พัฒนาการ ของ เซลล์พีระมิด

การเปลี่ยนสภาพให้แตกต่างเพื่อทำหน้าที่เฉพาะ

การกำหนด (specification) เป็นเซลล์พีระมิด เกิดขึ้นในพัฒนาการระยะต้น ๆ ของสมองใหญ่โดยเซลล์บรรพบุรุษ (progenitor cell) จะเปลี่ยนสถานะเป็น committed ว่าจะเป็นสายเซลล์ประสาทภายใน subcortical proliferative ventricular zone (VZ) และใน subventricular zone (SVZ)เซลล์พีระมิดที่ยังไม่เจริญเต็มที่จะย้ายไปอยู่ที่แผ่นเปลือกสมอง (cortical plate) เป็นที่ที่จะเปลี่ยนสภาพให้แตกต่างมากขึ้นโมเลกุลกลุ่มหนึ่งคือ endocannabinoid (eCB) มีผลโดยตรงต่อพัฒนาการของเซลล์พีระมิดและการวางทางดำเนินของแอกซอน[6]แฟ็กเตอร์ถอดรหัส (transcription factor) เช่น Ctip2 และ Sox5 พบว่ามีบทบาทกำหนดทิศทางแอกซอนของเซลล์พีระมิด[7]

พัฒนาการหลังคลอดใหม่ ๆ

เซลล์พีระมิดในหนูพบว่า เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงคลอดใหม่ ๆ คือระหว่างวันที่ 3-21 เซลล์พีระมิดพบว่าเพิ่มขนาดตัวเซลล์เป็นทวีคูณ เพิ่มความยาวเดนไดรต์ส่วนยอด 5 เท่า และเพิ่มความยาวเดนไดรต์ส่วนฐาน 13 เท่าความเปลี่ยนแปลงอย่างอื่น ๆ รวมทั้ง ศักย์ช่วงพัก (resting potential) ของเยื่อหุ้มเซลล์ต่ำลง ความต้านทานของเยื่อหุ้มเซลล์ลดลง และค่าสูงสุดของศักยะงานสูงขึ้น[8]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เซลล์พีระมิด http://static.howstuffworks.com/gif/brain-neuron-t... http://www.trinity.edu/rblyston/MicroA/Lectures/L1... http://ccdb.ucsd.edu/sand/main?mpid=51&event=displ... //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2438381 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC2567132 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/11226691 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14576205 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/14602839 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17079652 //www.ncbi.nlm.nih.gov/pubmed/17920812