การใช้ประโยชน์ ของ เถาคันแดง

ภาคใต้ นิยมนำใบรวมทั้งผลอ่อนมาแกงส้มปลา แกงพุงปลา[2] แกงเหลือง ภาคอีสานนำส่วนใบปรุงรสในการต้มเป็ด ต้มปลา เครือข่ายหมอพื้นบ้านภาคอีสาน (มหาสารคาม) มีตำรับยารักษาอาการเหน็บชาในวัยชราด้วยสมุนไพร 3 ชนิด คือ ส้มขี้มอด, หูลิง, เครือทางควาย โดยนำเอาแก่นขอไม้ทั้งสามต้มรวมกันใช้ดื่ม ผลแก่สามารถนำไปหมักทำไวน์ (มีรสเปรี้ยวคล้ายองุ่น) ใบนำไปทำเป็นผงนัว (ปรุงรสอาหาร) [3]

สรรพคุณ

  • เถา ใช้ปรุงเป็นยาต้มกิน เป็นยารักษาโรคกษัยทำให้เส้นหย่อน เป็นยาขับลมขับเสมหะ เป็นยาฟอกเลือด ดับพิษตานซาง
  • ราก แก้อักเสบเนื่องจากเป็นแผลในกระเพาะอาหาร และต้มกินน้ำเป็นยาขับพยาธิไส้เดือน ขับปัสสาวะ แก้นิ่ว เป็นยาฟอกโลหิต แก้ฟกซ้ำภายใน ขับเลือดเน่า ขับน้ำคาวปลาและรักษาอาการฟกช้ำภายใน
  • ใบ นำไปอังไฟให้พอเหี่ยว ใช้ปิดฝีบ่มหนอง ถ้าฝีนั้นแตกก็จะทำให้ดูดหนองคล้ายขี้ผึ้งอิดติโยนของฝรั่ง
  • อื่น ๆ : พรรณไม้ชนิดนี้จะมีอยู่ 2 ชนิด ชนิดที่มีต้นเขียวเราเรียกว่าเถาคันขาว ส่วนชนิดที่เป็นสีแดงนั้นเรียกว่าเถาคันแดง และนิยมใช้สีแดงปรุงเป็นยา[4]

คุณค่าทางโภชนาการ

  • เถาคัน, ผล ประกอบด้วยสารอาหารดังต่อไปนี้คือ
วิตามินเอ (Total Vitamin A (RE) )39 μg / 100 g
เบต้า เคโรทีน (Beta-carotene)236 μg / 100 g
วิตามินอี (Vitamin E)2.64 mg / 100 g
วิตามินบี 1 (Thiamin )0.02 mg / 100 g
วิตามินบี 2 (Riboflavin )0.09 mg / 100 g
ไนอะซิน (Niacin )1.62 mg / 100 g
วิตามินซี (Vitamin C )8 mg / 100 g
พลังงาน (Energy )27 kcal / 100 g
น้ำ (Water )93.4 g / 100 g
โปรตีน (Protein )0.4 g / 100 g
ไขมัน (Fat )0.4 g / 100 g
คาร์โบไฮเดรต (Carbohydrate )5.5 g / 100 g
ใยอาหาร (กาก) (Crude/ Dietar )-- g / 100 g
เถ้า (Ash )0.3 g / 100 g
แคลเซียม (Calcium )-- mg / 100 g
ฟอสฟอรัส (Phosphorus )-- mg / 100 g
ธาตุเหล็ก (Iron )-- mg / 100 g
(retinol )-- μg / 100 g

* หมายเหตุ -- คือ ไม่ได้ทำการวิเคราะห์ / mg คือ milligrams / μg คือ microgram / g คือ กรัม / kcal คือ kilocalorie

[5]

ใกล้เคียง