ประวัติเทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทย ของ เทคโนโลยีการศึกษา

เทคโนโลยีการศึกษาในประเทศไทยเกิดขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ยุคแรก ในสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช ผู้ประดิษฐ์อักษรไทย และทรงจารึกอักษรไทยไว้ในแท่งศิลาจารึก นับว่าเป็นนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาของไทย ต่อมา พระมหาธรรมราชาลิไทย ได้ทรงเป็นผู้นิพนธ์ "ไตรภูมิพระร่วง" ซึ่งถือเป็นนวัตกรรมการเรียนรู้ของไทย จนต่อมา พระโหราธิบดี ได้แต่งแบบเรียนเล่มแรกของไทย ชื่อว่า "จินดามณี" ถือเป็นเทคโนโลยีการศึกษาของไทย ต่อมา ศาสตราจารย์สำเภา วรางกูล เป็นผู้ริเริ่มและบุกเบิก นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาสมัยใหม่ในประเทศไทย รองศาสตราจารย์ ดร.เปรื่อง กุมุท ผู้คิดวิธีสอนแบบเบญจขันธ์ และร่วมกับรองศาสตราจารย์ ดร.ชม ภูมิภาค ได้ก่อตั้งสาขาเทคโนโลยีการศึกษาขึ้นในประเทศไทย โดยให้มีการเรียนการสอนในระดับประกาศณียบัตร ขึ้นที่วิทยาลัยการศึกษาประสานมิตร ศาสตราจารย์ ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์ นักเทคโนโลยีการศึกษาได้สร้างผลงานที่สำคัญได้แก่ ระบบการเรียนการสอน ศูนย์การเรียน ระบบแผนจุฬา วิธีการหาประสิทธิภาพชุดการเรียน ชุดการสอน และก่อตั้งการเรียนการสอนโสตทัศนศึกษาขึ้นที่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ต่อมาศาสตราจารย์ ดร.วิจิตร ศรีสะอ้าน เป็นผู้ริเริ่มตั้งมหาวิทยาลัยทางไกลของประเทศไทยขึ้น คือ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช

ใกล้เคียง

เทคโน เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยี เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยียานยนต์ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีเภสัชกรรม