ประวัติ ของ เทศบาลตำบลคลองเต็ง

เมืองตรัง ในอดีตเคยเป็นเมืองท่าค้าขายกับต่างประเทศเป็นเมืองแรกที่มีต้นยางพารา โดยพระยารัษฎานุประดิษฐมหิศรภักดี (คอซิมบี้ ณ ระนอง) ได้นำพันธ์มาจากมาเลเซียมาปลูกเป็นแห่งแรกของภาคใต้เมื่อปี พ.ศ. 2442 และถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของไทย ดังนั้น "คลองเต็ง" ถือได้ว่าเป็นอีกเมืองหนึ่งที่มีการค้าขายของชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากตั้งแต่อดีต

คลองเต็ง เป็นพื้นที่ที่ตั้งอยู่ริมคลอง อุดมไปด้วยป่าไม้ โดยต้นเต็งขึ้นอยู่รอบบริเวณ ทำให้ชาวบ้านเชื่อว่าคำนี้คือที่มาของชื่อดังกล่าวที่ใช้กันมาจนถึงปัจจุบัน[2]

เทศบาลตำบลคลองเต็ง แรกเริ่มก่อตั้งตามประกาศกระทรวงลงวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2510 โดยจัดตั้งท้องถิ่นหมู่ที่ 3,4,5 และ 6 (ในขณะนั้น) ของตำบลนาท่ามเหนือ อำเภอเมืองตรัง ขึ้นเป็น สุขาภิบาลคลองเต็ง[3] อำเภอเมืองตรัง จังหวัดตรัง โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม ปีเดียวกัน โดยครอบคลุมพื้นที่ตำบลบางส่วนของตำบลศิลาลอย

ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ได้มีพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลทั่วประเทศเป็นเทศบาลตำบล ตามประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอนที่ 9 ลงวันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2542 มีผลใช้บังคับ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 สุขาภิบาลคลองเต็ง จึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นเทศบาลตำบลคลองเต็ง[4] นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ซึ่งตามหลักการและเหตุผลการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และเป็นการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ใกล้เคียง

เทศบาลนครหาดใหญ่ เทศบาลเมือง เทศบาลนครแหลมฉบัง เทศบาลนครเชียงใหม่ เทศบาลนครนครราชสีมา เทศบาลนครนครศรีธรรมราช เทศบาลนครอุดรธานี เทศบาลนครในประเทศไทย เทศบาลเมืองปากพูน เทศบาลนครอุบลราชธานี