เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์

เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์ (อังกฤษ: Chiang Mai Creative City) เป็นการริเริ่มเพื่อพัฒนาจังหวัดเชียงใหม่ให้เป็นเมืองสร้างสรรค์[1] ซึ่งหมายถึง เมืองที่ซึ่งวัฒนธรรมและกิจกรรมสร้างสรรค์ผสมผสานเข้าด้วยกันเป็นส่วนหนึ่งของเศรษฐกิจและสังคมของเมืองนั้น[2] สำหรับที่ผ่านมา เมืองอื่นซึ่งเคยนำนโยบายดังกล่าวไปปฏิบัติได้แสดงให้เห็นแล้วว่าเมืองเหล่านั้นประสบความสำเร็จมากกว่า (ในการบรรลุเป้าหมายด้านการพัฒนา) เมืองที่ไม่ได้นำยุทธศาสตร์ดังกล่าวไปใช้[3]การริเริ่มครอบคลุมไม่เพียงเฉพาะกลุ่มธุรกิจสร้างสรรค์เท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงการพัฒนาเมือง การศึกษา การวิจัยและพัฒนา และนวัตกรรม ตลอดจนการร่วมมือ ผู้มีส่วนร่วมบางส่วนได้เน้นความสำคัญในภาคไอที ซอฟต์แวร์ และส่วนดิจิตอล เนื่องจากเป็นส่วนที่มีการเติบโตอย่างสำคัญ และเป็นตัวเปิดทางให้แก่ภาคอื่น ยิ่งไปกว่านั้น ภาคไอทีนี้ยังมีศักยภาพสูงในการก่อให้เกิดการถ่ายทอดเทคโนโลยี สร้างมูลค่าเพิ่ม และดึงดูดการลงทุนเพิ่มเติมสำหรับภาคสำคัญที่มีอยู่แล้ว อย่างเช่น การท่องเที่ยว (เช่น การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และการท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์) หัตถกรรม (เครื่องประดับ เครื่องเงิน เซลาดอน เครื่องปั้นดินเผา และสิ่งทอ) อาหาร อุตสาหกรรมการเกษตร และการสาธารณสุข ยังเป็นหนึ่งในเป้าหมาย และสามารถยกระดับขึ้นโดยใช้การออกแบบ กระบวนการ ไอที นวัตกรรมบนเทคโนโลยี และการคิดสร้างสรรค์ได้ เมื่อวันที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2560 เมืองเชียงใหม่ได้รับประกาศเป็นเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ขององค์การยูเนสโก สาขาหัตถกรรมและศิลปะพื้นบ้าน[4]

เชียงใหม่เมืองสร้างสรรค์

อุตสาหกรรม ดิจิตอลไอที, การพัฒนาซอฟต์แวร์การออกแบบ, งานฝีมือ, อุตสาหกรรมความคิดสร้างสรรค์
พื้นที่ที่ให้บริการ จังหวัดเชียงใหม่
เว็บไซต์ www.creativechiangmai.com
ประเภท องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร
ที่ตั้ง เชียงใหม่ ประเทศไทย
บุคลากรหลัก ผศ. ณัฐ วรยศ (ประธาน)
มาร์ติน เวนซกี-สตัลลิง (ที่ปรึกษา)
ธัญญานุภาพ อานันทนะ(เลขานุการ)
ก่อตั้ง พ.ศ. 2553
บริการ ข้อมูลนักลงทุน, ข้อมูลด้านการพัฒนาท้องถิ่น

ใกล้เคียง