การวิจัย ของ เซลล์เซอร์โตลี

ในปี ค.ศ. 2016 แบบจำลองโรคการอักเสบของภาวะภูมิต้านตนเอง รวมไปถึง เบาหวาน ได้กระตุ้นให้เซลล์เซอร์โตลีสามารถปลูกถ่ายได้ เนื่องจากสมบัติการกดภูมิคุ้มกันและการต้านการอักเสบ[25]

การวิจัยนำเซลล์เซอร์โตลีมาใช้ในการรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนที่ลึกที่สุด ซึ่งมีกลยุทธ์คือการปลูกถ่ายร่วมกันของเซลล์เบตาและเซลล์เซอร์โตลีไปสู่ผู้รับ ในกรณีของหนูตัวผู้ หนูและรวมถึงมนุษย์ การปรากฏของเซลล์เหล่านี้ซึ่งเก็บกลูโคสในภาวะสมดุลไปพร้อมกับความต้องการอินซูลินภายนอกที่ต่ำ ซึ่งในทุกกรณีนั้นไม่มีการใช้ยากดภูมิ ทำให้บทบาทของยานี้ถูกนำไปใช้และจัดหาโดยเซลล์เซอร์โตลี[26][27][28]

จีโอวานนี และคณะ ได้รักษาหนูที่เป็นเบาหวานและโรคอ้วนตามธรรมชาติ โดยการปลูกถ่ายเซลล์เซอร์โตลีที่ถูกหุ้มด้วยแคปซูลเข้าไปยังพืดไขมันหน้าท้อง[25] โดยแสดงให้เห็นว่า มากกว่าครึ่งของหนูที่ได้รับการรักษามีระดับน้ำตาลในเลือดที่ดีขึ้น งานทางวิทยาศาสตร์ล่าสุดยังให้คำมั่นว่าจะรักษาผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2ให้ดีขึ้นผ่านการใช้เซลล์บำบัดในอนาคตด้วย

เซลล์เซอร์โตลีส่งเสริมการยอมรับการปลูกถ่ายผิวหนังโดยผู้รับด้วย[29] และการมีอยู่ของเซลล์นี้ยังช่วยเพิ่มจำนวนเซลล์ประสาทสั่งการในไขสันหลัง SOD1 ของหนูตัวผู้ด้วย[30]