การค้นพบ ของ เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา

ว่ากันว่าเทวรูปนี้ถูกลักขโมยมาโดยผู้ว่าการซีลอนของอังกฤษในเวลานั้น รอเบิร์ท บราวริง ขโมยมาจากกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกัณฏิ ในสมัยที่อังกฤษเข้ายึดครองกัณฏิ[1] จากนั้นเขาได้บริจาคเทวรูปนี้แก่พิพิธภัณฑ์บริทิชในทศวรรษ 1830 ในขณะที่หลักฐานอีกชุดหนึ่งที่พิพิธภัณฑ์บริทิชใช้ ระบุว่าเทวรูปถูกค้นพบง่าย ๆ ในทศวรรษ 1800 ตอนต้น สักที่ระหว่างตริณโกมาลี และ ปัฏฏิกาลัว บนชายฝั่งตะวันออกของศรีลังกา และต่อมาได้มาอยู่เป็นสมบัติของรอเบิร์ท[7] กัณฏิมาอยู่ภายใต้ปกครองของอังกฤษในเดือนมีนาคม 1815 ภายใต้ข้อตกลงของการประชุมกันทยันที่รอเบิร์ทจัดขึ้น[8]

เมื่อครั้นพิพิธภัณฑ์บริทิชได้ถือครอบครองเทวรูปในทศวรรษ 1830 ได้มีความกังวลว่าหน้าอกเปลือยขนาดใหญ่ของเทวรูป, เอวคอด และตะโพกที่เป็นทรงโค้งของเทวรูปนั้นจะอีโรติก (erotic) เกินไปสำหรับการจัดแสดงให้สาธารณชนได้ดู เทวรูปจึงไม่ถูกนำมาจัดแสดงสู่สาธารณะเป็นเวลาสามสิบปี[2] เทวรูปนี้สามารถเข้าถึงได้โดยนักวิชาการที่จะศึกษาเท่านั้น ถึงแม้ว่ารู้กันอย่างแน่ชัดว่าเป้ามหายของเทวรูปนี้มีไว้สำหรับพิธีกรรมทางศาสนา ไม่ใช่เอาไว้กระตุ้นทางเพศ การเข้าถึงเพื่อศึกษาทางวิชาการนี้คล้ายคลึงอย่างมากกับสถานะของเทวรูปตั้งแต่สมัยโบราณในศรีลังกา ซึ่งว่ากันว่าเฉพาะนักบวชระดับสูงเท่านั้นจะสามารถชมเทวรูปนี้ได้ และประชาชนทั่วไปไม่สามารถมองเห็นเทวรูปได้เลย[2] พิพิธภัณฑ์บริทิชยังมีของสะสมอีกจำนวนหนึ่งจากปี 1830 ที่ถูกมองว่าอีโรติกเกินไป ในทศวรรษ 1860 ของสะสมเหล่านี้ได้รับการติดป้ายให้เป็น "Secretum" ของพิพิธภัณฑ์[9]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เทวรูปพระโพธิสัตว์ตารา http://www.historytoday.com/david-gaimster/sex-and... http://www.lankalibrary.com/phpBB/viewtopic.php?t=... http://www.buddhanet.net/e-learning/buddhistworld/... http://www.dlir.org/archive/orc-exhibit/items/brow... https://archive.org/details/returnofcultural00gree https://archive.org/details/returnofcultural00gree... https://web.archive.org/web/20131215101939/http://... https://www.britishmuseum.org/explore/highlights/h... https://www.britishmuseum.org/research/collection_... https://commons.wikimedia.org/wiki/Category:Statue...