เจ้าหลวงคำแดง

เจ้าหลวงคำแดง เป็นตำนานและเรื่องเล่า รวมถึงการประกอบพิธีกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทยวน ไทลื้อ และไทใหญ่ ฯลฯ แพร่หลายอยู่ในหลายจังหวัดทางภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย รวมถึงชาวไทลื้อในสิบสองปันนา ชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ชาวไทใหญ่ในดินแดนอาหม และชาวไทน้อยในลาว เป็นต้นในแต่ละท้องที่เรียกชื่อแตกต่างกันไป เช่น ชาวไทยวนและชาวลัวะ เรียก สุวัณณะคำแดง (สุวรรณคำแดง) ชาวไทยวนแถบวัดพระนั่งดิน จังหวัดพะเยา เรียก พระญาคำแดง ชาวไทยวน อำเภอเทิง จังหวัดเชียงราย เรียก เจ้าพ่อคำแดง ชาวไทยวน อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา เรียก เจ้าหม่อมคำแดง และ ขุนคำแดง ชาวไทลื้อ บ้านแพด อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา เรียก เจ้า (พ่อ) พญาคำแดง[1]ปรากฏเป็นฉบับลายลักษณ์ ตัวอย่างเช่น ตำนานโบราณนิทานปถมเหตุการตั้งเชียงใหม่, ตำนานเชียงใหม่ปางเดิม และ ตำนานสุวรรณคำแดง หรือ ตำนานเสาอินทขีล เนื้อหาหลักระบุว่าเจ้าหลวงคำแดง เป็นบุคคลในยุคก่อนสมัยประวัติศาสตร์มีฐานะเป็นปฐมกษัตริย์ผู้สร้างเมืองล้านนา ยังกล่าวถึงอดีตชาติที่เกิดเป็นพระยาหมูชื่ออุตรจุนทะ จากนั้นเกิดมาเป็นบุตรพระยาโจรณีชื่อ สุวัณณะคำแดงราชบุตร พระวิสสุกรรมได้เนรมิตรกายเป็นกวางทองให้สุวัณณะคำแดงไปตามจับ เป็นเหตุให้ได้พบนางอินเหลาที่ดอยอ่างสรง จากนั้นเหล่าเสนาอำมาตย์ไปพบสระบัวและสร้างเมืองล้านนาขึ้นในบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำปิง เจ้าหลวงคำแดงเป็นกษัตริย์องค์แรกของเมืองล้านนา ต่อมาปลายชีวิตได้สละสมบัติไปอยู่ถ้ำเชียงดาวกับนางอินเหลา

ใกล้เคียง

เจ้าหญิงแอนน์ พระราชกุมารี เจ้าหญิงไอโกะ โทชิโนะมิยะ เจ้าหญิงดิสนีย์ เจ้าหญิงจิตวิญญาณแห่งพงไพร เจ้าหญิงอัตสึ (ละครโทรทัศน์) เจ้าหญิงเฟาซียะห์แห่งอียิปต์ เจ้าหญิงยูริโกะ พระชายาในเจ้าชายทากาฮิโตะ เจ้าหญิงวิกตอเรีย มกุฎราชกุมารีแห่งสวีเดน เจ้าหญิงชาร์ลอตต์แห่งเวลส์ (ค.ศ. 1796–1817) เจ้าหญิงคาโกะแห่งอากิชิโนะ