ประวัติ ของ เทนเนสซีน

ก่อนการค้นพบ

ในปี 2004 ที่สถาบันร่วมวิจัยนิวเคลียร์ในเมืองดุบนา ประเทศรัสเซียได้มีการค้นคว้าเกี่ยวกับธาตุที่ 117 (หรือเรียกอีกอย่างว่า มี 117 โปรตอนในนิวเคลียส) โดยการฟิวชั่นกับเป้าหมายคือเบอร์คีเลียม (ธาตุที่ 97) และลำแสงแคลเซียม (ธาตุที่ 20)

ทีมวิจัยในรัสเซียตั้งใจที่จะใช้ไอโซโทปของแคลเซียมคือ แคลเซียม-48 มี 20 โปรตอน 28 นิวตรอน เป็นไอโซโทปที่มีนิวเคลียสน้ำหนักเบาที่สุดและเสถียร หรือ ใกล้เสถียรอันดับสองคือ ซิงก์-68 ซึ่งหนักกว่าแคลเซียม-48 มาก ลำแสงแคลเซียม-48 ได้สร้างขึ้นที่รัสเซียโดยกระบวนการทางเคมี[6]

การค้นพบ

เป้าหมายเบอร์คีเลียมใช้ในการสังเคราะห์(อยู่ในสารละลาย)

ในปี 2550 ทีมวิจัยของสหรัฐอเมริกาได้กลับมาใช้เบอร์คีเลียมเป็นเป้าหมายอีกครั้งและทางทีมวิจัยรัสเซียก็ได้ติดต่อกับสหรัฐอเมริกาแล้ว การวิจัยครั้งนี้ทำให้เบอร์คีเลียมจำนวน 22 มิลลิกรัม พอที่จะดำเนินการทดลองได้ และ เบอร์คีเลียมได้ถูกส่งมาจากรัสเซียอย่างรวดเร็ว: ครึ่งชีวิตของไอโซโทปเบอร์คีเลียมที่ใช้(เบอร์คีเลียม-249)คือ 330 วัน และในฤดูร้อนปี 2551 มันก็ถูกส่งมาจากนิวยอร์กจนถึงมอสโกว

การวิจัยได้เริ่มขึ้นในเดือนมิถุนายนปี 2551 และ ในเดือนมกราคม ปี 2552, นักวิทยาศาสตร์ที่ Flerov Laboratory of Nuclear Reactions ได้เริ่มทำการยิงแคลเซียม-48 สู่ เบอร์คีเลียม-249 ในวันที่ 9 เมษายน ปี 2552 รายงานเกี่ยวกับการทดลองนี้ได้ระบุไว้ว่าประสบความสำเร็จ สามารถสร้างธาตุใหม่ขึ้นมา ดังสมการ

97 249 B k + 20 48 C a → 117 297 U u s → 117 294 U u s + 3 0 1 n {\displaystyle \,_{97}^{249}\mathrm {Bk} +\,_{20}^{48}\mathrm {Ca} \,\to \,_{117}^{297}\mathrm {Uus} \to \,_{117}^{294}\mathrm {Uus} +3\;_{0}^{1}\mathrm {n} \;} 97 249 B k + 20 48 C a → 117 297 U u s → 117 293 U u s + 4 0 1 n {\displaystyle \,_{97}^{249}\mathrm {Bk} +\,_{20}^{48}\mathrm {Ca} \,\to \,_{117}^{297}\mathrm {Uus} \to \,_{117}^{293}\mathrm {Uus} +4\;_{0}^{1}\mathrm {n} \;}

ก่อนที่จะผ่านการสังเคราะห์ของเทนเนสซีนนั้น การค้นพบไอโซโทปน้องสาวของเทนเนสซีนไม่มีเลย แต่หลังจากสังเคราะห์แล้วก็ค้นพบไอโซโทปน้องสาวแรก คือ อูนอูนเพนเทียม-289 หนึ่งในไอโซโทปน้องสาวของเทนเนสซีน และทาง JWP ได้จัดให้ธาตุนี้เป็นธาตุแทรนส์-โคเปอร์นิเซียม หรือ ธาตุหลังโคเปอร์นิเซียม

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทนเนสซีน http://www.apsidium.com/elements/117.htm http://www.webelements.com/webelements/elements/te... http://assens.chem.sdu.dk/thesis/96.saue_phd.pdf http://www.osti.gov/energycitations/product.biblio... //doi.org/10.1080%2F01496398408060653 http://iupac.org/iupac-is-naming-the-four-new-elem... http://www.rsc.org/periodic-table/element/117/unun... https://www.superheavies.de/english/research_progr... https://commons.wikimedia.org/wiki/Ununseptium?set...