กรณียกิจ ของ เจ้าอริยวงษ์

  • พ.ศ. 2303 พระเจ้ามังลอกกษัตริย์พม่าได้ส่งอภัยคามินีเป็นแม่ทัพยกมาตีเมืองเชียงใหม่ และหัวเมืองอื่น ๆ เจ้าอริยวงศ์ เจ้าเมืองน่านต้องยอมอ่อนน้อมต่อพม่า เมื่อพม่าปราบปรามหัวเมืองล้านนาได้ราบคาบแล้ว จึงได้แต่งตั้งให้อภัยคามินีเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่[11]
  • พ.ศ. 2306 พระเจ้ามังระได้ครองราชย์เมืองอังวะ บรรดาท้าวพญาในหัวเมืองล้านนาได้กำลังสนับสนุน จากเมืองหลวงพระบางพากันแข็งเมือง พระเจ้ามังระให้เนเมียวสีหบดีเป็นแม่ทัพนำกำลังร่วมกับกองทัพของอภัยคามินี เจ้าเมืองเชียงใหม่ยกไปปราบปราม
  • พ.ศ. 2310 พม่ายกกองทัพไปตีกรุงศรีอยุธยา ได้มอบหมายให้อภัยคามินีระดมไพร่พลจาก หัวเมืองล้านนาเข้าร่วมศึกครั้งนี้ด้วย เจ้าอริยวงศ์ได้มอบหมายให้ เจ้านายอ้ายผู้เป็นนัดดา(หลาน)คุมกำลังจากเมืองน่านไปสมทบกับกองทัพพม่าด้วย
  • พ.ศ. 2311 ฮ่อยกกำลัง 90,000 คนไปตีเมืองอังวะ พระเจ้ามังระให้เจ้าอ้ายยกกำลังจากเมืองน่านไปช่วยรบจนฮ่อแตกกลับไป

ใกล้เคียง

เจ้าอนุวงศ์ เจ้าอินทวโรรสสุริยวงษ์ เจ้าอนันตวรฤทธิเดช เจ้าอุบลวรรณา เจ้าอาวาส เจ้าอุตรการโกศล (ศุขเกษม ณ เชียงใหม่) เจ้าอินทยงยศโชติ เจ้าอุปราช (สิทธิสาร ณ น่าน) เจ้าอุปราช (บุญทวงษ์) เจ้าอินทนนท์ ณ เชียงใหม่