ขั้นตอนดำเนินงานจัดรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ของ เฉลิมไทยอวอร์ด

  • การกำหนดสาขารางวัล

เฉลิมไทยอวอร์ด ได้พยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลงสาขารางวัลตามความเหมาะสมและเพื่อแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นจากการจัดรางวัลในปีที่ผ่าน ๆ มา จนได้สาขารางวัลด้านภาพยนตร์ที่เป็นมาตรฐานใกล้เคียงกับสาขาที่แบ่งโดยสถาบันจัดรางวัลซึ่งมีผู้ทรงวุฒิตัดสิน โดยตั้งแต่เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 6 ในปี พ.ศ. 2552 เป็นต้นมา เฉลิมไทยอวอร์ด จัดรางวัลเพื่อผลงานภาพยนตร์ตามสาขามาตรฐาน จำนวน 25 สาขา ดังนี้

สาขารางวัลด้านภาพยนตร์ของเฉลิมไทยอวอร์ดในปัจจุบันตั้งแต่ พ.ศ. 2552

  1. สาขาภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  2. สาขาภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  3. สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ต่างประเทศ)
  4. สาขางานกำกับภาพยนตร์แห่งปี (สำหรับภาพยนตร์ไทย)
  5. สาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  6. สาขานักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  7. สาขานักแสดงชายในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  8. สาขานักแสดงหญิงในบทนำจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  9. สาขานักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  10. สาขานักแสดงชายในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  11. สาขานักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  12. สาขานักแสดงหญิงในบทสมทบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  13. สาขาบทภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  14. สาขาบทภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  15. สาขาภาพยนตร์แอนิเมชันแห่งปี
  16. สาขาภาพยนตร์ฉายจำกัดโรงแห่งปี
  17. สาขาภาพยนตร์นอกรอบแห่งปี
  18. สาขาการกำกับภาพในภาพยนตร์แห่งปี
  19. การลำดับภาพในภาพยนตร์แห่งปี
  20. สาขางานศิลป์ในภาพยนตร์แห่งปี (กำกับศิลป์/เครื่องแต่งกาย/แต่งหน้า)
  21. สาขางานเสียงในภาพยนตร์แห่งปี (บันทึกเสียง/ตัดต่อเสียง)
  22. สาขาดนตรีประกอบภาพยนตร์แห่งปี
  23. สาขาเพลงประกอบจากภาพยนตร์ต่างประเทศแห่งปี
  24. สาขาเพลงประกอบจากภาพยนตร์ไทยแห่งปี
  25. สาขาเทคนิคพิเศษทางภาพแห่งปี

  1. Motion Picture of the Year (For Foreign Film)
  2. Motion Picture of the Year (for Thai Film)
  3. Achievement of the Year in Directing (for Foreign Film)
  4. Achievement of the Year in Directing (for Thai Film)
  5. Actor in Leading Role of the Year (from Foreign Film)
  6. Actress in Leading Role of the Year (from Foreign Film)
  7. Actor in Leading Role of the Year (from Thai Film)
  8. Actress in Leading Role of the Year (from Thai Film)
  9. Actor in Supporting Role of the Year (from Foreign Film)
  10. Actor in Supporting Role of the Year (from Thai Film)
  11. Actress in Supporting Role of the Year (from Foreign Film)
  12. Actress in Supporting Role of the Year (from Thai Film)
  13. Achievement of the Year in Screenwriting (for Foreign Film)
  14. Achievement of the Year in Screenwriting (for Thai Film)
  15. Animated Feature of the Year
  16. Limited Release Film of the Year
  17. The SAFF Award
  18. Achievement of the Year in Cinematography
  19. Achievement of the Year in Film Editing
  20. Achievement of the Year in Art Production
  21. Achievement of the Year in Sound
  22. Achievement of the Year in Music Written for Motion Picture (Score)
  23. Song from Foreign Film of the Year
  24. Song from Thai Film of the Year
  25. Achievement of the Year in Visual Effects

อนึ่ง ได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่อสาขาจาก "รางวัลยอดเยี่ยม" เป็น "รางวัลแห่งปี" ตั้งแต่การจัดรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 3 เมื่อปี พ.ศ. 2549 เนื่องจากมีข้อเรียกร้องจากสมาชิกเว็บไซต์พันทิปจำนวนหนึ่ง ว่าผลรางวัลที่ปรากฏออกมาไม่ได้แสดงถึงความยอดเยี่ยมอย่างแท้จริง เพราะผู้ลงคะแนนเสียงมีความหลากหลายด้านความรู้เกี่ยวกับภาพยนตร์ ส่วนใหญ่มิใช่ผู้เชี่ยวชาญซึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับศิลปะภาพยนตร์โดยตรง มิอาจเทียบเคียงกับรางวัลที่จัดโดยสถาบันซึ่งมีผู้ทรงคุณวุฒิตัดสินได้ ดังนั้น ทางคณะกรรมการฯ จึงเห็นควรให้ใช้คำว่า "รางวัลแห่งปี" แทนคำว่า "รางวัลยอดเยี่ยม" ซึ่งเป็นลักษณะของรางวัลจากมหาชน มาโดยตลอด

รายละเอียดของการเปลี่ยนแปลง ดูเพิ่มเติมในเนื้อหาของการจัดรางวัลในแต่ละปี

ตารางสรุปพัฒนาการความเปลี่ยนแปลงของเฉลิมไทยอวอร์ด ในสาขาเทคนิคทางการภาพยนตร์ ตั้งแต่เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 1 (พ.ศ. 2546) ถึงครั้งที่ 6 (พ.ศ. 2551)

* การเสนอชื่อเข้าชิง (Balloting for Nominations)

แต่เดิมการเสนอชื่อเข้าชิง ใช้วิธีให้ผู้มีสิทธิ์ออกเสียงคือสมาชิกเว็บไซต์พันทิป คัดเลือกรายชื่อแต่ละสาขาตามดุลยพินิจส่วนตัว แล้วเสนอชื่อต่อคณะกรรมการฯ โดยตรงจำนวน 5 รายชื่อ/สาขา ผ่านการส่งรายชื่อทางอีเมลล์ไปยังอีเมลล์กลางตามที่คณะกรรมการฯ ในปีนั้น ๆ ตั้งขึ้น ภายในระยะเวลาที่กำหนดให้เสนอชื่อ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนมกราคม - ต้นเดือนกุมภาพันธ์ เมื่อแล้วเสร็จ คณะกรรมการฯ จึงรวบรวมคะแนน เพื่อให้ได้รายชื่อผู้เข้าชิง 5 ชื่อสุดท้ายของทุกสาขา (บางสาขาอาจมี 3 รายชื่อ) ก่อนประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงผ่านหน้าเว็บไซต์ของพันทิป โต๊ะเฉลิมไทยต่อไป

ภายหลังการจัดรางวัลไปแล้ว 5 ครั้ง พบปัญหาเกี่ยวกับความลักลั่นของผู้เข้าชิงบางสาขา ซึ่งเกิดจากความเข้าใจที่ไม่ตรงกันของสมาชิกผู้มีสิทธิ์ออกเสียง จึงทำให้เกิดร่างรายชื่อผู้มีสิทธิ์ (Eligible lists) ของแต่ละสาขาขึ้นก่อนการเสนอชื่อเข้าชิง โดย eligible lists ที่มีตั้งแต่การจัดเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 6 นั้น พบว่าทำให้การเสนอชื่อเข้าชิงเป็นไปโดยราบรื่น และได้รับความร่วมมือจากสมาชิกผู้มีสิทธิ์ออกเสียงมากขึ้น

และล่าสุด มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 7 คือ การนำระบบลงคะแนนแบบเรียงลำดับ (preferential voting) มาใช้แทนการลงคะแนนแบบหนึ่งเสียงต่อหนึ่งผู้มีสิทธิ์ (one-man-one-vote) เนื่องจากเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีตามวิธีของสถาบันศิลปวิทยาการภาพยนตร์แห่งสหรัฐอเมริกา (Academy of Motion Picture Arts and Sciences: AMPAS) [2][3] ซึ่งเชื่อว่าจะช่วยลดอคติของการโหวตได้มากกว่าการต้องเลือกผู้เข้าชิงเพียงหนึ่งชื่อต่อหนึ่งสาขา

  • การลงคะแนนเพื่อตัดสินผู้ชนะ (Final Balloting for Winner) [4][5]

เมื่อประกาศรายชื่อผู้เข้าชิงแล้ว ทางคณะกรรมการฯ จะกำหนดให้ผู้มีสิทธิ์ลงคะแนน (อาจหมายถึงสมาชิกเว็บไซต์พันทิปทุกคน หรือเฉพาะสมาชิกที่ลงชื่อไว้) ส่งรายชื่อมาโดยวิธีที่กำหนดในแต่ละปี ภายในเวลาที่กำหนดให้ลงคะแนนซึ่งจะอยู่ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์

- เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 1 - 4 เป็นการลงคะแนนทางแบบฟอร์มโหวตของทางพันทิป ซึ่งจะไม่ปิดบังผลเมื่อเสร็จสิ้นการลงคะแนน

- เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เป็นการลงคะแนนทางแบบฟอร์มโหวตที่สร้างขึ้นเองภายนอก ทำให้สามารถปิดบังผลคะแนนได้ระดับหนึ่ง

- เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 6 เป็นการลงคะแนนทางแบบฟอร์มโหวตของทางพันทิป ที่ดัดแปลงให้ปิดบังผลคะแนนได้ระดับหนึ่ง

- เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 7 เปลี่ยนระบบลงคะแนนจากระบบ one-man-one-vote เป็นระบบ preferential voting ลักษณะเดียวกับการลงคะแนนเสนอชื่อเข้าชิง จึงต้องใช้การส่งรายชื่อทางอีเมลล์ ทำให้ผลคะแนนเป็นความลับ

โล่รางวัล "เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5" ปี พ.ศ. 2551
  • การประกาศผลรางวัลและพิธีมอบรางวัล

หลังเสร็จสิ้นการลงคะแนนประมาณ 1 สัปดาห์ เฉลิมไทยอวอร์ดจะประกาศผลรางวัลผ่านหน้าเว็บไซต์พันทิป ประมาณปลายเดือนกุมภาพันธ์ ถึงต้นเดือนมีนาคม โดยลักษณะของกระทู้ประกาศจะมีพิธีกร ผู้ประกาศรางวัล และรูปแบบการประกาศเลียนแบบจากการประกาศรางวัลซึ่งจัดขึ้นจริง

และตั้งแต่การจัดรางวัลเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เป็นต้นมา มีการจัดทำโล่รางวัลเฉลิมไทยอวอร์ดขึ้นเป็นรูปธรรม เพื่อมอบให้ผู้ได้รับรางวัลซึ่งเป็นคนไทย จากจุดนั้นทำให้เฉลิมไทยอวอร์ดมีความสำคัญและบทบาทมากขึ้น ในฐานะรางวัลด้านภาพยนตร์จากการลงคะแนนของมหาชนรางวัลหนึ่ง

รายละเอียดเกี่ยวกับโล่รางวัล ดูเพิ่มเติมในเนื้อหาของเฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5

ใกล้เคียง

เฉลิม อยู่บำรุง เฉลิมพล ทิฆัมพรธีรวงศ์ เฉลิมพล มาลาคำ เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 5 เฉลิมพล ศรีสวัสดิ์ เฉลิมชัย สิทธิสาท เฉลิมชัย ศรีอ่อน เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร เฉลิมชัย โฆษิตพิพัฒน์ เฉลิมไทยอวอร์ด ครั้งที่ 3