตะ เจ้าศรีโสภา เจ้าคุณพระประยุรวงศ์ เจ้าคุณพระสินีนาฏ พิลาสกัลยาณี