เรือรบ ของ เทคโนโลยีระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง

เรือรบถือว่าเป็นอาวุธสำคัญมากทั้งในสมรภูมิทางด้านมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรแอตแลนติก โดยด้านแปซิฟิกนั้นสิ่งที่สำคัญนั่นคือเรือบรรทุกเครื่องบินและเรือพิฆาต ส่วนด้านมหาสมุทรแอตแลนติก ก็มีเรืออู ซึ่งเป็นเรือดำน้ำของกองทัพเยอรมันที่คุกคามกองทัพเรือของฝ่ายพันธมิตรอย่างหนักหลังการปราบฝรั่งเศสได้แล้ว พอหลังปี 1943 ภัยคุกคามจากเรืออูเริ่มลดน้อยลง เนื่องจากการเข้าร่วมของสหรัฐอเมริกา ทางแปซิฟิคนั้น กองเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นเป็นต่อกองเรือผิวน้ำฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก เนื่องด้วยเทคโนโลยีของกองเรือญี่ปุ่นที่ทันสมัยเทียบเท่ากองเรือของสัมพันธมิตรและเทคโนโลยีการต่อเรือที่ทำให้เรือมีขนาดใหญ่แต่มีประสิทธิภาพมากคือไม่อุ้ยอ้ายเชื่องช้า ถ้าเทียบขนาดความใหญ่ของเรือในขนาดที่เท่ากันแล้ว เรือของญี่ปุ่นมีประสิทธิภาพในเรื่องของความคล่องตัวที่มากกว่า ปืนประจำเรือที่เน้นความใหญ่ของกระบอกปืนมากกว่าทำให้ยิงได้ไกลกว่าอนุภาพก็แรงกว่าและเรือญี่ปุ่นยังมีการปืนปืนใหญ่ตามลำเรือมากกว่าเพราะเรือที่มีขนาดกว้างกว่านั่นเอง ในประวัติศาสตร์การรบโดยใช้เรือปืนมาประจันบานกัน พบว่าฝ่ายญี่ปุ่นได้เปรียบเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรอย่างมาก ด้วยยุทธวิธีการแปรขบวนทางทะเล การยิงที่เน้นให้ทั้งกองเรือระดมยิงไปที่เรือลำเดียวกันและเรือลำนั้นก็คือเรือธง อีกทั้งเรือลาดตระเวนผิวน้ำของญี่ปุ่นยังเน้นการโจมตีในเวลากลางคืน แม้ว่าจะน้อยกว่าแต่กลับได้เปรียบกว่า เคยมีการรบครั้งหนึ่งที่กองเรือลาดตระเวนญี่ปุ่นเพียง4ลำถล่มกองเรือของอเมริกันในเวลากลางคืนจนได้รับความเสียหายอย่างพังพินาศ แต่เรือญี่ปุ่นกลับไม่มีเรือลำใดโดนยิงเลย(สถิติการยิงโดนเมื่อเทียบกันแล้ว ญี่ปุ่นยิงได้แม่นกว่าและไกลกว่าอย่างมาก) ถ้าเปรียบแล้วละก็กองเรือผิวน้ำของญี่ปุ่นก็เปรียบได้ดังกับกองพลยานเกราะพันท์เซอร์อันทรงพลังของเยอรมันนั่นเอง แต่พออเมริกันเริ่มรู้ถึงจุดแข็งอันแท้จริงของราชนาวีญี่ปุ่นแล้วละก็ อเมริกันก็ไม่กว่าเอาเรือรบไปประจันบานกับเรือปืนของญี่ปุ่นอีกต่อไป โดยใช้เครื่องบินเข้าสู้แทน ซึ่งได้ผลมากกว่าการใช้เรือรบจริง แม้ว่าภายหลังญี่ปุ่นจะเสียเรือไปมาก แต่เมื่อเรืออเมริกันเจอเรือรบญี่ปุ่น ก็ยังพยายามเลี่ยงการประจันบานกันแบบจังๆอยู่ดี และในที่สุดเรือก็ต้องพ่ายแพ้ต่อกองทัพเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรในที่สุด เนื่องด้วยการรบทางอากาศที่เข้ามามีบทบาทแทน

ใกล้เคียง

เทคโน เทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีชีวภาพ เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยี เทคโนโลยีการศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เทคโนโลยียานยนต์ เทคโนโลยีอวกาศ เทคโนโลยีเภสัชกรรม