ประวัติ ของ เทศกาลกินเจ

ประเพณีถือศีลกินเจหรือกินเจซึ่งเป็นพิธียันตรกรรมบูชาที่ยิ่งใหญ่ที่สุด โดยอาศัยพระแม่แห่งดวงดาวมารีจี ( 摩利支 ) ในแบบของพระพุทธศาสนานิกายมหายาน แต่ในทางลัทธิเต๋าเรียกว่า เต้าโบ้หงวนกุนหรือเต้าโบ้เทียนจุนในภาษาฮกเกี้ยน ( 斗姆元君,斗姆天尊 ) เป็นศูนย์กลางสมมติของพิธีศักดิ์สิทธิ์นี้ มักอิงประวัติผูกติดอยู่กับฝ่ายตำนานเทพแห่งดาวนพเคราะห์มากกว่า ซึ่งเป็นศาสตร์แห่งลัทธิเต๋า ต่อมาเมื่อพระพุทธศาสนาเผยแผ่เข้าสู่เมืองจีน นับจากนั้นเป็นต้นมาเมื่อพระพุทธศาสนาเจริญขึ้น จึงปรากฏตำนานความเชื่อที่ผูกโยงกับพระพุทธเจ้า 7 พระองค์และพระโพธิสัตว์อีก 2 พระองค์ เรียกว่า กิ้วอ้วงฮุดโจ้วในภาษาจีนแต้จิ๋ว ( 九皇佛祖 ) โดยคติความเชื่อในประเพณีของชาวจีน โดยเฉพาะลัทธิขงจื้อซึ่งเน้นในเรื่องบรรพบุรุษและความกตัญญู บรรดาบูรพกษัตริย์ที่เคยอุทิศตนเพื่อให้ประชาชนมีความเจริญโดยใช้หลักเมตตาธรรมก็จะเป็นบุคคลผู้ได้รับการสรรเสริญจากประชาชน ตามตำนานสามารถรวบรวมได้ 9 พระองค์ ซึ่งอยู่ในยุคสมัยต่างๆกัน ทั้ง 9 พระองค์รวมเรียกว่าพระราชาธิราช 9 พระองค์ ในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่า : กิ๋วอ๋องไต่เต่ , ( 九皇大帝 ) ซึ่งชาวจีนเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกเป็นธรรมชาติและดำเนินไปตามวิถีแห่งสวรรค์ อาศัยตามความเชื่อในลัทธิเต๋า จึงส่งผลให้เกิดการนับถือดวงวิญญาณที่สถิตอยู่ในสรวงสวรรค์ พระเจ้าแผ่นดินทั้งเก้าพระองค์เมื่ออยู่ในโลกมนุษย์ได้ประกอบกรรมดีมากมาย เมื่อสิ้นพระชนม์แล้วจึงได้จุติเป็นเทพเจ้าประจำดาวนพเคราะห์ ทำหน้าที่คุ้มครองมวลหมู่ประชาราษฎร์ให้บังเกิดความร่มเย็นสืบไป[3]

ใกล้เคียง

เทศกาลกินเจ เทศกาลดนตรีพัทยา เทศกาลพ้อต่อ เทศกาลของชาวยิว เทศกาลดนตรีและศิลปะโคเชลลาแวลลีย์ เทศกาลดนตรีแจ๊สในประเทศไทย เทศกาลโคมไฟ เทศกาลเช็งเม้ง เทศกาลไหว้พระจันทร์ เทศกาลภาพยนตร์กาน