เต่าราเดียตา
เต่าราเดียตา

เต่าราเดียตา

เต่าราเดียตา หรือ เต่ารัศมีดารา (อังกฤษ: Radiated tortoise) เป็นเต่าบกชนิดหนึ่ง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Astrochelys radiata[2]มีกระดองที่มีสีสวยโดยเฉพาะในวัยเล็ก คล้ายกับเต่าในสกุล Geochelone ที่เคยถูกจัดให้อยู่ร่วมสกุลเดียวกันมาก่อน แต่ทว่ามีลวดลายที่ละเอียดกว่ามากเหมือนกับลายของ "ดาว" โดยเฉพาะในตัวที่มีสีเหลืองมาก จะเรียกว่า "ไฮเยลโล่" จัดเป็นเต่าขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดประมาณหนึ่งฟุตครึ่ง น้ำหนักประมาณ 35 ปอนด์ มีถิ่นกำเนิดอยู่ที่ประเทศมาดากัสการ์บริเวณตอนใต้ และถูกนำเข้าไปในเรอูว์นียง และมอริเชียส[3] ในสภาพที่เป็นทะเลทราย แต่ก็เป็นเต่าที่ชอบความเย็นและความชื้นพอสมควร เนื่องจากสภาพที่อยู่อาศัยมีสภาพฝนตกชุกอยู่ด้วยกินผักและผลไม้หลากชนิดเป็นอาหาร ตัวเมียมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้ วางไข่ในหลุมที่ตัวเมียเป็นฝ่ายขุดประมาณ 7-9 ฟอง แล้วเว้นช่วงไป จากนั้นก็จะขุดหลุมใหม่เพื่อวางไข่ ทำอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ จนกว่าไข่จะหมด ใช้เวลาฟักประมาณ 200 วัน ซึ่งไข่จะฟักเป็นตัวเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ[4]เต่าราเดียตา เป็นเต่าบกที่ได้รับความนิยมอย่างสูงในแง่ของการนิยมเป็นสัตว์เลี้ยง มีราคาซื้อขายที่แพงมาก มีการอนุรักษ์มีสถานะติดอยู่ในบัญชีหมายเลข 1 (Appendix I) ของไซเตส ในธรรมชาติจะอาศัยอยู่ในพุ่มไม้หนามทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของมาดากัสการ์ แม้จะมีปริมาณในธรรมชาติมากถึง 63,000,000 ตัว แต่ทว่าก็มีปริมาณลดลงเรื่อย ๆ ถึงร้อยละ 47 จากเมื่อ 11 ปีก่อน คาดว่าหากเป็นเช่นนี้ต่อไปภายใน 20 ปี ข้างหน้า เต่าราเดียตาจะสูญพันธุ์ในที่สุด[5] ซึ่งปัจจุบันในประเทศไทยยังไม่มีรายงานการเพาะขยายพันธุ์ในที่เลี้ยงได้สำเร็จ จึงมีการลักลอบเข้ามาจากมาดากัสดาร์ ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย[6]