ประวัติ ของ เดินอากาศไทย

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2473 มีการจัดตั้งบริษัท เดินอากาศ จำกัด (อังกฤษ: Aerial Transport of Siam Co., Ltd.) เพื่อดำเนินการขนส่งทางอากาศภายในประเทศ และรับเป็นตัวแทนให้บริษัทการบินต่างประเทศที่บินเข้ามาในประเทศไทย ผู้ก่อตั้งเดิมคือกลุ่มนักธุรกิจชาวไทย ต่อมาเพิ่มกิจการเดินรถประจำทาง อันเป็นสาเหตุให้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ขนส่ง จำกัด ในปี พ.ศ. 2481 โดยกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เมื่อเกิดสงครามโลกครั้งที่สอง จึงขาดแคลนอุปกรณ์และอะไหล่ ทำให้ต้องหยุดกิจการชั่วคราว ต่อมาในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2489 หลังจากสงครามยุติลง จึงฟื้นฟูกิจการบินพาณิชย์ขึ้นอีกครั้ง โดยรัฐบาลไทยให้กองทัพอากาศรับดำเนินการไปพลางก่อน

ต่อมาในวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2490 คณะรัฐมนตรีขณะนั้น มีมติอนุมัติแผนงานการบินพาณิชย์ของกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินงานโดยจัดตั้งในรูปของ บริษัท เดินอากาศ จำกัด (อังกฤษ: Siamese Airways Co.,Ltd.; ชื่อย่อ: บดอ.; SAC) โดยรับโอนกิจการบินพาณิชย์ จากกองทัพอากาศมาดำเนินงานต่อ เป็นสาเหตุส่วนหนึ่งที่ใช้ตราสัญลักษณ์ เป็นภาพช้างเอราวัณสามเศียรอยู่กลางตราอาร์ม สองข้างซ้ายขวาประกอบด้วยภาพปีกนกซ้อนทับบนปีกเครื่องบิน

ต่อมาในวันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2494 คณะรัฐมนตรีขณะนั้น มีมติให้รวมบริษัท สายการบินแปซิฟิกโพ้นทะเล (สยาม) จำกัด (อังกฤษ: Pacific Overseas Airline (Siam) Limited ชื่อย่อ: POAS) ซึ่งรัฐบาลไทยร่วมทุนกับเอกชนของสหรัฐอเมริกา เข้ากับบริษัท เดินอากาศ จำกัด เพื่อยุติการแข่งขันกันเอง โดยใช้ชื่อใหม่ว่าบริษัท เดินอากาศไทย จำกัด และวันที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2520 เปลี่ยนตราสัญลักษณ์เป็นภาพดอกบัว ซึ่งแต่เดิมการบินไทยจัดจ้างให้ วอลเตอร์ แลนเดอร์ แอนด์ แอสโซซิเอทส์ (อังกฤษ: Walter Landor & Associates) ออกแบบขึ้นเพื่อเป็นตราสัญลักษณ์ใหม่ของการบินไทย โดยได้ภาพดอกบัวนี้เป็นแบบแรก แต่เนื่องจากยังไม่เป็นที่พอใจมากนัก จึงต้องออกแบบขึ้นใหม่ แล้วนำภาพนี้มาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของเดินอากาศไทยแทน

จากนั้นเมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2531 คณะรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจขณะนั้น มีมติให้เดินอากาศไทยโอนกิจการ ไปรวมกับการดำเนินงานของ บริษัท การบินไทย จำกัด ซึ่งดำเนินการสายการบินระหว่างประเทศ และมีสถานะเป็นบริษัทลูก เนื่องจากการบินไทยถือหุ้นใหญ่โดยเดินอากาศไทย เพื่อให้สายการบินแห่งชาติเป็นเอกภาพ[2]

อนึ่ง เดินอากาศไทยมีรหัสลูกค้าของโบอิง บริษัทผลิตเครื่องบินในสหรัฐอเมริกาคือ P5 ส่วนรหัสเที่ยวบิน ซึ่งขึ้นทะเบียนกับ สมาคมขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ (IATA Code) คือ TH หลังจากเดินอากาศไทยโอนกิจการไปรวมกับการบินไทย ต่อมากลายเป็นของสายการบิน บีเอคอนเน็กต์ (BA Connect) ในเครือบริติชแอร์เวย์ ของสหราชอาณาจักร แต่เมื่อปี พ.ศ. 2550 บริติชแอร์เวย์ขายกิจการบีเอคอนเน็กต์ ให้กับสายการบินฟลายบี (Flybe) ปัจจุบันรหัสเที่ยวบิน TH ตกเป็นของสายการบินรายา (Raya Airways) ของมาเลเซีย

ใกล้เคียง

เดินอากาศไทย เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 231 เดินอากาศไทย เที่ยวบินที่ 365 เดินอากาศไทย ตกที่จังหวัดภูเก็ต พ.ศ. 2528 ทางเดินอาหารทะลุ การเดินอวกาศ ทางเดินอากาศหายใจ การเดินอากาศ ทางเดินอาหาร ทางเดินอาหารของมนุษย์

แหล่งที่มา

WikiPedia: เดินอากาศไทย http://www.baaa-acro.com http://www.baaa-acro.com/Compagnies%20T/Thai%20Air... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1961/1... http://www.flightglobal.com/pdfarchive/view/1986/1... http://maps.google.com/maps?ll=13.756059,100.50726... http://www.multimap.com/map/browse.cgi?lat=13.7560... http://www.terraserver.com/imagery/image_gx.asp?cp... http://www.thaiair.com http://www.thaiairways.com http://www.thaiairways.com/About_Thai/Public_Infor...